ข้ามไปเนื้อหา

นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไม่ได้จัดลำดับ: Archosauria
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
อันดับย่อย: Passeri
วงศ์: Nectariniidae
สกุล: Kurochkinegramma
สปีชีส์: K.  hypogrammicum
ชื่อทวินาม
Kurochkinegramma hypogrammicum
(Müller S., 1843)
ชื่อพ้อง[2]
  • Arachnothera hypogrammica Müller S., 1843
  • Arachnothera hypogrammicum Müller S., 1843
  • Hypogramma hypogrammicum Müller S., 1843
ภาพวาดประกอบนกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินตัวผู้ (ขวา) และตัวเมีย (ซ้าย)

นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน (อังกฤษ: purple-naped sunbird หรือ purple-naped spiderhunter[3][4]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Kurochkinegramma hypogrammicum) เป็นนกชนิดเดียวในสกุล Kurochkinegramma ของวงศ์นกกินปลี พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่พม่า ไปจนถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ อยู่ในป่าแถบพื้นที่ราบชุ่มชื้นของบริเวณกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อน

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในพ.ศ. 2554 ได้รับการจัดให้นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินอยู่ในสกุล Arachnothera[5] ต่อมามีการศึกษาในพ.ศ. 2560 ดำเนินการโดยผู้เขียนบางคนในคณะศึกษาก่อนหน้า ซึ่งพบข้อมูลเพิ่มเติมที่ว่า นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินมีตำแหน่งสายวิวัฒนาการที่แยกออกจากชนิดอื่นในสกุล Arachnothera มานานแล้ว (basal)[6] ซึ่งก่อนหน้านี้นกชนิดนี้เคยจัดอยู่ในสกุล Hypogramma (ในชื่อเดิม Hypogramma hypogrammicum) จนกระทั่งพบว่าชื่อสกุลดังกล่าวได้ถูกใช้ไปแล้วในอันดับผีเสื้อ[7][8][9]

ชนิดย่อย

[แก้]

นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินที่มีมากกว่า 5 ชนิดย่อยที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป[10] ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ K. h. lisettae ซึ่งพบครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม และ K. h. nuchale[11]

ลักษณะทางกายวิภาค

[แก้]

แม้ว่านกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินเป็นนกขนาดเล็กมาก (15 เซนติเมตร) แต่มีขนาดใหญ่กว่า[11] และมีจะงอยปากที่จะงอยปากสั้นที่สุดในบรรดานกกินปลีชนิดอื่น ๆ[4] นกตัวผู้และนกตัวเมียมีสีต่างกัน คือ นกตัวผู้ มีหลังและลำตัวด้านบนสีเขียวไพลแกมน้ำตาล (สีเขียวมะกอก) เฉพาะตัวผู้ที่ท้ายทอยและตะโพกมีแถบสีน้ำเงินแกมม่วงเหลือบเป็นมัน ที่สามารถมองเห็นได้ง่ายในความมืดทึบของป่าทึบ[12] ลำตัวด้านล่างเหลืองอ่อนมีลายขีดขนาดใหญ่สีคล้ำคล้ายนกปลีกล้วยลาย แต่ขนาดเล็กและจะงอยปากสั้นกว่าและโค้งเล็กน้อย ส่วนตัวเมียไม่มีสีม่วงน้ำเงินที่ท้ายทอยและตะโพก[13]

ไข่สีเทา มีลายสีม่วงดำ ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย กว้าง 13.2 ยาว 18.0 มิลลิเมตร[11]

พฤติกรรม

[แก้]

การหาอาหาร

[แก้]

เช่นเดียวกับนกกินปลีอื่น ๆ นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินร้องเรียกเสียงดัง แรง และต่อเนื่องเป็นจังหวะขณะที่มันออกหาอาหาร[12] แต่ขณะเกาะคอนมักแผ่และกระดกขนหาง ซึ่งต่างจากนกกินปลีอื่น ๆ ที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว[11]

โดยทั่วไปนกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินกินแมลงเป็นอาหาร ในปริมาณพอ ๆ กับหรือมากกว่ากินน้ำหวานจากดอกไม้[11] บางครั้งพบหากินในฝูงแบบคละชนิด ล่าแมงมุมขนาดเล็กเช่นเดียวกับนกปลีกล้วยทั่วไป มักเกาะในที่รก[4]

