นิจิเร็ง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พุทธศาสนานิจิเร็ง (ญี่ปุ่น: 日蓮系諸宗派, นิจิเร็ง-เคอิ โช ชูฮะ) เป็นหนึ่งในนิกายทางมหายานของพุทธศาสนา ที่ยึดตามคำสอนของ พระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นชื่อ พระนิจิเร็ง (ค.ศ. 1222– ค.ศ. 1282) รูปแบบของศาสนาพุทธนิกายนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมญี่ปุ่นหลายช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ นิจิเร็งโชชูจะเชื่อใน คัมภีร์ สัทธรรมปุณฑริกสูตร และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติพุทธะอยู่ในชีวิตของแต่ละคนอยู่แล้ว จึงทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ในช่วงชีวิตนี้ ซึ่งพระนิจิเร็ง ได้เห็นความเบี่ยนเบนทางคำสอนของ มหายานในสมัยนั้น นิกายนิจิเร็งมีแตกแยกออกเป็นหลาย ๆ นิกายย่อยและลัทธิต่าง ๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังมีแยกออกเป็นกลุ่มศาสนาใหม่มากมาย โดยบางนิกายจะใช้บทสวดเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างในการปฏิบัติ และคำสอน ผู้นับถือนิกายนิจิเร็งจะเชื่อว่าการปฏิบัติธรรมจะสามารถนำพาความสุข และสันติสุขมาสู่โลก
พระนิจิเร็งไดโชนิง ผู้ก่อตั้ง
[แก้]ตั้งแต่อายุได้ 16 ปี ถึง 32 ปี พระนิจิเร็งไดโชนิงได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนต่าง ๆ นับไม่ถ้วนในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่ ภูเขาฮิเออิ และภูเขาโคยะ โดยในช่วงเวลานั้นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอยู่ เมือง นาระ และ เกียวโต พระนิจิเร็งไดโชนิงได้ประกาศว่า คำสอนที่ถูกต้องแท้จริงของพระพุทธเจ้าพระศากยมุนีพุทธะ คือ พระสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ตลอดช่วงชีวิตของพระนิจิเร็งไดโชนิง ได้ทำการโต้วาทีธรรม และโจมตีหักล้างคำสอนของศาสนาพุทธนิกายอื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ว่าเป็นคำสอนนอกรีต และไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะกับ นิกายสุขาวดี และ นิกายเซ็น ซึ่งสมัยนั้นเป็นนิกายที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมญี่ปุ่น ท่านได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ ริชโซ อันโคคุรอน หรือการยึดถือคำสอนที่ถูกต้องเพื่อให้ประเทศเกิดสันติ เมื่อ ค.ศ. 1260 เพื่อยื่นเสนอต่อรัฐบาลทหารคามาคูระซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของผู้สำเร็จราชการลำดับที่ 5 โฮโจ โทขิโยริ
ใจความหนังสือเสนอให้ใช้พุทธศาสนาเป็นกฎหมาย และเรียกร้องให้รัฐบาลและชาวญี่ปุ่นเลิกนับถือและสนับสนุนคำสอนนิกายต่าง ๆ โดยเชื่อว่ารากฐานอันมั่นคงที่เกิดจากพุทธศาสนาที่แท้จริงจะทำให้ญี่ปุ่นสงบสุขและปลอดภัย เนื่องจากญี่ปุ่นในสมัยนั้นประสบปัญหานานัปการ ทั้งภัยธรรมชาติจากแผ่นดินไหวและพายุที่รุนแรง สภาพอากาศผิดธรรมชาติ โรคระบาด ข้าวยากหมากแพง ความระส่ำระสายแย่งชิงอำนาจภายใน และการคุกคามจากจักรวรรดิมองโกล โดยท่านเชื่อว่ามีต้นเหตุมาจากการนับถือคำสอนที่ผิดพลาด ส่งผลให้ประชาชนและผู้ปกครองประเทศมีแนวคิดและดำเนินชีวิตผิดพลาดและขาดจริยธรรมอันถูกต้อง เทพยดาที่คุ้มครองประเทศล้วนหนีจากไป และเปิดโอกาสให้ปิศาจร้ายเข้ามาแทนที่ แต่รัฐบาลทหารคามาคูระปฏิเสธข้อเรียกร้องของท่านทุกครั้งที่ท่านยื่นหนังสือฉบับนี้ ท่านจึงปลีกตัวจากคามาคูระและเริ่มเตรียมรากฐานการเผยแผ่ธรรมสู่ประชาชนต่อไป
