ข้ามไปเนื้อหา

การเล่นแร่แปรธาตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นักเล่นแร่แปรธาตุ)
ภาพ อูโรโบรอส จากตำราเล่นแร่แปรธาตุ รุ่งอรุณที่กำลังขึ้น (ช่วงศตวรรษที่ 15), หอสมุดกลางซือริช, สวิตเซอร์แลนด์
ภาพ นักเล่นแร่แปรธาตุแสวงศิลานักปราชญ์ โดยโจเซฟ ไรต์ ปี 1771

การเล่นแร่แปรธาตุ หรือ รสายนเวท (อังกฤษ: alchemy; อาหรับ: al-kīmiyā)[1] เป็นศาสตร์โบราณแขนงหนึ่งที่ผสมผสานปรัชญาธรรมชาติ ปรัชญา และแนวคิดทางศาสตร์ก่อนวิทยาศาสตร์ (protoscience) เข้าไว้ด้วยกัน มีการปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานในดินแดนจีน อินเดีย โลกมุสลิม และยุโรป[2] หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของการเล่นแร่แปรธาตุในฝั่งตะวันตก พบได้จากงานเขียนปลอมแปลงหลายชิ้นที่แต่งขึ้นในอียิปต์สมัยโรมันช่วงคริสต์ศตวรรษแรก ๆ วัตถุประสงค์ซึ่งนิยามการเล่นแร่แปรธาตุนั้นมีมากมาย แต่มักได้แก่ การสร้างศิลานักปราชญ์ การเปลี่ยนโลหะฐานเป็นโลหะมีสกุล หรือการพัฒนาน้ำอมฤต ซึ่งจะมอบความเยาว์และอายุยืนยาว

นักเล่นแร่แปรธาตุ พยายามที่จะกลั่น บ่มเพาะ และปรับปรุงสสารบางชนิดให้บริสุทธิ์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น[2][3][4][n 1] เป้าหมายร่วมกันของพวกเขาเหล่านี้ ได้แก่ การเปลี่ยนธาตุ (chrysopoeia) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปรธาตุโลหะพื้นฐาน (เช่น ตะกั่ว) ให้กลายเป็นโลหะมีสกุล (โดยเฉพาะทองคำ)[2] การสร้างน้ำอมฤต[2] และการสร้างยาแก้สรรพโรค[5] เชื่อกันว่าการทำให้ร่างกายและวิญญาณของมนุษย์สมบูรณ์แบบนั้น เกิดขึ้นได้จาก มหากิจ (magnum opus) ของการเล่นแร่แปรธาตุ[2] แนวคิดในการสร้างศิลานักปราชญ์ ก็มีความเชื่อมโยงกับโครงการเหล่านี้ทั้งหมดด้วยเช่นกัน

นักเล่นแร่แปรธาตุจากดินแดนอิสลามและยุโรป ร่วมกันพัฒนาพื้นฐานสำคัญของเทคนิคห้องปฏิบัติการ ทฤษฎีและศัพท์เฉพาะบางส่วนยังคงมีการใช้มาจนถึงปัจจุบัน พวกเขายังคงยึดมั่นในแนวคิดปรัชญากรีกโบราณที่ว่าทุกสิ่งประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ นอกจากนี้ พวกเขามักเก็บรักษาความลับในงานของตนเอง โดยใช้รหัสลับและสัญลักษณ์ ในการบันทึก ในยุโรป การแปลตำราวิทยาศาสตร์ยุคกลางของอิสลามเป็นภาษาละตินในศตวรรษที่ 12 และการกลับมาค้นพบปรัชญาของอาริสโตเติล นำไปสู่การเฟื่องฟูของการเล่นแร่แปรธาตุในภาษาละติน[2] ต่อมา ประเพณีการเล่นแร่แปรธาตุในยุคปลายยุคกลางนี้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ยุคเริ่มต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคมี และการแพทย์[6]

