ธนเทพ ทิมสุวรรณ
ธนเทพ ทิมสุวรรณ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2533–2542) ไทยรักไทย (2543–2549) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นันทนา ทิมสุวรรณ |
ธนเทพ ทิมสุวรรณ (เกิด 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2507) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเลย เป็นสามีของนันทนา ทิมสุวรรณ
ประวัติ
[แก้]ธนเทพ ทิมสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของสุรัตน์ ทิมสุวรรณ อดีตประธานสภาจังหวัดเลย[1]กับนันทกา ทิมสุวรรณ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ธนเทพ สมรสกับนันทนา ทิมสุวรรณ มีบุตรชายคือ ศรัณย์ ทิมสุวรรณ[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย
การทำงาน
[แก้]ธนเทพ ทิมสุวรรณ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลยครั้งแรกในปี 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ โดยได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก[3] ต่อมาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เขาสนับสนุนให้ภรรยา (นันทนา ทิมสุวรรณ) ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดเลยแทน และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว
ในปี 2549 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเลย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเลย พร้อมกับเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข
ในปี 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 3 สังกัดพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 3[4] และในปี 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ธนเทพ ทิมสุวรรณ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเลย สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเลย สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บ้านใหญ่เมืองเลย "ทิมสุวรรณ" แบ่งเค้ก "เสี่ยปรีชา"
- ↑ เลือกตั้ง66 "เมืองเลย" ดุ "บ้านใหญ่-พรรคใหญ่" รอวันสางแค้น
- ↑ ฮั้วก่อนเกม? 2 ตระกูลเมืองเลย "พวก" เหนือพรรค
- ↑ กกต.รับรองประกาศ ส.ส.เพิ่ม 17 คน ใบแดงหนึ่ง พปช.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเลย
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.