นิกายย่อย
[แก้]ในปัจจุบัน ศาสนาพุทธนิกายนิจิเร็งนั้น ไม่ใช่นิกายเดี่ยว ๆโดยได้มีการแยกเป็นนิกายย่อย ๆ ออกไป หลังจากการดับขันธ์ของ พระนิจิเร็ง โดยก่อนการดับขันธ์ พระนิจิเร็ง ได้แต่งตั้ง พระสงฆ์อาวุโส 6 รูป เพื่อให้ทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนต่อไปในอนาคต ประกอบด้วย พระนิชโช (日昭), พระนิชิโร (日朗), พระนิโค (日向), พระนิตโช (日頂), พระนิชิจิ (日持), และ พระนิกโค (日興) แต่ว่า พระนิชิจิ ได้เดินทางไปยังต่างประเทศและไม่ได้รับข่าวของท่านอีกเลย และพระนิตโชในภายหลังได้มาเป็นศิษย์ของพระนิกโค
สาเหตุของการแตกแยกนิกายต่าง ๆ นั้นมีหลายประการ อาทิเช่น การแตกแยก การตีความคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปของบางนิกาย เป็นต้น พูดได้ว่า พระสงฆ์อาวสุโสมีความเข้าใจในคำสอนของพระนิจิเร็งในรูปแบบที่แตกต่างกัน และพระสงฆ์อาวุโสบางรูป ได้ปฏิบัติธรรมที่เบี่ยนเบนไปจากคำสอนของพระนิจิเร็ง ส่งผลให้ พระนิกโค ซึ่งเห็นความผิดพลาดนี้ได้เดินทางออกจาก วัดคุอนจิ ในปี ค.ศ. 1289 โดยได้กล่าวว่า พระนิโค และพระสงฆ์รูปอื่น ๆ กำลังไปในทางที่นอกรีต และผิดจากที่พระนิจิเร็งสอน ซึ่งทำให้พระนิกโคไม่อาจยอมรับได้
วัดคุอนจิในปัจจุบันเป็นวัดศุนย์กลางของ นิกายนิจิเร็งชู ซึ่งเป็นหนึ่งในสองนิกายที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งดำเนินการโดยพระสงฆ์อาวุโสองค์อื่น ๆ ส่วนพระนิกโคได้เดินทางไปยังภูเขาไฟฟูจิ และตั้งเป็น วัดไทเซขิจิ ซึ่งเป็นวัดใหญ่ของนิกายนิจิเร็งโชชู ในปัจจุบัน ซึ่งพระนิกโคได้สร้างขึ้นหลังจากเดินทางออกมาจากวัดคุอนจิ ในปี ค.ศ. 1290
สำหรับนิกายอื่น ๆ นอกจากสองนิกายนี้นั้น มีมากมายอาทิเช่น ฮอกเกะชู, ฮนมน บัตสุริว ชู และ เคมปนฮอกเกะชู และยังมีศาสนาใหม่ ๆ ที่ยึดบทสวดหรือคำสอนบางส่วนของพระนิชเรนก็มี อาทิเช่น เรยูไค, ชิโร โคเซอิ ไค และ นิปปอนซัน เมียวโฮจิ ซังฮะ ซึ่งแยกมาจาก นิกายนิจิเร็งชู และยังมี โซกา งัคไค หรือ สมาคมสร้างคุณค่า , โชชินไคอิ และ เคนโชไค ซึ่งได้แยกออกมาจาก นิจิเร็งโชชู
นิกายต่าง ๆ
[แก้]- นิจิเร็งโชชู - นิกายสายของพระนิกโค ที่ยึดตามคำสอนและการปฏิบัติแบบพระนิจิเร็งดั้งเดิม จัดเป็นหนึ่งในนิกายหัวรุนแรง
- นิจิเร็งชู - นิกายสายของพระสงฆ์อวุโสรูปอื่น ๆ
- ฮนมน บุตสึริว ชู
- เคมปน ฮอกเกะ
- ฮอกเกะชู
- ฮนมน ฮอกเกะ
- นิจิเร็งฮอนชู
- นิจิเร็งชู ฟูจิ-ฟุเซะ-ฮะ
- ฮอกเกะ นิจิเร็งชู
- ฮอมปะ นิจิเร็งชู
- ฮอนเกะ นิจิเร็งชู
- ฟุจิ-ฟุเซะ นิจิเร็งคนมน ชู
- ฮอนเกะ นิจิเร็งชู
- โชโบะ ฮอกเกะ ชู
- ฮนมน เคียวโอะ ชู
- นิจิเร็ง โคมน ชู
นิกายใหม่ ๆ
[แก้]- เรอิยูไค
- ริชโช โคเซอิ ไค
- นิปปอนซัน เมียวโฮจิ
- โคคูชูไคอิ