การพูดถึงการเล่นแร่แปรธาตุในยุคปัจจุบัน มักแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่ การประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติและความเชื่อทางจิตวิญญาณ แม้ว่านักวิชาการบางท่าน อาทิ เอริค เจ. โฮล์มยาร์ด (Eric J. Holmyard) และ มารี-หลุยส์ ฟ็อน ฟรานซ์ (Marie-Louise von Franz) จะโต้แย้งว่าทั้งสองแนวทางนี้มีความสัมพันธ์กัน[7][8] การประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ศึกษาโดยนักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์กายภาพ โดยมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์กับเคมีวิทยา การแพทย์ และการหลอกลวงในยุคแรก ๆ รวมถึงบริบททางปรัชญา และศาสนา ที่เกี่ยวข้อง ความเชื่อทางจิตวิญญาณ ดึงดูดความสนใจจากนักประวัติศาสตร์ลัทธิความลับ นักจิตวิทยา นักปรัชญาบางกลุ่ม และนักจิตวิญญาณ (spiritualists) นอกจากนี้ แนวคิดเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุยังคงส่งผลต่อ วรรณกรรม (literature) และศิลปะ (arts) ด้วย

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ alchemy มีต้นกำเนิดมาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณ alquemie หรือ alkimie ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้ในภาษาละตินยุคกลางในรูปของคำว่า alchymia คำศัพท์นี้เองก็มาจากคำภาษาอาหรับ al-kīmiyā (الكيمياء) โดย al- ในภาษาอาหรับนั้นทำหน้าที่เป็นคำนามเฉพาะเจาะจง ที่มีความหมายว่า "the"[9] เมื่อรวมความหมายทั้งหมดแล้ว al-kīmiyā สามารถแปลความได้ว่า กระบวนการแปรธาตุ ซึ่งหมายถึงการหลอมรวมหรือกลับคืนสู่สภาวะดั้งเดิมอันศักดิ์สิทธิ์

สำหรับคำว่า al-kīmiyā ในภาษาอาหรับนั้น มีการสันนิษฐานถึงที่มาของคำศัพท์ในภาษากรีกโบราณหลายทฤษฎี โดยความหมายแรกถูกเสนอโดย โซสิมอสแห่งพาโนโปลิส (Zosimos of Panopolis) ในช่วงศตวรรษที่ 3-4 ซึ่งเชื่อว่ามีที่มาจากชื่อหนังสือเล่มหนึ่งคือ Khemeu[10][11] ส่วนเฮอร์มันน์ ดีลส์ (Hermann Diels) เสนอความเห็นในปี 1914 ว่า คำนี้น่าจะมาจากคำว่า "χύμα" (khýma)[12] ซึ่งใช้เรียกวัตถุโลหะที่ได้จากการหล่อโลหะ[13]

อีกทฤษฎีหนึ่งชี้ว่ารากศัพท์มาจากภาษาอียิปต์ kēme (สัญลักษณ์อียิปต์โบราณ 𓆎𓅓𓏏𓊖 - khmi) ซึ่งมีความหมายว่า "ดินดำ" อันหมายถึงดินที่อุดมสมบูรณ์และมีทองคำ อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งตรงกันข้ามกับทรายแดงของทะเลทราย วอลลิส บัดจ์ (Wallis Budge) นักอียิปต์วิทยา กล่าวว่า คำว่า "al-kīmiyaʾ" ในภาษาอาหรับ จริง ๆ แล้วมีความหมายว่า "[วิทยาศาสตร์]แห่งอียิปต์" โดยยืมมาจากคำในภาษาคอปติก ซึ่งใช้เรียกประเทศอียิปต์ว่า kēme (หรือคำที่เทียบเท่าในภาษาถิ่นโบแฮร์ริกคอปติกยุคกลางว่า khēme) โดยคำภาษาคอปติกนี้สืบมาจากภาษาเดโมติกว่า kmt ซึ่งสืบมาจากภาษาอียิปต์โบราณ kmt อีกที คำศัพท์ดั้งเดิมของอียิปต์โบราณนี้มีความหมายครอบคลุมทั้งคำว่า "ประเทศ" และสี "ดำ" (อียิปต์เป็น "ดินแดนดำ" เทียบกับ "ดินแดนแดง" ซึ่งหมายถึงทะเลทรายโดยรอบ)


ดูเพิ่ม

[แก้]

เพิ่มเติม

[แก้]
  1. For a detailed look into the problems of defining alchemy, see Linden 1996, pp. 6–36

อ้างอิง

[แก้]

