ธงไพรด์
ธงไพรด์ (อังกฤษ: pride flag) คือธงใด ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มหรือส่วนหนึ่งของชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ คำว่าไพรด์ (pride) หรือความภาคภูมิใจในกรณีนี้หมายถึงแนวคิดเรื่องความภาคภูมิใจของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ คำว่า ธงแอลจีบีที (LGBT flag) และธงเควียร์ (queer flag) มักนำใช้แทนกันได้[1]
ธงไพรด์สามารถแสดงออกถึงรสนิยมทางเพศ รสนิยมทางโรแมนติก อัตลักษณ์ของสภาวะเพศ วัฒนธรรมย่อย และความมุ่งประสงค์ระดับภูมิภาคที่หลากหลาย ตลอดจนชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยรวม นอกจากนี้ยังมีธงไพรด์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะ เช่น ธงสำหรับวัฒนธรรมย่อยเครื่องหนัง ธงสีรุ้งซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนของชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งหมด เป็นธงไพรด์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
ตัวอย่างที่โดดเด่น
[แก้]ธงสีรุ้ง
[แก้]กิลเบิร์ต เบเกอร์ออกแบบธงไพรด์สีรุ้งสำหรับงานเฉลิมวันเสรีภาพเกย์แห่งซานฟรานซิสโก ในปี พ.ศ. 2521[2] ธงนี้ได้รับการออกแบบเพื่อเป็น "สัญลักษณ์แห่งความหวัง" และการหลุดพ้น และใช้เป็นทางเลือกแทนสัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีชมพู[3] ธงไม่ได้แสดงสีของรุ้งกินน้ำจริง สีของธงแสดงในรูปแถบแนวนอนโดยมีสีแดงอยู่ด้านบนและสีม่วงอยู่ด้านล่าง แสดงถึงความหลากหลายของเกย์และเลสเบียนทั่วโลก ในรูปแบบ 8 สีดั้งเดิม สีชมพูมีความหมายถึงเพศวิถี สีแดงมีความหมายถึงชีวิต สีส้มมีความหมายถึงการเยียวยา สีเหลืองมีความหมายถึงดวงอาทิตย์ สีเขียวมีความหมายถึงธรรมชาติ สีเทอร์ควอยซ์มีความหมายถึงศิลปะ สีครามมีความหมายถึงความสามัคคี และสีม่วงมีความหมายถึงจิตวิญญาณ[4] สำเนาของธง 8 สีต้นฉบับขนาด 20 x 30 ฟุตทำขึ้นโดยเบเกอร์ในปี พ.ศ. 2543 และติดตั้งในเขตคาสโทรในซานฟรานซิสโก ธงสีรุ้งมีหลายรูปแบบ รวมถึงแบบที่รวมสัญลักษณ์กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ เช่น สามเหลี่ยมหรือแลมบ์ดา[5]
เอโรแมนติก
[แก้]ธงไพรด์ของเอโรแมนติกประกอบด้วยแถบแนวนอน 5 แถบ ได้แก่ (จากบนลงล่าง) สีเขียว สีเขียวอ่อน สีขาว สีเทา และสีดำ ธงนี้สร้างโดยคาเมรอน วิมซี (ชื่อผู้ใช้ทัมเบลอร์ cameronwhimsy[6] ) ในปี พ.ศ. 25557[7] แถบสีเขียวและสีเขียวอ่อนแสดงถึงเอโรแมนติกและเอโร-สเปกตรัม แถบสีขาวแสดงถึงความสำคัญและความมีเหตุผลของรูปแบบความรักที่ไม่ใช่ความโรแมนติก ซึ่งรวมถึงมิตรภาพ รักบริสุทธิ์และแรงดึงดูดแบบสุนทรียภาพ ความสัมพันธ์แบบเควียร์พลาโตนิก และครอบครัว แถบสีดำและสีเทาแสดงถึงสเปกตรัมของเพศวิถี ซึ่งมีตั้งแต่ เอโร-เอซ (เอโรแมนติกเอเซ็กชวล) ไปจนถึงเอโรแมนติกอัลโลเซ็กชวล[6][7]
เอเซ็กชวล
[แก้]ธงไพรด์ของเอเซ็กชวล ประกอบด้วยแถบแนวนอน 4 สี ได้แก่สีดำ สีเทา สีขาว และสีม่วงจากบนลงล่าง[8][9] ธงนี้สร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้ของเอเซ็กชวลวิซิบิลิตีแอนด์เอดูเคชันเน็ตเวิร์ก ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของชุมชนในการสร้างและเลือกธง[10][11] แถบสีดำมีความหมายถึงเอเซ็กชวล แถบสีเทามีความหมายถึงเกรย์เอเซ็กชวลและเดมิเซ็กชวล แถบสีขาวมีความหมายถึงพันธมิตร และแถบสีม่วงมีความหมายถึงชุมชน[12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sobel, Ariel (June 13, 2018). "The Complete Guide to Queer Pride Flags". The Advocate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
- ↑ "Original 1978 rainbow flag designed by Gilbert Baker acquired by San Francisco's GLBT Historical Society". The Art Newspaper - International art news and events. 2021-06-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-07. สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
- ↑ "Rainbow Flag: Origin Story". Gilbert Baker Foundation. 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2018.
- ↑ "Symbols of Pride of the LGBTQ Community". Carleton College. April 26, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2012. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
- ↑ Riffenburg, Charles Edward IV (2004). "Symbols of the Gay, Lesbian, Bisexual, and Transgender Movements". Queer Resources Directory. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019.
- ↑ 6.0 6.1 Gillespie, Claire. "22 Different Pride Flags and What They Represent in the LGBTQ+ Community". Health.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2020. สืบค้นเมื่อ 19 July 2020.
- ↑ 7.0 7.1 "Queer Community Flags". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2023. สืบค้นเมื่อ March 11, 2023.
- ↑ Bilić, Bojan; Kajinić, Sanja (2016). Intersectionality and LGBT Activist Politics: Multiple Others in Croatia and Serbia. Springer. pp. 95–96.
- ↑ Decker, Julie. The Invisible Orientation: An Introduction to Asexuality. Skyhorse.
- ↑ "The Asexuality Flag". Asexuality Archive. 20 February 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2021. สืบค้นเมื่อ 26 September 2021.
- ↑ The Ace and Aro Advocacy Project (2023). Ace and Aro Journeys. Jessica Kingsley Publishers. pp. 44–45.
- ↑ Petronzio, Matt (June 13, 2014). "A Storied Glossary of Iconic LGBT Flags and Symbols (Gallery)". Mashable. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
- ↑ Sobel, Ariel (June 13, 2018). "The Complete Guide to Queer Pride Flags". The Advocate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2018. สืบค้นเมื่อ 28 June 2018.