ข้ามไปเนื้อหา

นรรมทา พจาโอ อางโทลนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนสรทาร สโรวาร

นรรมทา พจาโอ อางโทลนะ (อักษรโรมัน: Narmada Bachao Andolan) เป็นขบวนการทางสังคมในประเทศอินเดีย ที่นำโดยชาวชนเผ่า (อาทิวาสี), เกษตรกร, นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม และ สิทธิมนุษยชน เพื่อต่อต้านโครงการการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากตามแม่น้ำนรรมทา ซึ่งไหลผ่านรัฐคุชราต มัธยประเทศ มหาราษฏระ ของประเทศอินเดีย

เขื่อนสรทาร สโรวาร ในรัฐคุชราต เป็นหนึ่งในเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดบนแม่น้ำนรรมทา และเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของขบวนการในระยะแรก เขื่อนนี้ป็นส่วนหนึ่งของโครงการเขื่อนแม่น้ำนรรมทา (Narmada Dam Project) ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อให้การชลประทานและไฟฟ้าแก่ผู้คนในรัฐต่าง ๆ ที่แม่น้ำไหลผ่าน รูปแบบการรณรงค์ของนรรมทา พจาโอ อางโทลนะ มีทั้งการดำเนินการในชั้นศาล, การอดอาหารประท้วง การเดินขบวน และการรวบรวมการสนับสนุนจากบุคคลมีชื่อเสียงในวงการศิลปะและภาพยนตร์ ขบวนการนี้ ตลอดจนผู้นำคนสำคัญ เมธา ปัฏกร และ บาบา อามเต ได้รับรางวัลไรต์ไลฟลิฮูดในปี 1991[1]

ตามแผนของรัฐบาลอินเดียในปี 1979 มีการวางแผนก่อสร้างเขื่อนตามแม่น้ำนรรมทาขึ้น ประกอบด้วยเขื่อใหญ่ 30 แห่ง, กลาง 135 แห่ง, เล็ก 3000 แห่ง ภายใต้ข้อสันนิษฐานว่าเขื่อนในโครงการจะช่วยผันน้ำให้แก่ประชากรราวสี่สิบล้านคนในพื้นที่ และสร้างกระแสไฟฟ้าสำหรับพื้นที่โดยรอบ[2] ในปี 1985 เมธา ปัฏกร และคณะ เดินทางเยือนเขื่อนสรทาร สโรวาร และพบว่าโครงการถูกพักเพื่อตรวจสอบโดยคำสั่งของกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการป่าไม้ เนื่องจาก “ไม่สามารถเติมเต็มข้อกำหนดทางสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน และขาดการสำรวจแผนที่สำคัญโดยสมบูรณ์”[3] รวมถึงผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนนี้ ไม่เคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ได้รับก็เพียงข้อเสนอในการบรรเทา[4] ตลอดจนไม่เคยมีการสำรวจและปรึกษากับชาวบ้านในพื้นที่ คณะของเมธาได้ทำการค้นคว้าเพิ่มเติมจนท้ายที่สุดได้ข้อสรุปว่าหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบการสร้างเขื่อนไม่ได้ผ่านขบวนการตรวจสอบและประเมินที่เกี่ยวกับผลกระทบหลังการสร้างเขื่อน[5]

นอกจากนรรมทา พจาโอ อางโทลนะ แล้ว ยังมีองค์การที่มีเป้าหมายร่วมกัน ทั้งในแง่ของการชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนอย่างไม่เป็นธรรม ไปจนถึงในแง่ของการต่อต้านการสร้างเขื่อนไปเลย เช่น นรรมทา อสัรครัสตะ สมิติ (Narmada Asargrastha Samiti; નર્મદા અસરગ્રસ્ત સમિતિ) ในรัฐคุชราต, นรรมทา ฆาฏี นวนิรมาณ สมิตี (Narmada Ghati Nav Nirman Samiti; नर्मदा घाटी नवनिर्माण समिती) ในรัฐมัธยประเทศ และ นรรมทา ธรณครัสตะ สมิตี (Narmada Dharangrastha Samiti; नर्मदा धरणग्रस्त समिती) ในรัฐมหาราษฏระ[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Medha Patkar and Baba Amte / Narmada Bachao AndolanThe RightLivelihood Award". www.right livelihoodaward.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  2. Rajagopal, Balakrishnan. The Role of Law in Counter-Hegemonic Globalization and Global Legal Pluralism: Lessons from the Narmada Valley Struggle in India. Leiden Journal of International Law. p. 358.
  3. Fisher, William (1995). Toward Sustainable Development?: Struggling Over India's Narmada River. M. E. Sharpe. pp. 157–158. ISBN 978-1-56324-341-7.
  4. Fisher, William (1995). Towards Sustainable Development?: Struggling Over India's Narmada River. M.E Sharpe. p. 159. ISBN 978-1-56324-341-7.
  5. Fisher, William (1995). Toward Sustainable Development?: Struggling Over India's Narmada River. M. E. Sharpe. pp. 159–160. ISBN 978-1-56324-341-7.
  6. Fisher, William (1995). Toward Sustainable Development?: Struggling Over India's Narmada River. M. E. Sharpe. p. 23. ISBN 978-1-56324-341-7.