นิจพล
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นิจพล (อังกฤษ: idempotent หรือ idempotence) คือสมบัติอย่างหนึ่งของการดำเนินการทางคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็นค่าเดิมเสมอแม้ว่าจะกระทำการดำเนินการดังกล่าวกี่ครั้งก็ตาม
นิยาม
[แก้]มีนิยามสองอย่างเกี่ยวกับนิจพลดังนี้
- บนการดำเนินการทวิภาค สมาชิกนิจพล คือสมาชิกที่ดำเนินการนั้นกับสมาชิกตัวเอง แล้วให้ผลลัพธ์เป็นสมาชิกตัวเอง ตัวอย่างเช่น สมาชิกนิจพลของการคูณในจำนวนจริงได้แก่ 0 กับ 1 เนื่องจาก 0 × 0 = 0 และ 1 × 1 = 1
- บนการดำเนินการเอกภาค การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นนิจพล ถ้าสมาชิกตัวหนึ่งได้ดำเนินการนั้นแล้วสองครั้ง แล้วให้ผลลัพธ์เหมือนดำเนินการแค่ครั้งเดียว ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชันจำนวนเต็มมากสุด (ceiling function) จะเป็นนิจพลบนเซตของจำนวนเต็ม เป็นต้น
นิยามแบบรูปนัย
[แก้]การดำเนินการทวิภาค
[แก้]ถ้าให้ S เป็นเซตเซตหนึ่ง ที่มีการดำเนินการทวิภาค * บนเซตนั้น สมาชิก s ที่อยู่ในเซต S จะเรียกว่าเป็นสมาชิกนิจพลภายใต้การดำเนินการ * ถ้า
ในกรณีพิเศษ สมาชิกเอกลักษณ์ทุกตัวเป็นสมาชิกนิจพล และถ้าหากทุกๆ สมาชิกใน S เป็นสมาชิกนิจพลแล้ว จะกล่าวได้ว่าการดำเนินการทวิภาค * เป็นนิจพล เช่น การดำเนินการยูเนียนและอินเตอร์เซกชันของเซต ล้วนเป็นนิจพล
การดำเนินการเอกภาค
[แก้]ถ้าให้ f เป็นการดำเนินการเอกภาคอันหนึ่ง f จะเรียกว่าเป็นนิจพลสำหรับสมาชิก x ทุกตัวของเซต X ถ้า
ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวสามารถเขียนในรูปแบบของการประกอบฟังก์ชัน (function composition) ได้เป็น f o f = f
ในกรณีพิเศษ ฟังก์ชันเอกลักษณ์ ก็เป็นนิจพล และฟังก์ชันคงตัว ก็เป็นนิจพลเช่นกัน
ดูเพิ่ม
[แก้]- นิรพล (nilpotent)