ข้ามไปเนื้อหา

กระแต อาร์สยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นิภาพร บุญยะเลี้ยง)
กระแต อาร์สยาม
เกิดนิภาพร แปงอ้วน
25 สิงหาคม พ.ศ. 2530 (37 ปี)
จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
ชื่ออื่นกระแต โฟร์ทีน
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
  • นักมวยไทย
  • ยูทูบเบอร์
  • พิธีกร
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2550–ปัจจุบัน
ตัวแทนBe On Cloud (2567–ปัจจุบัน)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2546–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์สยาม (2546–2566)
อาชีพนักมวย
ชื่ออื่นน้ำหวานน้อย ศักดิ์บุญมา
น้ำหวานน้อย ศ.อาร์สยาม
สถิติ
รุ่น45 กก.
เทรนเนอร์{{{trainer}}}
สถิติขึ้นชก
ชกทั้งหมด48[1]
แพ้2[1]
ลายมือชื่อ

แตร บุญยะเลี้ยง[2] นามเดิม นิภาพร บุญยะเลี้ยง[3][4] หรือ นิภาพร แปงอ้วน[1] (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2530) ชื่อเล่น กระแต[5] หรือที่รู้จักในชื่อ กระแต โฟร์ทีน[1] เป็นนักร้อง นักแสดง และพิธีกรชาวไทย อีกทั้งยังเป็นพี่สาวแท้ ๆ ของกระต่าย อาร์สยาม[6]

ประวัติ

[แก้]

แตรเป็นชาวอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง[5] เป็นบุตรคนที่สองจากทั้งหมดสี่คนของผิน แปงอ้วน กับปรานอม รอดเลี้ยง มีพี่น้องคือ เกศรินภรณ์ แปงอ้วน, กระต่าย อาร์สยาม[7] (ชื่อเดิม คุณหญิง แปงอ้วน หรือ อาทิตยา บุญยะเลี้ยง) และกฤษ บุญยะเลี้ยง (ชื่อเดิม เรืองเดช แปงอ้วน) ตามลำดับ[1]

แตรมีความสนิทสนมกับฐิฆพรณ์ผู้เป็นน้องสาวมากและทั้งสองสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม[1]

ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 แตรระบุว่าตนเองนับถือศาสนาฮินดู[8]

นักกีฬามวยไทย

[แก้]

แตรเข้าร่วมการแข่งขันมวยไทยเนื่องด้วยใจรัก เธอมีค่าตัวในการชกมวยครั้งแรก 600 บาท[9] โดยใช้ชื่อ "น้ำหวานน้อย ศักดิ์บุญมา" และ "น้ำหวานน้อย ศ.อาร์สยาม" ในการแข่งขันมวยไทย ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 เธอชนะคะแนน ฟ้าสั่ง ส.พรานไพร ที่จัดขึ้นในจังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาในรายการชิงแชมป์มวยไทยหญิงนานาชาติรุ่นฟลายเวท ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เธอได้พบกับฮิซะเอะ วะตะนะเบะ โดยกระแตเป็นฝ่ายแพ้คะแนน ส่วนการแข่งขันที่จัดขึ้นที่เดอะมอลล์งามวงศ์วาน ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เธอได้พบกับอายูมิ อินแกรมยิม ซึ่งการแข่งขันในครั้งดังกล่าว แตรเป็นฝ่ายชนะคะแนน ต่อมาแตรได้เดินทางไปแข่งขันที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กระแตได้พบกับคู่ชกที่มีชื่อว่า โอชิมา ชิมากิ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ กระแตเป็นฝ่ายชนะคะแนน ประมาณสองเดือนต่อมา ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้มีการแข่งขันที่สนามหลวง แตรได้พบกับคู่ชกชาวญี่ปุ่นอีกรายที่มีชื่อว่า มาอิโกะ ฮาซูยามา ซึ่งกระแตเป็นฝ่ายชนะด้วยคะแนนเช่นกัน[9]

ผลงานเพลงสังกัด ธนา โปรโมชั่น & เดอะเกรท โปรโมชั่น

[แก้]

