ข้ามไปเนื้อหา

นามูเมียวโฮเร็งเงเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างของ "โกฮนซน" (御本尊) มณฑลอักษรภาพซึ่งมีมนต์ "นะมุเมียวโฮเร็งเงะเคียว" เป็นประธานหลักของมัณฑละ

นามูเมียวโฮเร็งเงเกียว หรือ นัมเมียวโฮเร็งเงเกียว (ญี่ปุ่น: 南無妙法蓮華経ทับศัพท์: Namu Myōhō Renge Kyō, Nam Myōhō Renge Kyō)[1] เป็นพุทธมนต์หลักของนิกายนิจิเร็ง มีความหมายว่า "ขอนอบน้อมแด่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร"[2][3] มนต์นี้ถูกอ้างอิงถึงในชื่อไดโมกุ (題目)[4] หรือเรียกอย่างยกย่องว่าโอไดโมกุ (お題目) ซึ่งได้มีการเผยแพร่ครั้งแรกโดยพระนิจิเร็ง ภิกษุชาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 เดือนสี่ทางจันทรคติญี่ปุ่น ค.ศ. 1253 ณ วัดเซโชจิ (หรือที่เรียกกันว่าคิโยซูมิเดระ) ใกล้เมืองโคมินาโตะ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองคาโมงาวะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น[5][6] พิธีสวดไดโมกุนั้นเรียกว่า "โชได" (唱題) มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรัสรู้เข้าถึงพุทธภาวะได้โดยสมบูรณ์ในภพปัจจุบัน

ความหมาย

[แก้]

มนต์ดังกล่าวมีความหมายโดยแยกศัพท์ดังนี้

  • นามุ (南無 - เสียงอาจกร่อนลงเป็น "นัม") มาจากศัพท์สันสกฤต นมสฺ (อ่านว่า /นะ-มัส/) หมายถึง นอบน้อม
  • เมียว (妙) หมายถึง ความแปลก, ความลึกลับ, ความอัศจรรย์, ความฉลาดเฉียบแหลม
  • โฮ (法) หมายถึง กฎ, หลักการ, แนวคิด ตรงกับคำว่า "ธรฺม" ในภาษาสันสกฤต
    • เมียวโฮ (妙法) หมายถึง ธรรมอันเลิศล้ำแห่งพระพุทธะ[7] ตรงกับคำว่า "สทฺธรฺม" ในภาษาสันสกฤต
  • เร็ง (蓮) หมายถึง บัว
  • เงะ (華) หมายถึง ดอกไม้
    • เร็งเงะ (蓮華) หมายถึงดอกบัว ในที่นี้ได้แก่ดอกบัวขาว หรือบัวบุณฑริก (ปุณฺฑรีก) ซึ่งปรากฏอยู่ในชื่อพระสูตร
  • เคียว (経) หมายถึง พระสูตร หรือ คำสอน

เมื่อเขียนให้อยู่ในรูปภาษาสันสกฤต จะได้ใจความว่า "นโม สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตฺราย" แปลว่า ""ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (พระสูตรว่าด้วยบัวขาวแห่งธรรมอันล้ำเลิศ)"

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. SGDB 2002, Namu เก็บถาวร 2014-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. SGDB 2002, Lotus Sutra of the Wonderful Law เก็บถาวร 2014-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Kenkyusha 1991
  4. Kenkyusha 1991
  5. Anesaki 1916, p.34
  6. SGDB 2002, Nichiren เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Kenkyusha 1991

อ้างอิง

[แก้]
  • Anesaki, Masaharu (1916). Nichiren, the Buddhist prophet. Cambridge: Harvard University Press.
  • Kenkyusha (1991). Kenkyusha's New Japanese-English Dictionary. Tokyo: Kenkyusha Limited. ISBN 4-7674-2015-6.
  • Monguchi-McCormick, Yumi (translator), บ.ก. (2000). Lotus Seeds: The Essence of Nichiren Shu Buddhism. Nichiren Buddhist Temple of San Jose. ISBN 0970592000. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • NEPP (2013). "Most Venerable Nichidatsu Fujii". New England Peace Pagoda. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2013-10-31. The Most Venerable Nichidatsu Fujii, founder of Nipponzan Myohoji <...> became a monk at 19 years of age <...> At age 32, after much ascetic practice, he came to realize the basic practice he would follow to bring about peace: beating a hand-drum an chanting Na Mu Myo Ho Ren Ge Kyo. The Most Ven. Fujii believed his mission was to carry out the prophecies of Maha Bodhisattva Nichiren. This included returning the true spirit and teaching of Buddha to India, which had lost those teachings for more than 1,000 years. During his missionary work in India, he developed deep spiritual ties with Mahatma Gandhi, who named him "Guruji", and actually took up the practice of drumming and chanting.
  • Ryuei, Rev. (1999). "Lotus Sutra Commentaries". Nichiren's Coffeehouse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-30.
  • SGDB (2002). "The Soka Gakkai Dictionary of Buddhism". Soka Gakkai International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-30. สืบค้นเมื่อ 2013-10-30.
  • Watson, Burton (2005). The Record of the Orally Transmitted Teachings (trans.). Soka Gakkai. ISBN 4-412-01286-7.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Causton, Richard: "Buddha in Daily Life, An Introduction to the Buddhism of Nichiren Daishonin", Rider, London 1995; pp. 96–222. ISBN 978-0712674560
  • Montgomery, Daniel B. Fire In The Lotus - The Dynamic Buddhism of Nichiren. Mandala - HarperCollins, 1991. ISBN 1-85274-091-4
  • Odaimoku The Significance Of Chanting Namu Myoho Renge Kyo by Rev. Shoryo Tarabini; lulu.com; ISBN 978-1447736578
  • Stone, Jacqueline, I. "Chanting the August Title of the Lotus Sutra: Daimoku Practices in Classical and Medieval Japan". In: Payne, Richard, K. (ed.); Re-Visioning Kamakura Buddhism, University of Hawaii Press, Honolulu 1998, pp. 116–166. ISBN 0-8248-2078-9