ข้ามไปเนื้อหา

นกปรอดหัวโขน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกปรอดหัวโขน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Pycnonotidae
สกุล: Pycnonotus
สปีชีส์: P.  jocosus
ชื่อทวินาม
Pycnonotus jocosus
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย
9 ชนิด (ดูในรายละเอียด)
ชื่อพ้อง
  • Motacilla emeria Linnaeus, 1758
  • Otocompsa emeria

นกปรอดหัวโขน หรือ นกปรอดหัวจุก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นกกรงหัวจุก (อังกฤษ: Red-whiskered bulbul; พายัพ: นกปิ๊ดจะลิว; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pycnonotus jocosus) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae) ซึ่งอยู่ด้วยกันทั้งหมด 109 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบได้ 36 ชนิด

นกปรอดหัวโขนเป็นนกขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ที่มีสีสันสวยงามและเสียงร้องไพเราะ ที่แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัวขนส่วนหัวจะร่วมกัน เป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน อันเป็นที่มาของชื่อ ใต้ท้องมีขนสีขาว พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออก

พบได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ตั้งแต่ยอดเขาสูง ป่าที่ราบต่ำ จนถึงทุ่งหญ้า ชายป่า และเขตที่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์

มีชนิดย่อยทั้งหมด 9 ชนิด ดังนี้[2][3]

นกปรอดหัวโขน เป็นที่นิยมในแง่ที่เป็นสัตว์เลี้ยง ที่เลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องอันไพเราะ และเพื่อการแข่งขันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกเขาชวา (Geopelia striata) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย คือ นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา ซึ่งการเลี้ยงนกชนิดนี้เป็นเหมือนหนึ่งในวัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนที่นั่น นกปรอดหัวโขนหากได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง สามารถมีอายุยืนนานได้ถึง 11 ปี และนกตัวใดที่มีเสียงร้องไพเราะและได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดแข่งขัน อาจมีสนนราคาถึงหลักล้านบาท

ปัจจุบัน นกปรอดหัวโขน เป็นสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่มีความพยายามของผู้ที่นิยมเลี้ยงผลักดันให้เป็นสัตว์ที่เลี้ยงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งประเด็นนี้มีทั้งผู้ที่เห็นและคัดค้าน[4]เนื่องจากจนถึงปัจจุบันนกปรอดหัวโขนที่เลี้ยงไว้เกือบทั้งหมดมาจากการจับจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงอย่างที่อ้างกัน ซึ่งการจับนกจากธรรมชาติเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นกชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2012). "Pycnonotus jocosus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. Ali, S & S D Ripley (1996). Handbook of the birds of India and Pakistan. Vol. 6 (2 ed.). Oxford University Press. pp. 75–80.
  3. Rasmussen PC & JC Anderton (2005). Birds of South Asia: The Ripley Guide. Smithsonian Institution and Lynx Edicions.
  4. ปลดล็อกนกกรงหัวจุก อยู่กรงเพื่อสร้างเงิน เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากผู้จัดการออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]