ข้ามไปเนื้อหา

นิพนธ์ ศรีธเรศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิพนธ์ ศรีธเรศ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 เมษายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2517–2550)
ไทยรักไทย (2550)
เพื่อไทย (2550–2566)
ไทยสร้างไทย (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสประยงค์ ศรีธเรศ

นิพนธ์ ศรีธเรศ (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2497) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 2 สมัย

ประวัติ

[แก้]

นิพนธ์ ศรีธเรศ เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายเคน และนางเทา ศรีธเรศ มีพี่น้อง 7 คน หนึ่งในนั้นคือนายสังข์ทอง ศรีธเรศ (เสียชีวิต) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม สมรสกับนางประยงค์ มีบุตร 2 คน

นิพนธ์ยังมีศักดิ์เป็นน้องชายของสามี นางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

งานการเมือง

[แก้]

อดีตรับราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยพ่ายต่อนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ จากพรรคไทยรักไทย ต่อมา พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 จากนั้น พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคพลังประชาชน[1] และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ปี 2566 เขาได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยสร้างไทย และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 5 ประกอบด้วยอำเภอร่องคำ อำเภอกมลาไสย อำเภอดอนจาน อำเภอห้วยผึ้ง และอำเภอนามน (ยกเว้นตำบลยอดแกง) แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

นิพนธ์ ศรีธเรศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]