นิงเงียว
นิงเงียว (ญี่ปุ่น: 人魚; โรมาจิ: Ningyo; "ปลามนุษย์") เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายปลาจากนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น แม้ว่าบางครั้งมีการแปลคำนี้เป็น "นางเงือก" แต่ตามหลักแล้วคำนี้ไม่เจาะจงเพศและอาจรวมถึง "เงือกชาย" ด้วย จึงมีการแปลตรงตามความหมายว่า "ปลามนุษย์" ด้วย
ตำนานที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเนื้อนิงเงียว คือการที่กินเนื้อของนิงเงียวแล้วจะทำให้เป็นอมตะดังในตำนานของแม่ชียาโอบิกูนิ
ภาพรวม
[แก้]บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของนิงเงียวที่ยืนยันในแหล่งข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรของญี่ปุ่นระบุว่าเป็นสิ่งมีชีวิตน้ำจืดที่กล่าวกันว่ามีการจับได้ในศตวรรษที่ 7 ซึ่งบันทึกไว้ในนิฮงโชกิ[a] แต่บันทึกในสมัยต่อมามักระบุว่าเป็นสิ่งมีชีวิตในทะเล[5][b]
เนื้อของนิงเงียวมีรสชาติดี และจากตำนานของแม่ชียาโอบิกูนิทำให้เชื่อว่าถ้าได้กินเนื้อของนิงเงียวจะทำให้มีอายุยืนยาวถึง 1,000 ปี อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าการจับนิงเงียวจะนำมาซึ่งพายุและความโชคร้าย ชาวประมงที่นิงเงียวเหล่านี้ได้จึงมักจะถูกบอกให้โยนพวกนิงเงียวกลับสู่ทะเล นิงเงียวที่ถูกคลื่นซัดมาที่ชายหาดเป็นลางบอกเหตุของสงครามหรือภัยพิบัติ
ตำนานอมตะเกี่ยวกับนิงเงียว เป็นเรื่องที่การกินเนื้อของนิงเงียวโดยแม่ชีชื่อ ยาโอบิกูนิ (มีความหมายว่า "ภิกษุณี[ผู้มีอายุ]แปดร้อย[ปี]") ซึ่งกล่าวกันว่ามีอายุยืนยาวถึง 8 ศตวรรษ[8][2]
คำศัพท์
[แก้]คำภาษาญี่ปุ่นว่า นิงเงียว (ญี่ปุ่น: 人魚; โรมาจิ: ningyo; มีความหมายว่า "ปลามนุษย์"[2]) มีบรรจุในพจนานุกรมที่มีชื่อเสียง (โคจิเอ็ง) ว่าเป็น "สัตว์วิเศษ" ที่เป็น "ครึ่งผู้หญิง ครึ่งปลา" ต่อมาแก้ไขเป็น "ครึ่งมนุษย์ (มักเป็นผู้หญิง) ครึ่งปลา" ดังนั้นคำว่า นิงเงียว จึงไม่ได้หมายความถึงแค่นางเงือก แต่รวมถึงเงือกชายด้วย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยาโอบิกูนิ
[แก้]หนึ่งในนิทานพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงที่มีความเกี่ยวข้องกับนิงเงียว เล่าว่ามีเด็กหญิงที่กินเนื้อนิงเงียวแล้วได้รับความเยาว์วัยและอายุยืนยาว ผู้กลายเป็นภิกษุณีชื่อว่า ยาโอบิกูนิ (ญี่ปุ่น: 八百比丘尼; โรมาจิ: Yao Bikuni; "ภิกษุณีแปดร้อย (ปี)") หรืออ่านได้อีกแบบว่า ฮัปเปียกุบิกูนิ ซึ่งมีอายุถึง 800 ปี[9][10][c]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ แม้ว่ายังไม่มีการเรียกด้วยคำว่านิงเงียวในนิฮนโชกิ[4]
- ↑ ตัวอย่างของการพบนิงเงียวน้ำจืดคือมีรายงานว่ามีการจับนิงเงียวได้ในยุคโคนิง (ค.ศ. 810–824) ในทะเลสาบบิวะ จากที่มีบันทึกในโค ยามาโตะ ฮนโซ เบ็ตสึโรกุ ('บันทึกเภสัชตำรับญี่ปุ่นฉบับขยายความ') ในสมัยเอโดะ[6][7]
