ข้ามไปเนื้อหา

นกเอี้ยงคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกเอี้ยงคำ
แผนภูมิแสดงให้เห็นถึงเหนียงของแต่ละชนิดและแผนที่การกระจายพันธุ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Sturnidae
สกุล: Gracula
Linnaeus, 1758
ชนิดต้นแบบ
Gracula religiosa
Linnaeus, 1758[1]
ชนิด
4-5 ชนิด ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
  • Eulabes

นกเอี้ยงคำ หรือ นกขุนทอง[2] (อังกฤษ: Hill mynas) เป็นสกุลของนกเกาะคอนร้องเพลงสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Gracula ในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae)

มีรูปร่างคล้ายกับนกในสกุล Acridotheres หรือนกเอี้ยง แต่ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่า ขนาดลำตัวโดยเฉลี่ย 20-30 เซนติเมตร ขนเป็นสีดำเป็นเงามัน มีลักษณะเด่น คือ มีเหนียง คือ แผ่นหนังสีเหลืองอมส้มคลุมท้ายทอยและอีกส่วนที่ใต้ตา ซึ่งจะแตกต่างไปกันตามแต่ละชนิด จะงอยปากสีแดงส้มและหน้าแข้งเป็นสีเหลืองสด

เป็นนกที่แพร่กระจายพันธุ์ในป่าดิบหรือบนภูเขาตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย จนถึงเอเชียอาคเนย์ทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่าง ๆ

เป็นนกที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่ามีเสียงร้องที่ไพเราะ และสามารถหัดให้เลียนเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงพูดของมนุษย์ได้ จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง และมีการนำไปสู่สหรัฐอเมริกาด้วยในฐานะสัตว์เลี้ยง ในราคาที่สูง แต่ผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียนิยมนำมาทำเป็นแกงเผ็ด ถือเป็นอาหารจานโปรดของท้องถิ่น[2]

จำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 4 หรือ 5 ชนิด ตามลักษณะของเหนียงและขนาดลำตัว ซึ่งแตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งเดิมเคยจัดให้เป็นชนิดย่อยของกันและกัน[2] แต่ปัจจุบันได้รับการยอมรับให้แยกเป็นชนิดต่างหาก ได้แก่

[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Linnaeus, C. 1758: Systema Naturae per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis, Tomus I. Editio decima, reformata. Holmiæ: impensis direct. Laurentii Salvii. i–ii, 1–824 pp
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 นกขุนทอง[ลิงก์เสีย]
  3. Birds of India by Grimmett, Inskipp and Inskipp, ISBN 0-691-04910-6
  4. Feare, Chris; Craig, Adrian (1999). Starlings and Mynas. Princeton University Press. ISBN 0-7136-3961-X.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Gracula ที่วิกิสปีชีส์