ธยานาจารย์
หน้าตา
ธยานาจารย์ (จีน: 禅师) หมายถึงอาจารย์ผู้สอนภาวนาแบบเซน
ประวัติ
[แก้]จีน
[แก้]สมัยราชวงศ์ถัง พบการใช้คำว่า ฉานชือ (禅师 ธยานาจารย์) เพื่อหมายถึงภิกษุผู้เป็นอาจารย์สอนนิกายฉาน เพื่อให้ต่างจากฝ่าชือ (法師 ธรรมาจารย์) ที่เชี่ยวชาญด้านพระธรรม และลวี่ชือ (律师 วินยาจารย์) ที่เชี่ยวชาญด้านพระวินัย[web 1] ต่อมาคำว่าฉานชือใช้กับพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยทั่วไปแม้จะไม่ได้อยู่นิกายฉาน เช่น พระอาจารย์จื้ออี่ ปรมาจารย์รุ่นที่สี่ของนิกายเทียนไถ
ญี่ปุ่น
[แก้]ในนิกายเซน มีคำเรียกธยานาจารย์แตกต่างกันไปในแต่ละสาย ดังนี้
- ชิเกะ หมายถึง อาจารย์ผู้ฝึกหัดบุคคลที่เตรียมบวชเป็นศาสนาจารย์ในสายรินไซและโซโต[1][2]
- โรชิ หมายถึง พระเถระหรืออาจารย์เซนชาวญี่ปุ่น
- เซ็นเซ หมายถึง อาจารย์
- โอโช หมายถึง พระอุปัชฌาย์หรือเจ้าอาวาส
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ Bodiford 2008, p. 276.
- ↑ Borup 2008, p. 177.
- เว็บไซต์
- ↑ "The Chinese Buddhist Schools: Chan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-05. สืบค้นเมื่อ 2023-05-01.
- บรรณานุกรม
- Bodiford, William M. (2008), Dharma Transmission in Theory and Practice. In: Zen Ritual: Studies of Zen Buddhist Theory in Practice (PDF), Oxford University Press[ลิงก์เสีย]
- Borup, Jørn (2008), Japanese Rinzai Zen Buddhism: Myōshinji, a Living Religion, Brill