- ↑ แม้ว่าแม่ชีผู้นี้จะมีอายุ 800 ปีในหลายแบบฉบับ แต่ก็มีบางแบบฉบับที่ระบุอายุเป็น 200, 400 หรือเลขจำนวนปีอื่น ๆ [11] แม่ชีผู้นี้ยังถูกเรียกด้วยชื่อ ชิราบิกูนิ/ชิโรบิกูนิ ญี่ปุ่น: 白比丘尼; โรมาจิ: Shira Bikuni/Shiro Bikuni; "ภิกษุณีขาว" ในบางแหล่ง ตามตำนานท้องถิ่นในจังหวัดโอกายามะ แม่ชีผู้นี้ถูกเรียกด้วยชื่อ เซ็นเน็งบิกูนิ ญี่ปุ่น: 千年比丘尼; โรมาจิ: Sennen Bikuni และมีอายุ 1,000 ปี[12] ฮายาชิ ราซัง (Honchō jinjakō ) เล่าถึงตำนานของ ชิราบิกูนิ ญี่ปุ่น: 白比丘尼; โรมาจิ: Shira Bikuni ผู้มีอายุ 400ปี[12]
อ้างอิง
[แก้]- รายการอ้างอิง
- ↑ Santō Kyōden (1791), fol. 14a.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Castiglioni (2021).
- ↑ Suzuki, Tōru (2006). Nihon kawaraban 日本史瓦版 (ภาษาญี่ปุ่น). Sanshūsha. p. 167. ISBN 9784384038323.
- ↑ Yoshioka (1993), p. 40.
- ↑ Yoshioka (1993).
- ↑ Yoshioka (1993), pp. 35–36.
- ↑ Fujisawa (1925), pp. 39–40.
- ↑ Hayward (2018).
- ↑ Castiglioni (2021), p. 32.
- ↑ Foster (2015), p. 155.
- ↑ Kuzumi (2011), p. 72.
- ↑ 12.0 12.1 Kuzumi (2011), p. 67.
- บรรณานุกรม
- Castiglioni, Andrea (2021). "The Human-Fish". Japanese Journal of Religious Studies. 48 (1): 1–44. doi:10.18874/jjrs.48.1.2021.1-44. JSTOR 27039930. S2CID 237709697.
- Chaiklin, Martha (2010), Nagazumi, Yōko (บ.ก.), "Simian Amphibians: The Mermaid Trade in Early Modern Japan", Large and Broad The Dutch Impact on Early Modern Asia Essays in Honor of Leonard Blussé, Toyo Bunko, pp. 241–273, ISBN 9784809702440
- Foster, Michael Dylan (2015). The Book of Yokai: Mysterious Creatures of Japanese Folklore. University of California Press. ISBN 978-0-520-95912-5.
- Fujisawa, Morihiko (1925). 人魚傳説考. Nihon densetsu kenkyū 日本伝説研究. Vol. 2. Daitōkaku. pp. 19–48.
- Hayward, Philip (2018). "Chapter 3. Japan: The 'Mermaidisation' of the Ningyo and related folkloric figures". Scaled for Success: The Internationalisation of the Mermaid. Indiana University Press. pp. 51–68. ISBN 978-0861967322.
- Kuzumi, Kazuo (June 2001). "Dazai Osamu no 'Ningyo no umi' ni tsuite no hikaku bungakuteki kō" 太宰治の「人魚の海」についての比較文学的考察 (PDF). Bulletin of the Faculty of Education, Fukushima University. Liberal arts (70): 33–45. hdl:10270/137.
- Kuzumi, Kazuo (December 2005). "Edo jidai no 'ningyo' zō" 江戸時代の「人魚」像 [Das Bild der „ Seejungfraun“ in der Edo-Zeit] (PDF). Bulletin of the Faculty of Human Development and Culture Fukushima University (2): 59–69. hdl:10270/498.