แตรมีผลงานด้านการร้องเพลง โดยมีผลงานชุดแรกที่ร่วมกับเพื่อนของเธอซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 4 คน ได้แก่ ใหม่ เสาวภา , เฟรนด์ พิมพ์ทอง , แต วนาทิพย์ และ น้องตุ๊ก ดวงดาว ออกผลงานเพลงในอัลบั้ม "รวมฮิต ดาวรุ่ง ลูกทุ่งวัยใส" โดยที่แตร(แต วนาทิพย์) ร้องไว้ 3 เพลง ต่อมาทุกคนได้เข้าเป็นศิลปินในสังกัดค่ายอาร์สยาม ในนาม "ลูกทุ่ง 4 ทีน" (อ่านว่าลูกทุ่งโฟร์ทีน) โดยใช้ผลงานเพลงเดิมทั้งอัลบั้ม แต่ได้มีการตัดเพลง "ช่วยหนูหน่อย" ของน้องตุ๊ก ดวงดาวออกไป และเพิ่มเพลง "ยิ้มแล้วรวย" ซึ่งเป็นเพลงที่ร่วมกันร้องทั้ง 4 คนเข้ามาแทน ซึ่งในสังกัดใหม่ได้เปลี่ยนชื่อสมาชิกให้สั้นลง ได้แก่ แต (ต่อมาคือ กระแต อาร์สยาม) , เฟรนด์ , ใหม่ (ต่อมาคือ ใหม่ เสาวภา อาร์สยาม) และ น้องตุ๊ก (ต่อมาคือ ซาช่า อาร์สยาม)

ศิลปินในสังกัดอาร์สยาม

[แก้]

แตรมีผลงานร่วมกับเพื่อนของเธอซึ่งใช้ชื่อกลุ่มว่า "ลูกทุ่งโฟร์ทีน" โดยค่ายอาร์สยาม ซึ่งอยู่ในเครือของบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) ด้วยอัลบั้มที่มีชื่อว่า "ยิ้มแล้วรวย" ซึ่งเพลงที่ทำให้ผู้คนรู้จักเธอคือ "ไม่ได้ตั้งใจดำ" สองปีต่อมาเธอได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกโดยใช้ชื่อว่า "เปิดใจสาวแต" ส่งผลให้เธอได้รับรางวัลนักร้องหน้าใหม่ยอดนิยมหลายรายการ[10] จากนั้น เมื่อเธอมีอัลบั้มชุดที่สองซึ่งมีชื่อว่า "ของขวัญจากสาวแต" ซึ่งมีพัฒนาการทางการร้องเพลงและเต้นมากขึ้น ส่งผลให้เธอได้รับเลือกเป็นศิลปินทูตกีฬา ประเภทมวยสากล จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[10] และผลงานเดี่ยวชุดต่อมาคือ "สาวกาดแลง" ซึ่งเพลงโปรโมทแรกของอัลบั้มชุดนี้ซึ่งมีชื่อว่า "จ้างมันเต๊อะ" ได้รับความนิยมอย่างสูง จนกลายเป็นเพลงที่อยู่ในอันดับต้นของรายการวิทยุทั่วประเทศ[10] และในอีก 3 ปีต่อมากระแตก็ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ชื่อว่า "รักนะฉึกฉึก" พร้อมเพลงเปิดตัวซึ่งมีชื่อเดียวกับอัลบั้ม[11]

ศิลปินอิสระ

[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 แตรได้เซ็นสัญญากับอาร์สยาม ในสังกัดอาร์เอส และออกอัลบั้มเดี่ยวทั้งหมด 4 อัลบั้ม ก่อนที่จะหมดสัญญาลง เมื่อปี พ.ศ. 2566 ต่อมาได้หมดสัญญากับค่ายอาร์สยามในปี พ.ศ. 2566 และหลังจากนั้นจึงผันตัวเป็นนักแสดงและศิลปินอิสระ โดยในปี พ.ศ. 2567 เธอได้ร่วมร้องรับเชิญในเพลง "ดังกี่โมง" ของโจอี้ บอย และได้ขึ้นเวทีคอนเสิร์ต บรูโน มาส์ ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ในวันที่ 31 มีนาคม ปีเดียวกัน[12]

เกียรติประวัติ

[แก้]

มวยไทย

[แก้]
  • พ.ศ. 2545 แชมป์ประเทศไทย รุ่น 45 กิโลกรัม[9]

ร้องเพลง

[แก้]

ผลงานอัลบั้ม รวมฮิต ดาวรุ่ง ลูกทุ่งวัยใส : ธนา โปรโมชั่น & เดอะเกรท โปรโมชั่น

[แก้]
  1. พ.ศ. 2546 เพลง ไม่ได้ตั้งใจดำ
  2. พ.ศ. 2546 เพลง อดีตรักบ้านนา
  3. พ.ศ. 2546 เพลง หนูสวยไหม

‡ภายหลังเพลงอัลบั้มนี้ถูกบรรจุในอัลบั้ม ลูกทุ่งโฟร์ทีน ยิ้มแล้วรวย สังกัด อาร์สยาม

ผลงานอัลบั้ม ลูกทุ่งโฟร์ทีน ยิ้มแล้วรวย : อาร์สยาม

[แก้]
  1. พ.ศ. 2546 เพลง ไม่ได้ตั้งใจดำ
  2. พ.ศ. 2546 เพลง ยิ้มแล้วรวย
  3. พ.ศ. 2546 เพลง อดีตรักบ้านนา
  4. พ.ศ. 2546 เพลง หนูสวยไหม