การอ้างอิง

[แก้]
  1. Liddell, Henry George; Scott, Robert; Jones, Henry Stuart (1940). A Greek-English Lexicon. Oxford: Clarendon Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2019. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021; "alchemy". Oxford Dictionaries | English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2016. สืบค้นเมื่อ 30 September 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Pereira, Michela (2018). "Alchemy". ใน Craig, Edward (บ.ก.). Routledge Encyclopedia of Philosophy. Routledge. doi:10.4324/9780415249126-Q001-1. ISBN 978-0-415-25069-6. Alchemy is the quest for an agent of material perfection, produced through a creative activity (opus), in which humans and nature collaborate. It exists in many cultures (China, India, Islam; in the Western world since Hellenistic times) under different specifications: aiming at the production of gold and/or other perfect substances from baser ones, or of the elixir that prolongs life, or even of life itself. Because of its purpose, the alchemists' quest is always strictly linked to the religious doctrine of redemption current in each civilization where alchemy is practised.
    In the Western world alchemy presented itself at its advent as a sacred art. But when, after a long detour via Byzantium and Islamic culture, it came back again to Europe in the twelfth century, adepts designated themselves philosophers. Since then alchemy has confronted natural philosophy for several centuries.
  3. Malouin, Paul-Jacques (1751). "Alchimie [Alchemy]". Encyclopédie ou Dictionnaire Raisonné des Sciences, des Arts, et des Métiers. Vol. I. แปลโดย Lauren Yoder. Paris. hdl:2027/spo.did2222.0000.057.
  4. Linden 1996, pp. 7 & 11
  5. "Alchemy". Dictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2007. สืบค้นเมื่อ 21 August 2007.
  6. Newman, William R.; Mauskopf, Seymour H.; Eddy, Matthew Daniel (2014). "Chemical Knowledge in the Early Modern World". Osiris. 29: 1–15. doi:10.1086/678110. PMID 26103744. S2CID 29035688. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2022. สืบค้นเมื่อ 23 August 2014.
  7. Holmyard 1957, p. 16
  8. von Franz 1997
  9. "alchemy". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  10. George Syncellus, Chronography, 18–9
  11. On the ancient definitions of alchemy in ancient Greek and Syriac texts see Matteo Martelli. 2014. "The Alchemical Art of Dyeing: The Fourfold Division of Alchemy and the Enochian Tradition", In: Dupré S. (eds) Laboratories of Art, Springer, Cham.
  12. Hermann Diels, Antike Technik, Leipzig: Teubner, 1914, p. 108-109. Read online
  13. "Greek Word Study Tool". perseus.tufts.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2020. สืบค้นเมื่อ 14 February 2020.

แหล่งข้อมูลที่ใช้

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]

บทนำและตำรา

[แก้]

การเล่นแร่แปรธาตุของกรีก-อียิปต์

[แก้]

ตำรา

[แก้]

