ธงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
การใช้ | ธงพลเรือน และ ธงเรือพลเรือน |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | พ.ศ. 2465 |
ลักษณะ | ธงแถบแนวนอนสามแถบ สีน้ำเงิน-สีขาว-สีแดง |
การใช้ | ธงราชการ และ ธงเรือราชการ |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | พ.ศ. 2465 |
ลักษณะ | ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ ตรงกลางธงมีตรามหาจลัญจกรณ์ใหญ่ |
การใช้ | ธงกองทัพ และ ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | พ.ศ. 2465 |
ลักษณะ | ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ มีตราอาร์มน้อยของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย |
ธงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย เป็นธงแถบตามยาว สีนำเงิน, สีขาว, และสีแดง[1] ธงชาติ และ ธงพาณิชย์ เป็นธงสามสีพื้นสีอุดมการณ์ร่วมสลาฟ (Pan-Slavic colours) ธงสามสีพื้นสีอุดมการณ์ร่วมสลาฟ ประกาศใช้ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อปี พ.ศ. 2391
ธงราชการของรัฐ มีตราแผ่นดินอย่างใหญ่ของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย บนธงสามสี ธงนี้ใช้สำหรับหน่วยงานราชการ สำนักงานรัฐบาล และเรือของรัฐ [1]
ธงราชการกองทัพ(ธงราชนาวี) ของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ใช้ตราอาร์มน้อยบนธงชาติ โดยขนาดของตราอาร์มน้อยอย่างย่อเป็นดังนี้: ความกว้างหนึ่งในสามของความยาวทั้งหมด โดยตราอาร์มนี้อยู่ภายใต้มงกุฎแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ความกว้างของอาร์มและมงกุฎ (ไม่รวมลูกโลกและกางเขน) มีขนาดหนึ่งส่วนครึ่งของความยาวด้านกว้าทั้งหมด[2][3]
ธงชาติแห่งราชอาณาจักรนี้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2455 จนกระทั่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวียถูกผนวกโดยฝ่ายอักษะ ในปี พ.ศ. 2484 หลังจากความผันผวนของรัฐบาลในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ธงสามสีของยูโกสลาเวียผืนนี้ยังคงสถานะธงชาติยูโกสลาเวียแม้เปลี่ยนผ่านรัฐบาลในช่วงเวลานั้น และ จนถึงฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อ พ.ศ. 2488 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการปาร์ติซานชาวเซิร์บ ได้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติของตน
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน สถาปนาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม, พ.ศ. 2461 และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2472 ธงผืนนี้ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2465[4] ธงสามสีของยูโกสลาเวีย (ใช้เป็นครั้งแรก) ธงผืนนี้ได้รับอิทธิพลจากพื้นสีอุดมการณ์ร่วมสลาฟ ประกาศใช้ครั้งแรกในการประชุมที่กรุงปราก เมื่อปี พ.ศ. 2391 ธงแถบตามยาว สีนำเงิน สีขาว และสีแดง ใช้เป็นธงชาติ ธงเรือราษฎร์ และธงเรือรัฐบาล ระหว่าง พ.ศ. 2461 - 2486 ในสมัย (ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย) ซึ่งใช้ธงแบบเดียวกัน[1] ส่วนธงราชนาวีเกียรติยศ ใช้ตราแผ่นดินอย่างเต็มที่อยู่มาทางด้านคันธง[2][5]
ธงอื่นๆ
[แก้]-
ธงประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
-
ธงหมายยศจอมพล
-
ธงหมายยศพลเอก
-
ธงหมายยศพลโท
-
ธงหมายยศพลตรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-21.
- ↑ 2.0 2.1 "กฎหมายว่าด้วยธงเรือแห่งชาติของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย พ.ศ. 2465". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-22. สืบค้นเมื่อ 2011-06-11.
- ↑ "ธงเรือแห่งชาติของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย พ.ศ. 2480". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2011-06-11.
- ↑ Službene Novine Kraljevine Srba, Hrvata i Slovenaca, broj 89/1922, 28. 02. 1922.
- ↑ "ธงเรือแห่งชาติของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-06-11.
- ↑ Volker Preuß. "Präsidentenstandarte der Königreich Jugoslawien" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2005-02-15.
ดูเพิ่ม
[แก้]- ตราแผ่นดินของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
- ธงในประเทศยูโกสลาเวีย
- ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
- ธงชาติเซอร์เบียและมอนเตเนโกร
- ธงชาติมอนเตเนโกร
- ธงชาติเซอร์เบีย
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ธงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ที่ Flags of the World (อังกฤษ)