นิคมญี่ปุ่นในภูมิภาคไมโครนีเชีย
การตั้งนิคมญี่ปุ่นในภูมิภาคไมโครเนียเริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นครอบครองพื้นที่ส่วนมากของภูมิภาคไมโครนีเชีย
ระหว่าง ค.ศ. 1914 ถึง 1945 พื้นที่ในภูมิภาคไมโครนีเชียอันได้แก่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา สหพันธรัฐไมโครนีเชีย ปาเลาและหมู่เกาะมาร์แชลล์อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ในฐานะดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ ที่มีชื่อเรียกว่าแปซิฟิกใต้ในอาณัติ หรือ นันโย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่นมีจำนวนสูงกว่าชาวไมโครนีเชียพื้นเมืองเป็นอย่างมาก และพบการสมรสต่างพวกระหว่างชาวญี่ปุ่นและชาวไมโครนีเชีย โดยเลี้ยงดูครอบครัวของตนในพื้นที่ท้องถิ่นนั้น[1][2] นอกจากนี้ยังพบว่ามีชาวญี่ปุ่นบางคนอาศัยอยู่ในคิริบาส[3]และนาอูรู[4] โดยทำงานเป็นลูกจ้างตามสัญญาหรือกิจการธุรกิจ
หลัง ค.ศ. 1945 ผู้ตั้งชาวญี่ปุ่นส่วนมากถูกส่งกลับไปยังญี่ปุ่น ขณะที่ทายาทของคนกลุ่มนี้ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อ ทายาทเหล่านี้มักระบุอัตลักษณ์ตนเองว่าเป็นชาวไมโครนีเชียมากกว่าชาวญี่ปุ่น[5] และถือได้ว่าเป็นประชากรกลุ่มน้อยที่มีจำนวนประมาณหนึ่งในแต่ละดินแดน[6]
การขุดค้นทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าชาวไมโครนีเชียได้อาศัยอยู่บนเกาะชิชิจิมะ (ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะโบนิน) ในอดีต[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]- นิคมญี่ปุ่นในประเทศไมโครนีเชีย
- นิคมญี่ปุ่นในประเทศคิริบาส
- นิคมญี่ปุ่นในประเทศหมู่เกาะมาร์แชลล์
- นิคมญี่ปุ่นในประเทศปาเลา
- นิคมเกาหลีในภูมิภาคไมโครนีเชีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Poyer (2001), p. 131
- ↑ Crocombe (2007), p. 90
- ↑ McQuarrie (2000), p. 7
- ↑ Crocombe (2007), p. 46
- ↑ Kiste et al. (1999), p. 206
- ↑ Foundation for Advanced Studies in International Development (Japan) เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kimio Fujita, October 7, 2005
- ↑ 小笠原・火山(硫黄)列島の歴史
บรรณานุกรม
[แก้]- Crocombe, R. G., Asia in the Pacific Islands: Replacing the West, 2007, ISBN 982-02-0388-0
- Kiste, Robert C.; Marshall, Mac, American Anthropology in Micronesia: An Assessment, University of Hawaii Press, 1999, ISBN 0-8248-2017-7
- McQuarrie, Peter, Conflict in Kiribati: A History of the Second World War, Macmillan Brown Centre for Pacific Studies, University of Canterbury, 2000, ISBN 1-877175-21-8
- Poyer, Lin; Falgout, Suzanne; Carucci, Laurence Marshall, The Typhoon of War: Micronesian Experiences of the Pacific War, University of Hawaii Press, 2001, ISBN 0-8248-2168-8