- โชชินไคอิ
- ฟูจิ ไทเซขิจิ เคนโชไค
- ฮนมนโชชู
ลัทธิฆราวาส
[แก้]คำสอนและการปฏิบัติ
[แก้]นิกายนิจิเร็งส่วนใหญ่จะมีคำสอนคล้ายคลึงกับนิกายเทียนไท้ ที่ยึดสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นพระสูตรหลักเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งคำสอนของพระศากยมุนีเป็น 5 ช่วง หรือลักษณะคำสอน 4 ประการ แต่เทียนไท้จะประนีประนอมมากกว่า เช่น นิกายนิชเรนโชชู จะรับคำสอนของนิกายเทียนไทเในเรื่อง หนึ่งขณะจิตสามพัน (一念三千: Ichinen Sanzen) และ ความจริงสามประการ (三諦: Santai)
พระนิจิเร็ง ได้เขียนจดหมายถึงศิษย์ และคำสอนต่าง ๆ ไว้ ซึ่งถูกรวบรวมไว้เป็นบทธรรมนิพนธ์ ซึ่งยังมีบอกถึงวิถีการปฏิบัติของผู้นับถือ และมุมมองในคำสอนของตัวพระนิชเรนเองลงในจดหมายเหล่านี้อีกด้วย ซึ่งใช้สำหรับการศึกษาธรรมของผู้นับถือ ซึ่งเรียกว่า โกโช่ หรือ บางนิกายเรียกว่า โก-อิบุน ซึ่งมีมากกว่า 700 ฉบับ ซึ่งบางฉบับนั้นสมบูรณ์ครบถ้วน แต่บางฉบับก็เป็นเพียงเศษกระดาษ ซึ่งได้ถูกเก็บรักษาสืบทอดมานับศตวรรษ โดยการรวบรวม และการคัดลอก และยังมีหลายฉบับที่เป็นต้นฉบับ ซึ่งส่วนมากตัวต้นฉบับนั้นจะถูกรวมรวมไว้ที่วัดไทเซขิจิ ซึ่งเป็นศุนย์กลางของ นิกาย นิจิเร็งโชชู บางฉบับมีเป็นภาษาอังกฤษซึ่งถูกแปลโดยชาวต่างชาติ หรือชาวเอเชียที่รู้ภาษาญี่ปุ่น
นิกายนิจิเร็งในประเทศไทย
[แก้]ในประเทศไทยนั้น นิกายนิจิเร็งถูกเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งรกรากหรือมาประจำสำนักงานสาขาในยุคแรกเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งมีการนำเข้ามาหลายนิกาย ทั้ง นิจิเร็งโชชู นิจิเร็งชู นิจิเร็งฮนมน และ โซกา งัคไค เป็นต้น แต่ที่เด่นชัดและใหญ่ที่สุดคือ นิจิเร็งโชชู และ โซกา งัคไค ซึ่งนิกายนิจิเร็งโชชูนั้น ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกโดยสมาคมโซกา งัคไค ภายใตการนำของประธานสมาคม นายไดซาขุ อิเคดะ และได้ก่อตั้ง สมาคมธรรมประทีป โดยมอบหมายให้ดร. พิภพ ตังคณะสิงห์ เป็นนายกสมาคมอย่างเป็นทางการ ดร.พิภพ นี้ก็ยังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะผู้แปลบทธรรมนิพนธ์ของพระนิจิเร็ง เป็นภาษาไทยอีกด้วย อย่างไรก็ตามในภายหลัง นิกายนิจิเร็งโชชู ได้ทำการคว่ำบาตร โซกางัคไค หรือ สมาคมสร้างคุณค่า ส่งผลให้ผู้นับถือในประเทศไทยได้แยกออกเป็น 2 ฝ่ายด้วยเช่นกัน โดย สมาคมธรรมประทีป เป็นของนิกายนิจิเร็งโชชู และผู้นับถือส่วนใหญ่ได้ออกไปตั้งสมาคมใหม่ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย" และเชื่อมโยงกับเครื่อข่ายสมาคมโซกา งัคไค สากล (เอสจีไอ) ร่วมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
อ้างอิง
[แก้]ภาษาอังกฤษ
[แก้]- A Dictionary of Buddhist Terms and Concepts. Nichiren Shoshu International Center, 1983 (Out of print)
- Selected Writings of Nichiren. Burton Watson et al., trans.; Philip B. Yampolsky, ed. Columbia University Press, 1990
- Letters of Nichiren. Burton Watson et al., trans.; Philip B. Yampolsky, ed. Columbia University Press, 1996