ผลงานอัลบั้ม : อาร์สยาม

[แก้]
  • อัลบั้ม พ.ศ. 2550 เปิดใจสาวแต
  • อัลบั้ม พ.ศ. 2550 ของขวัญจากสาวแต
  • อัลบั้ม พ.ศ. 2551 สาวกาดแลง
  • อัลบั้ม พ.ศ. 2554 รักนะฉึก ฉึก

ผลงานซิงเกิล : อาร์สยาม

[แก้]
  1. พ.ศ. 2556 เพลง ตื๊ด
  2. พ.ศ. 2558 เพลง ยิ่งถูกทิ้งยิ่งต้องสวย
  3. พ.ศ. 2559 เพลง สะบัด
  4. พ.ศ. 2560 เพลง รอพี่ที่บ้านนอก
  5. พ.ศ. 2561 เพลง หนานะ
  6. พ.ศ. 2561 เพลง ลื่น
  7. พ.ศ. 2562 เพลง สาวดอยคอยปี้

ผลงานซิงเกิลออนไลน์

[แก้]
  1. พ.ศ. 2564 เพลง วิสิศมาหรา
  2. พ.ศ. 2565 เพลง ดูดพิษ
  3. พ.ศ. 2565 เพลง MAKE IT RAIN (Money)
  4. พ.ศ. 2566 เพลง Awake
  5. พ.ศ. 2566 เพลง Burning For You

ผลงานซิงเกิ้ลศิลปินอื่น

[แก้]
  1. พ.ศ. 2550 เพลง อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจใคร ร่วมกับ ปีเตอร์ โฟดิฟาย
  2. พ.ศ. 2551 เพลง ชงยาหม่อง ร่วมกับ กระต่าย อาร์สยาม
  3. พ.ศ. 2552 เพลง รักหรือไม่รัก ร่วมกับ Dr.Fuu
  4. พ.ศ. 2557 เพลง ชู้ทางไลน์ ร่วมกับ Timethai
  5. พ.ศ. 2558 เพลง เมรี ศิลปิน กระต่าย อาร์สยาม
  6. พ.ศ. 2559 เพลง เหวี่ยง(นวดให้นุ่ม) ร่วมกับ หวาย
  7. พ.ศ. 2564 เพลง ถ้าอ้ายมาเฮ็ด ร่วมกับ บุ๋น นมณัฐ & เปรม วรุศ
  8. พ.ศ. 2565 เพลง ดกก้น ร่วมกับ pok Mindset
  9. พ.ศ. 2565 เพลง We Do What We Want ร่วมกับ DABOYWAY
  10. พ.ศ. 2566 เพลง อะไร...ว้า(Ft.KRATAE RSIAM & M-PEE) ร่วมกับ F.HERO
  11. พ.ศ. 2567 เพลง ดังกี่โมง ร่วมกับ โจอี้ บอย

ผลงานโปรเจกต์พิเศษ สโมสรชิมิ : อาร์สยาม

[แก้]
  1. พ.ศ. 2554 เพลง คึกคักน่ารักอ่ะ ร่วมกับ สโมสรชิมิ 2
  2. พ.ศ. 2554 เพลง ดีใจที่ได้เป็นเพื่อนเธอ ร่วมกับ สโมสรชิมิ 2
  3. พ.ศ. 2555 เพลง ไปน่ารักไกลๆหน่อย ร่วมกับ สโมสรชิมิ 3
  4. พ.ศ. 2555 เพลง ผู้ชายห้ามเข้า ร่วมกับ สโมสรชิมิ 3
  5. พ.ศ. 2556 เพลง เห็นแฟนฉันไหม ร่วมกับ สโมสรชิมิ 4
  6. พ.ศ. 2556 เพลง โยน ร่วมกับ สโมสรชิมิ 4
  7. พ.ศ. 2558 เพลง โสดอยู่รู้ยัง ร่วมกับ สโมสร สโมโสด

เพลงประกอบละคร

[แก้]
  1. พ.ศ. 2549 เพลง ยินดีรับใช้ เพลงประกอบละคร รวมพลคนแจ๋ว (ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี)
  2. พ.ศ. 2555 เพลง อย่ามาแกล้งชม (ร้องร่วมกับ กุ้ง สุธิราช) เพลงประกอบละคร ราชินีลูกทุ่ง (ช่อง 8)
  3. พ.ศ. 2561 เพลง ได้อะไรจากการได้รักเธอ ประกอบละคร ลิขิตแค้นแสนรัก (ช่อง 8)
  4. พ.ศ. 2561 เพลง เชื่อในรักใช่ไหม ประกอบละคร แผนรัก ลวงใจ (ช่อง 8)
  5. พ.ศ. 2563 เพลง จะฆ่าเธออย่างไร ประกอบละคร นาคิน แค้นรักนางอสรพิษ (ช่อง JKN)

