นอนไวโอเลนซ์ (ประติมากรรม)
นอนไวโอเลนซ์ | |
---|---|
เดอะนอตเท็ดกัน (The Knotted Gun) | |
นอนไวโอเลนซ์ชิ้นดั้งเดิม ตั้งแสดงอยู่ในเมืองมัลเมอ ประเทศสวีเดน | |
ศิลปิน | คาร์ล เฟรดริก รึยเตอชวัด |
ปีที่เสร็จ | 1985 |
ประเภท | ประติมากรรม |
นอนไวโอเลนซ์ (อังกฤษ: Non-Violence) หรือ เดอะนอตเท็ดกัน (อังกฤษ: The Knotted Gun) เป็นประติมากรรมบรอนซ์ ผลงานโดยศิลปินชาวสวีเดน คาร์ล เฟรดริก รึยเตอชวัด แสดงปืนรีวอล์เวอร์ โคลต์ไพธอน .357 แม็กนัม ที่ปากกระบอกปืนถูกมัดเป็นปม
คอฟี อันนันเคยกล่าวถึงงานชิ้นนี้ว่ามัน "เติมเต็มความตระหนักในมนุษยชาติด้วยสัญลักษณ์อันทรงพลังที่ถูกห่อหุ้มไว้ภายใต้[ประติมากรรม]ชิ้นนี้ เพียงเส้นโค้งไม่กี่เส้นนี้คือคำวิงวอนอันยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ที่ว่าไม่ได้ขอให้ได้ชัยชนะ แต่เพื่อสันติภาพ"[1]
ประวัติ
[แก้]คาร์ล เฟรดริก รียเตอชวัด สร้างสรรค์ประติมากรรมนี้ขึ้นหลังจากจอห์น เลนนอนถูกฆาตกรรม[2] สำหรับชิ้นที่ตั้งอยู่ที่หน้าสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติที่นิวยอร์กซิตีเป็นชิ้นงานที่บริจาคให้โดยประเทศลักเซมเบิร์กในปี 1988[3][1]
นับตั้งแต่ปี 1993 ประติมากรรมนี้เป็นสัญลักษณ์ของเดอะนอนไวโอเลนซ์โปรเจ็กต์ (NVPF) องค์กรไม่แสวงผลกำไร
ในปี 2011 ริงโก สตารร์ เปิดตัวประติมากรรมเดียวกันในรูปแบบของตนเองซึ่งมีสีสันสดใส[4]
ในโอกาศครบรอบ 30 ปีของประติมากรรม NVPF ร่วมกับผู้ค้างานศิลปะ ฮันเซินไฟน์อาร์ท (Hansen Fine Art) เปิดตัวประติมากรรมขนาดยาวหนึ่งฟุตจำหน่ายทางออนไลน์[5] สำนักไปรษณีย์สหประชาชาติเคยออกดวงตราไปรษณียากรสามชิ้นเป็นรูปประติมากรรมนี้[6] ในปี 2019 NVPF ร่วมกับดาไลลามะผลิตประติมากรรมจำลองขนาดเล็กจำนวน 150 ชิ้นซึ่งผลิตจากโลหะที่ได้จากการหลอมปืนที่ถูกยึดมา (โลหะฮิวเมเนียม) ในจำนวนนี้มีชิ้นหนึ่งที่ลงนามโดยท่านดาไลลามะและออกประมูลที่ซอเธบีส์[7]
ที่ตั้ง
[แก้]ปัจจุบันมีประติมากรรมจำนวน 31 ชิ้นทั่วโลก ได้แก่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Martin Chilton, Carl Fredrik Reuterswärd, sculptor of knotted revolver peace symbol, dies, Telegraph.co.uk, 4 May 2016
- ↑ "Waymarking.com". สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
- ↑ "Presentation page on the site of the Permanent Mission of Luxembourg to the United nations" (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
- ↑ Adam Sherwin, And then there were four: Ringo picks up his paintbrush, Independent.co.uk, 9 December 2011
- ↑ Anna Harstedt, Celebrating the iconic Knotted Gun sculpture at the United Nations in NYC, 30 years later เก็บถาวร 2019-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Metro.us, 4 October 2018
- ↑ Denise McCarty, U.N.'s new Knotted Gun stamp designs, Linns.com, 25 September 2018
- ↑ Ben Paynter, They’re recreating this classic anti-gun-violence sculpture with metal from melted-down guns, Fastcompany.com, 10 January 2019
- ↑ 8.0 8.1 A blog entry dedicated to the gun with the knot on the barrel, Travelblog.org, 31 July 2011
- ↑ Knotted Gun Sculpture Unveiled in Beirut, Voanews.com, 2 October 2018
- ↑ John Donohoe, The Knotted Gun, symbol of peace, erected in Belfast, Maethchronicle.ie, 16 September 2019
- พ.ศ. 2528
- ผลงานโดยชาวสวีเดน
- จอห์น เลนนอน
- งานสะสมของสหประชาชาติ
- ประติมากรรมต่อต้านสงคราม
- นครนิวยอร์ก
- ประติมากรรมในประเทศฝรั่งเศส
- ประติมากรรมในประเทศจีน
- ประติมากรรมในประเทศเยอรมนี
- ประติมากรรมในประเทศแอฟริกาใต้
- ประติมากรรมในประเทศสวีเดน
- ประติมากรรมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- สิ่งก่อสร้างในมัลเมอ
- สิ่งก่อสร้างในเบรุต
- สิ่งก่อสร้างในเจนไน
- รูปปั้นในประเทศอินเดีย