งานวิจัย

[แก้]
  • Dylan M. Burns, " μίξεώς τινι τέχνῃ κρείττονι : Alchemical Metaphor in the Paraphrase of Shem (NHC VII,1) ", Aries 15 (2015), p. 79–106.
  • Alberto Camplani, " Procedimenti magico-alchemici e discorso filosofico ermetico " in Giuliana Lanata (ed.), Il Tardoantico alle soglie del Duemila, ETS, 2000, p. 73–98.
  • Alberto Camplani and Marco Zambon, " Il sacrificio come problema in alcune correnti filosofice di età imperiale ", Annali di storia dell'esegesi 19 (2002), p. 59–99.
  • Régine Charron and Louis Painchaud, " 'God is a Dyer,' The Background and Significance of a Puzzling Motif in the Coptic Gospel According to Philip (CG II, 3), Le Muséon 114 (2001), p. 41-50.
  • Régine Charron, " The Apocryphon of John (NHC II,1) and the Greco-Egyptian Alchemical Literature ", Vigiliae Christinae 59 (2005), p. 438-456.
  • Philippe Derchain, "L'Atelier des Orfèvres à Dendara et les origines de l'alchimie," Chronique d'Égypte, vol. 65, no 130, 1990, p. 219–242.
  • Korshi Dosoo, " A History of the Theban Magical Library ", Bulletin of the American Society of Papyrologists 53 (2016), p. 251–274.
  • Olivier Dufault, Early Greek Alchemy, Patronage and Innovation in Late Antiquity, California Classical Studies, 2019, Early Greek Alchemy, Patronage and Innovation in Late Antiquity.
  • Sergio Knipe, " Sacrifice and self-transformation in the alchemical writings of Zosimus of Panopolis ", in Christopher Kelly, Richard Flower, Michael Stuart Williams (eds.), Unclassical Traditions. Volume II: Perspectives from East and West in Late Antiquity, Cambridge University Press, 2011, p. 59–69.
  • André-Jean Festugière, La Révélation d'Hermès Trismégiste, Paris, Les Belles Lettres, 2014 ISBN 978-2-251-32674-0, OCLC 897235256.
  • Kyle A. Fraser, " Zosimos of Panopolis and the Book of Enoch: Alchemy as Forbidden Knowledge ", Aries 4.2 (2004), p. 125–147.
  • Kyle A. Fraser, " Baptized in Gnosis: The Spiritual Alchemy of Zosimos of Panopolis ", Dionysius 25 (2007), p. 33–54.
  • Kyle A. Fraser, " Distilling Nature's Secrets: The Sacred Art of Alchemy ", in John Scarborough and Paul Keyser (eds.), Oxford Handbook of Science and Medicine in the Classical World, Oxford University Press, 2018, p. 721–742. 2018. [1].
  • Shannon Grimes, Becoming Gold: Zosimos of Panopolis and the Alchemical Arts in Roman Egypt, Auckland, Rubedo Press, 2018, ISBN 978-0-473-40775-9
  • Paul T. Keyser, " Greco-Roman Alchemy and Coins of Imitation Silver ", American Journal of Numismatics 7–8 (1995–1996), p. 209–234.
  • Paul Keyser, " The Longue Durée of Alchemy ", in John Scarborough and Paul Keyser (eds.), Oxford Handbook of Science and Medicine in the Classical World, Oxford University Press, 2018, p. 409–430.
  • Jean Letrouit, "Chronologie des alchimistes grecs," in Didier Kahn and Sylvain Matton, Alchimie: art, histoire et mythes, SEHA-Archè, 1995, p. 11–93.
  • Lindsay, Jack. The Origins of Alchemy in Greco-Roman Egypt. Barnes & Noble, 1970.
  • Paul Magdalino and Maria Mavroudi (eds.), The Occult Sciences in Byzantium, La Pomme d'or, 2006.
  • Martelli, Matteo (2014). "The Alchemical Art of Dyeing: The Fourfold Division of Alchemy and the Enochian Tradition". Laboratories of Art. Archimedes. Vol. 37. Cham: Springer International Publishing. pp. 1–22. doi:10.1007/978-3-319-05065-2_1. ISBN 978-3-319-05064-5.
  • Matteo Martelli, " Alchemy, Medicine and Religion: Zosimus of Panopolis and the Egyptian Priests ", Religion in the Roman Empire 3.2 (2017), p. 202–220.
  • Merianos, Gerasimos (23 November 2017). "Alchemy". The Cambridge Intellectual History of Byzantium. Cambridge University Press. pp. 234–251. doi:10.1017/9781107300859.015. ISBN 978-1-107-30085-9.
  • Greek Alchemy from Late Antiquity to Early Modernity. De Diversis Artibus. Vol. 104. Turnhout: Brepols Publishers. 2018. doi:10.1484/m.dda-eb.5.116173. ISBN 978-2-503-58191-0.
  • Daniel Stolzenberg, " Unpropitious Tinctures: Alchemy, Astrology & Gnosis According to Zosimos of Panopolis ", Archives internationales d'histoire des sciences 49 (1999), p. 3–31.
  • Cristina Viano, " Byzantine Alchemy, or the Era of Systematization ", in John Scarborough and Paul Keyser (eds.), Oxford Handbook of Science and Medicine in the Classical World, Oxford University Press, 2018, p. 943–964.
  • Vlachou, C.; McDonnell, J.G.; Janaway, R.C. (2002). "Experimental investigation of silvering in late Roman coinage". MRS Proceedings. 712. doi:10.1557/PROC-712-II9.2. ISSN 0272-9172.

ช่วงต้นสมัยใหม่

[แก้]
  • Principe, Lawrence and William Newman. Alchemy Tried in the Fire: Starkey, Boyle, and the Fate of Helmontian Chymistry. University of Chicago Press, 2002.


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]