ธวัชชัย อนามพงษ์
ธวัชชัย อนามพงษ์ | |
---|---|
![]() ธวัชชัย ใน พ.ศ. 2555 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2529–2531, 2550–2561) ประชากรไทย (2531–2535) ชาติพัฒนา (2535–2547) ไทยรักไทย (2547–2548) ชาติไทย (2548–2550) รวมพลังประชาชาติไทย (2561) พลังประชารัฐ (2561–2564) ภูมิใจไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | กณิกา อนามพงษ์ |
ธวัชชัย อนามพงษ์ (เกิด 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี 8 สมัย อดีตประธานคณะกรรมาธิการส่งเสริมราคาผลผลิตเกษตรกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 อดีตประธานสภาจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี
ประวัติ
[แก้]ธวัชชัย อนามพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ที่ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนเทศบาลบ้านป่าแดง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนท่าใหม่ "พูลสวัสดิ์ราษฎร์นุกูล"
ด้านครอบครัว สมรสกับนางกณิกา อนามพงษ์ มีบุตรชายคือ นายแสนคม อนามพงษ์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี เขต 3 พรรคเพื่อไทย
งานการเมือง
[แก้]ธวัชชัย อนามพงษ์ เป็นสมาชิกสภาจัหวัด และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองระดัยชาติ โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535 (มีนาคม) ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย และได้รับเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง แต่ในปี พ.ศ. 2535 (กันยายน) เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เขาย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 รวมถึงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2544 เป็นสมัยที่ 5-6 และเมื่อพรรคชาติพัฒนา ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทยแล้ว เขาจึงอยู่ในสังกัดพรรคไทยรักไทยไปด้วย
ในปี 2548 เขาย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งแต่แพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย คือ นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ
เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่ 7 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงในปี พ.ศ. 2554 และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการส่งเสริมผลผลิตเกษตรกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24
กระทั่ง พ.ศ. 2561 นายธวัชชัยให้สัมภาษณ์ว่าได้ย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์มาสังกัด พรรครวมพลังประชาชาติไทย[1] แต่ในเวลาต่อมาได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ [2][3] เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]
ในปี พ.ศ. 2564 ได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา→พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2545 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อดีตสส.ประชาธิปัตย์ ย้ายค่ายซบ 'รวมพลังประชาชาติไทย'
- ↑ ปชป.แตกแล้ว'ประมวล'ทิ้งประชาธิปัตย์ หันซบภูมิใจไทย
- ↑ “ธวัชชัย” เคือง “มาร์ค” ซบ พปชร.
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอท่าใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดจันทบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคประชากรไทย
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- พรรครวมพลัง
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.