ผลงานอื่น ๆ

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2555 ราชินีลูกทุ่ง กบ ช่อง 8
2558 ลิเกหมัดสั่ง ขนุน
2565 มัจฉาอันดา ทิพย์มณี (นางร้าย)
2567 "Let's Kick This Love! ปากดี ขอเตะสักทีนะที่รัก"
256... ละครใหม่ (ยังไม่ทราบชื่อเรื่อง) รอเปิดกล้อง เรื่องเดียวกับ สุธิราช วงศ์เทวัญ ช่องวัน 31

ภาพยนตร์

[แก้]
  1. พ.ศ. 2556 รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน รับบท กระแต
  2. พ.ศ. 2561 หอแต๋วแตกแหกต่อไม่รอแล้วนะ รับบท เพลินจิต

โฆษณา

[แก้]
  1. พรีเซ็นเตอร์ ทรูมิวสิคซิม คู่กับ สุธิราช วงศ์เทวัญ, บิว กัลยาณี และโปงลางสะออน อาร์สยาม (พ.ศ. 2551)
  2. กาแฟเพรียวคอฟฟี่ (พ.ศ. 2559–ปัจจุบัน)
  3. สบู่และครีมอาบน้ำ ฟลอเร (ภาพนิ่ง) (พ.ศ. 2559–ปัจจุบัน)
  4. Kathy Amrez Cosmetics (พ.ศ.2566-ปัจจุบัน)

พิธีกร

[แก้]

ออนไลน์

  1. พ.ศ. 2563 : #ตามติดแตร ทางช่อง YouTube:KT Kratae
  2. พ.ศ. 2564 : KTทำดีอวดผี ทางช่อง YouTube:KT Kratae

คอนเสิร์ต อาร์สยาม

[แก้]
  1. พ.ศ. 2551 คอนเสิร์ต ฟ้าสีคราม
  2. พ.ศ. 2554 คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล 10ปี อาร์สยาม
  3. พ.ศ. 2555 คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 2
  4. พ.ศ. 2557 คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 4
  5. พ.ศ. 2567 RS Meeting Concert 2024: Dance Marathon 2 ยกกำลังเต้น (ศิลปินรับเชิญ)

ดูเพิ่ม

[แก้]

ผลงานเพลงพิเศษ

[แก้]
  • รักพ่อ..ไม่มีวันพอเพียง (2559) จัดทำขึ้นเพื่อขอรวมพลังถ่ายทอดบทเพลงนี้ แทนความรู้สึก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ของ "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 แมงกะชอน (มกราคม 2553). "เกาะขอบเวทีชีวิต "กระแต" นักมวย-นักร้องสู้ชีวิต". ชีวิตต้องสู้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-21. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ขอลองหน่อย! "กระแต อาร์สยาม" เปลี่ยนชื่อจริงเป็น "นางสาวแตร บุญยะเลี้ยง"". โพสต์ทูเดย์. 3 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "วธ.ประกาศยกย่อง ๑๔ บุคคลด้านภาษาไทย และรางวัลเพชรในเพลง ๙ ด้าน เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๘". กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""กระแต" เข้าใจชีวิต ใช้ธรรมะเป็นที่พึ่ง". เดลินิวส์. 13 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 格闘技ウェブマガジンGBR>インタビュー (ญี่ปุ่น)
  6. คู่ซี้พี่น้อง กระแต อาร์ สยาม และ กระต่าย อาร์ สยาม - เพลง - MThai
  7. "อาร์เอสฯ ยกทัพศิลปินสตริง ลูกทุ่ง รวมใจลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ชวนคนไทยระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ". อาร์เอส. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "กระแต อาร์สยาม ตอบชัดเจอถามนับถือศาสนาอะไร ฟาดกลับอย่าด้อยค่าศรัทธาคนอื่น". ไทยรัฐออนไลน์. 30 กันยายน 2566. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 "เปิดใจสาวแต" จากกระแต นิภาพร แปงอ้วน
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 ""ของขวัญจากสาวแต" สู่ "สาวกาดแลง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.
  11. อัลบั้มชุดใหม่[ลิงก์เสีย]
  12. https://www.pptvhd36.com (2024-04-01). ""กระแต อาร์สยาม" ตะโกนดีใจ จะไปเป็นผู้ชมแต่ได้ร่วมขึ้นโชว์เปิดคอนเสิร์ต "บรูโน มาร์ส"". pptvhd36.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  13. 13.0 13.1 "เปิดใจ กระแต เจ้าของอัลบั้ม สาวกาดแลง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-12. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]