- Kuzumi, Kazuo (June 2006a). "Edo jidai no 'ningyo' zō (2) : Hakubutsugaku no hakurai wo chūshin to shite" 江戸時代の「人魚」像(2)―博物学の舶来を中心として [Das Bild der „ Seejungfraun“ in der Edo-Zeit 2] (PDF). Bulletin of the Faculty of Human Development and Culture Fukushima University (2): 45–55. hdl:10270/499.
- Kuzumi, Kazuo (December 2006b). "Edo jidai izen no 'ningyo' zō: Nihon ni okeru 'ningyo' zō no genten e no apurōchi" 江戸時代以前の「人魚」像 : 日本における「人魚」像の原点へのアプローチ [Das Bild der „Seejungfraun“ vor der Edo-Zeit: Das Herantreten an den Ausgangspunkt des Bildes der „ Seejungfrau“ in Japan] (PDF). Bulletin of the Faculty of Human Development and Culture Fukushima University (4): 51–61. hdl:10270/500.
- Kuzumi, Kazuo (June 2011). "Nihon no 'ningyo' densetsu:'Yaobikuni densetsu' wo chūshin to shite" 日本の「人魚」伝説─「八百比丘尼伝説」を中心として ─ [Die Sagen der „Meerfrau“ in Japan: Über „Die Sage von Yaobikuni“] (PDF). Bulletin of the Faculty of Human Development and Culture Fukushima University (13): 45–55. hdl:10270/3561.
- Lai, Youyu 頼宥羽 (July 2015). Chinzei yumiharizuki ron: Ryūkyū ōken ron wo chūshin ni 『椿説弓張月』論. ―琉球王権論を中心に― (PDF) (Masters) (ภาษาญี่ปุ่น). National Chengchi University.[ลิงก์เสีย]
- Minakata, Kumagusu (24 September 1901), "Ningyo no hanashi" 人魚の話, Muro shinpō 牟婁新報
- —— (1973) [1901], "Ningyo no hanashi" 人魚の話, Minakata Kumagusu zenshū 南方熊楠全集, 平凡社, vol. 6, pp. 305–311 htm edition
- Mozume, Takami (1922). "Ningyo" 人魚. Kōbunko 廣文庫. Vol. 15. Kōbunko kankōkai. pp. 35–42. ISBN 9784054044517.
- Nakamaru, Teiko (2015). "Hakubutsugaku no ningyo hyōshō: honyūrui, josei, uo" 博物学の人魚表象―哺乳類、女性、魚― [How the Naturalists Described Merfolk or Mermaids : Fishes, Women, and Mammalia]. Journal of Comparative literature. Nihon Hikaku Bungakukai. 58: 7–23.
- Ōtsuki Gentaku (1786). "Ningyo" 人魚. Rokumotsu shinshi 六物新志. Vol. 2. Kenkadō. fols. 19a–32a.
- Santō Kyōden (1791). Hakoiri musume menya ningyō 箱入娘面屋人魚. Utagawa Toyokuni (illustr.). Tsuta no Karamaru. (Waseda University copy) National Diet Library copy
- Sasaki, Akio (2000). "Budōdenraiki ron: sono 3" 『武道伝来記』論 : その三 (PDF). Bulletin of Tokyo Kasei Gakuin Tsukuba Women's University (4): (11) – (21).
- Sato, Kenji (November 1993). "Kudan no tanjō: hanashi no ikolojī・josetsu, etc" クダンの誕生--話のイコノロジー・序説 (共同研究「民俗誌の記述についての基礎的研究」) -- (調査をめぐる諸問題) [The Birth of Kudan]. Bulletin of the National Museum of Japanese History. 51: 71–102.
- Uchida, Keitaro (1960). "Ninja kō" 人魚考. Shizen. 15 (8): 42–47.
- Yamaguchi, Naoki (2010). "2. Ningyo" 第2章:人魚. Ketteiban Yōkai mīra kanzen FILE 決定版妖怪ミイラ完全FILE. Gakken. pp. 46–103. ISBN 9784054044517.
- —— (2014). Nihon yōkai mīra taizen 日本妖怪ミイラ大全. Gakken. pp. 104–107. ISBN 978-4-05-406041-8.
- Yoshioka, Ikuo (September 1993). "Ningyo no shinka" 人魚の進化 (PDF). Comparative folklore studies: for folklore studies of Asia. Tsukuba University (8): 35–47. ISSN 0915-7468. URI