ข้ามไปเนื้อหา

นินจาครูเซเดอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นินจาครูเซเดอส์
นินจาครูเซเดอส์
ภาพปกเวอร์ชันญี่ปุ่น
ผู้พัฒนาเอ็นเอ็มเค[1]
ผู้จัดจำหน่ายแซมมีคอร์ปอเรชัน[1]
แต่งเพลงคาซูโนริ ฮิเดยะ
เครื่องเล่นแฟมิคอม[1]
วางจำหน่าย
แนวเกมแพลตฟอร์มแอ็กชัน 2 มิติ[1]
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว หรือหลายผู้เล่น (สูงสุด 2 ผู้เล่น)

นินจาครูเซเดอส์ (อังกฤษ: Ninja Crusaders)[a] เป็นเกมแอ็กชันแบบเลื่อนด้านข้างที่เปิดตัวโดยแซมมีสำหรับระบบแฟมิคอมใน ค.ศ. 1990 ซึ่งผู้เล่นควบคุมหนึ่งในสองนินจาที่ได้รับมอบหมายให้ขัดขวางการรุกรานของเอเลียน โดยเกมนี้ได้รับการเปรียบเทียบกับซีรีส์ นินจาริวเคนเดนของเทคโม[2]

รูปแบบการเล่น

[แก้]

นินจาครูเซเดอส์เป็นเกมแอ็กชันแบบเลื่อนด้านข้างที่สามารถเล่นได้โดยผู้เล่นสูงสุดสองคนพร้อมกัน เกมนี้มีอาวุธสี่อย่างที่ผู้เล่นสามารถหยิบและใช้ได้ในระหว่างเกม ได้แก่ ดาวกระจาย, คูซาริงามะ, โบ และดาบ อาวุธแต่ละชนิดมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และความสามารถในการแปลงร่าง ดาวกระจายให้ความสามารถในการแปลงร่างเป็นเสือ ซึ่งเร็วที่สุดและกระโดดได้สูงสุด แต่มีระยะโจมตีสั้นที่สุด;[3] คูซาริงามะให้ความสามารถในการแปลงร่างเป็นแมงป่องทะเล ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ดีกว่าร่างอื่น ๆ แต่เคลื่อนที่ได้ช้ามากบนบก;[3] โบให้ความสามารถในการแปลงร่างเป็นเหยี่ยว ซึ่งมีความสามารถในการบินเหนือทุกสิ่ง แต่ไม่สามารถโจมตีได้เลย;[3] และสุดท้ายคือดาบที่ให้ความสามารถในการแปลงร่างเป็นมังกร ซึ่งสามารถบินได้อยู่ยงคงกระพัน และสังหารทุกอย่างในการโจมตีครั้งเดียว แต่ผู้เล่นสามารถใช้ความสามารถนี้ได้เพียงครั้งเดียวและในระยะเวลาที่จำกัดเท่านั้น ส่วนดาบเองก็ไม่ค่อยปรากฏในเกม[3]

โครงเรื่อง

[แก้]

ในอนาคตอันใกล้ กองกำลังของผู้รุกรานจากต่างดาวกำลังสร้างความหายนะให้กับโลกจากอวกาศนอกโลกที่ไกลที่สุด[4] ภัยคุกคามใหม่นี้แข็งแกร่งกว่าการป้องกันที่ทรงพลังที่สุดของพวกเรา และพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถหยุดยั้งได้ ในประเทศญี่ปุ่น นักรบนินจาผู้กล้าหาญได้ลุกขึ้นจากเงามืดเพื่อต่อสู้กับผู้รุกรานจากต่างดาว แต่ในที่สุด ก็ถูกขับไล่ไสส่งออกไปในขณะที่ภัยคุกคามเข้าควบคุมบ้านเกิดของพวกเขา นินจาบางส่วนหลบหนีออกจากญี่ปุ่นและกระจัดกระจายไปยังดินแดนห่างไกลทั่วโลก[4] แต่ความปรารถนาของพวกเขาคือจะยึดคืนดินแดนของพวกเขา และบดขยี้ความบ้าคลั่งของศัตรู โดยมีการตัดสินใจว่านินจาสองคน ซึ่งคือทาลอนและเบลด ที่จะถูกส่งไปทำลายความชั่วร้าย[4]

การตอบรับ

[แก้]

เว็บไซต์เอ็นอีเอสเพลเยอร์อ้างว่าความเร็วและความคาดเดาไม่ได้ของตัวละครศัตรูของเกมเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความหายนะครั้งใหญ่ที่สุดของเกม ซึ่งบังคับให้ผู้เล่นพึ่งพาการท่องจำมากเกินไปในด่านต่อมา[3]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในชื่อนินจาครูเซเดอส์ริวงะ (ญี่ปุ่น: 忍者クルセイダーズ 龍牙โรมาจิNinja Kuruseidāzu Ryūga)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Game information". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 2010-07-16.
  2. "Similarities to Ninja Gaiden". NES Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-29. สืบค้นเมื่อ 2010-07-17.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Basic game overview". NES Player. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-17.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Story information". MobyGames. สืบค้นเมื่อ 2010-07-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]