การผสมพันธุ์

[แก้]

ผสมพันธุ์ได้เกือบตลอดทั้งปี ระหว่างเดือนธันวาคมของปีหนึ่งถึงเดือนตุลาคมของอีกปีหนึ่ง ทำรังเป็นรูปกระเปาะติดกับใบไม้ สูงจากพื้นดิน 6 เมตร รังมีไข่ 2–3 ฟอง[11]

ถิ่นที่อยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์

[แก้]

นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินอาศัยในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในประเทศจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว ทั้งในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง[11] ป่าโปร่ง และที่ราบชุ่มชื้น ที่มีความสูงไม่เกิน 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล[13] ยังพบในสวนป่าปลูก และสวน[12] ในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่น[14] พบไม่บ่อยและมีประชากรไม่มากนัก พบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้[11] มีรายงานการพบที่ทุ่งนางพญา อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดเพชรบูรณ์ และอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย[13] รวมทั้งในเขตภาคอีสานตอนบนและภาคใต้[12]

นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์

[แก้]

นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย[11] ตั้งแต่ปี 2546 ในประเภทสัตวป่าจําพวกนกลำดับที่ 181[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2012). "Hypogramma hypogrammicum". IUCN Red List of Threatened Species. 2012.
  2. IUCN (2016-10-01). "Arachnothera hypogrammica: BirdLife International: The IUCN Red List of Threatened Species 2016: e.T22717680A94546136" (ภาษาอังกฤษ). doi:10.2305/iucn.uk.2016-3.rlts.t22717680a94546136.en. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. IUCN (2016-10-01). "Arachnothera hypogrammica: BirdLife International: The IUCN Red List of Threatened Species 2016: e.T22717680A94546136" (ภาษาอังกฤษ). doi:10.2305/iucn.uk.2016-3.rlts.t22717680a94546136.en. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน (Purple-naped Spiderhunter; Arachnothera hypogrammica) จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". www.oknation.net.[ลิงก์เสีย]
  5. Moyle, R.G.; Taylor, S.S.; Oliveros, C.H.; Lim, H.C.; Haines, C.L.; Rahman, M.A.; Sheldon, F.H. (2011). "Diversification of an endemic Southeast Asian genus: phylogenetic relationships of the spiderhunters (Nectariniidae: Arachnothera)". The Auk. 128 (4): 777–788. doi:10.1525/auk.2011.11019.
  6. Campillo, L.C.; Oliveros, C.H.; Sheldon, F.H.; Moyle, R.G. (2017). "Genomic data resolve gene tree discordance in spiderhunters (Nectariniidae, Arachnothera)". Molecular Phylogenetics & Evolution. 120: 151–157. doi:10.1016/j.ympev.2017.12.011. PMID 29242166.
  7. Gregory, S.M.S.; Dickinson, E.C. (2012). "An assessment of three little-noticed papers on avian nomenclature by G. N. Kashin during 1978-1982". Zootaxa. 3340: 44–58. doi:10.11646/zootaxa.3340.1.3.
  8. Dickinson, E.C.; Christidis, L. (2014). The Howard & Moore Complete Checklist of the Birds of the World. Vol. 2: Passerines (4th ed.). Eastbourne, UK: Aves Press. p. 268. ISBN 978-0-9568611-2-2.
  9. Gill, Frank; Donsker, David, บ.ก. (2019). "Dippers, leafbirds, flowerpeckers, sunbirds". World Bird List Version 9.1. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  10. "Kurochkinegramma hypogrammicum (Purple-naped Sunbird) - Avibase". avibase.bsc-eoc.org.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8 "นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน - ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี". rspg.svc.ac.th.[ลิงก์เสีย]
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 "นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน - eBird". ebird.org.
  13. 13.0 13.1 13.2 "นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน Purple-naped Sunbird ( Kurochkinegramma hypogrammicum (Müller, 1843) )". www.lowernorthernbird.com.
  14. "นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน Purple-naped Sunbird – ภาพถ่ายนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย".
  15. กฎกระทรวง พ.ศ. 2546.[ลิงก์เสีย]ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอนที่ 74ก วันที่ 1 สิงหาคม 2546.

ลิ้งภายนอก

[แก้]