Full disclosure statement: Although Soka Gakkai retains the copyrights on the foregoing three works and financed their publication, they show some deviation from similar works published under Soka Gakkai's own name. - The Cambridge Encyclopedia of Japan. Paul Bowring and Peter Kornicki, eds. Cambridge University Press, 1993. ISBN 0-521-40352-9 (Referred to in text as Cambridge.)
- Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kondansha, 1993, ISBN 4-06-205938-X; CD-ROM version, 1999. (Referred to in text as Illustrated.)
- The Doctrines and Practice of Nichiren Shoshu. Nichiren Shoshu Overseas Bureau, 2002
- The Soka Gakkai Dictionary of Buddhism. Soka Gakkai, 2002, ISBN 4-412-01205-0
ภาษาญี่ปุ่น
[แก้]- Nichiren Shōshū yōgi (日蓮正宗要義; "The essential tenets of Nichiren Shoshu"). Taiseki-ji, 1978, rev. ed. 1999
- Shimpan Bukkyō Tetsugaku Daijiten (新版 仏教哲学大辞典: "Grand dictionary of Buddhist philosophy, rev. ed."). Seikyo Shimbunsha, 1985. No ISBN.
- Nichiren Shōshū-shi no kisoteki kenkyū (日蓮正宗史の基礎的研究; "A study of fundaments of Nichiren Shoshu history"). (Rev.) Yamaguchi Handō. Sankibo Bussho-rin, 1993. ISBN 4-7963-0763-X
- Iwanami Nihonshi Jiten (岩波 日本史辞典: "Iwanami dictionary of Japanese history"). Iwanami Shoten, 1999. ISBN 4-00-080093-0 (Referred to in text as Iwanami.)
- Nichiren Shōshū Nyūmon (日蓮正宗入門; "Introduction to Nichiren Shoshu"). Taiseki-ji, 2002
- Kyōgaku Yōgo Kaisetsu Shū (教学解説用語集; "Glossary of Nichiren Shoshu Buddhist terms"). (Rev.) Kyōdō Enoki, comp. Watō Henshūshitsu, 2006.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Kempon Hokke Shu U.S. site เก็บถาวร 2015-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Nichiren Shoshu's English website
- Nichiren Shu official website เก็บถาวร 2017-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Nichiren's Coffeehouse interfaith directory เก็บถาวร 2010-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Soka Gakkai International
- Nichiren Buddhist Association of America
- ReligionFacts.com on Nichiren Buddhism เก็บถาวร 2014-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Contains some inaccuracies; e.g., the photo of an altar is not of a Nichiren Shoshu one.
- Reiyukai Japan เก็บถาวร 2013-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and Reiyukai America
- Nichiren Shu in Italy and the rest of Europe เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Honmon Butsuryushu italian official web site เก็บถาวร 2014-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Honmon Butsuryushu japanese official web site