นานา (เทพี)

นานา (กรีกกุษาณ: Νανα, Ναναια, Ναναϸαο; ซอกเดีย: nny) เป็นเทพสตรีศักดิ์สิทธิ์ในคติชนแบกเตรีย เกิดขึ้นจากการประสมความเชื่อระหว่างเทพีอินันนาของชาวซูเมอร์-บาบิโลน กับเทพีอานาฮีตาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ซึ่งเป็นความเชื่อท้องถิ่นของจักรวรรดิกุษาณ
เทพีนานาปรากฏนามครั้งแรกในเหรียญกษาปณ์ของกษัตริย์แบกเตรียเมื่อ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นภาพราชสีห์ สองศตวรรษถัดมาเทพีนานาก็ปรากฏอีกครั้งในเหรียญกษาปณ์และตราประทับของกษัตริย์กุษาณ โดยเฉพาะกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้ากนิษกะ โดยปรากฏภาพเทวีองค์นี้ในลักษณะต่อสู้ โดยมีราชสีห์คุ้มกัน[2] ใกล้เคียงกับเทพีทุรคาในศาสนาฮินดู เพราะเป็นเทพีแห่งสงครามและมีสิงโตคุ้มกันเช่นกัน
พื้นที่จักรวรรดิกุษาณในอดีตครอบคลุมพื้นที่ของชาวอิหร่าน ได้แก่ ซอกเดีย เฟอร์กอนา แบกเตรีย และแอราโคเซีย เรื่อยไปจนถึงคันธาระ และมถุรา ปัจจุบันดินแดนส่วนใหญ่เหล่านี้ขึ้นกับประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศปากีสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน และทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ในประเทศปากีสถานและอัฟกานิสถานมีคำว่า นาวี เป็นคำในภาษาปาทาน แปลว่า เจ้าสาว[2]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
เหรียญกษาปณ์แบกเตรีย (10 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีภาพสิงโตและพระจันทร์เสี้ยว (ด้านหลัง)
-
เหรียญพระเจ้ากนิษกะ (ค.ศ. 100-126) และเทพีนานา (ด้านหลัง)
-
ชามเงินยุคควาแรซึม ปรากฏภาพเทวีมีสี่กร ประทับบนหลังราชสีห์ คาดว่าเป็นเทพีนานา จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์บริติช[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Metropolitan Museum of Art". www.metmuseum.org.
- ↑ 2.0 2.1 Bremmer, Jan N. (2007). The strange world of human sacrifice. p. 176. ISBN 9789042918436. สืบค้นเมื่อ 2013-02-09.
- ↑ British Museum Collection
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Azarpay, Guity. "Nana, the Sumero-Akkadian Goddess of Transoxiana." Journal of the American Oriental Society (1976): 536–542. JSTOR 600086
- Falk, Harry. "Kushan rule granted by Nana: The background of a heavenly legitimation."[ลิงก์เสีย] Kushan Histories: Literary Sources and Selected Papers from a Symposium at Berlin, December 5 to 7, 2013. Hempen Verlag, 2015.