ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานหมู่เกาะโคโคส (คีลิง)

พิกัด: 12°11′19″S 096°49′50″E / 12.18861°S 96.83056°E / -12.18861; 96.83056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Cocos (Keeling) Islands Airport

Lapangan Terbang Pulu Kokos
มุมมองทางอากาศในทิศของทางวิ่งหมายเลข 33
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานบริษัทโทลล์ รีโมท โลจิสติคส์
ที่ตั้งเวสต์ไอแลนด์, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง)
เหนือระดับน้ำทะเล10 ฟุต / 3 เมตร
พิกัด12°11′19″S 096°49′50″E / 12.18861°S 96.83056°E / -12.18861; 96.83056
เว็บไซต์cocosislandairport.com.au
แผนที่
CCKตั้งอยู่ในหมู่เกาะโคโคส (คีลิง)
CCK
CCK
CCKตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
CCK
CCK
CCKตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย
CCK
CCK
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
15/33 2,441 ยางมะตอย
สถิติ (2010/11[a 1])
ผู้โดยสาร15,712
ความเคลื่อนไหวของอากาศยาน303
แหล่งที่มา: แผนภูมิเอกสารแถลงข่าวการบิน (AIP) และสนามบินออสเตรเลีย[1]
ผู้โดยสารและความเคลื่อนไหวของอากาศยานจากสำนักเศรษฐศาสตร์การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง (BITRE)[2]
แอร์บัส เอ320 ของเวอร์จินออสเตรเลียเรจินัลแอร์ไลน์ บนทางขับที่ท่าอากาศยานหมู่เกาะโคโคส (คีลิง) (2017)

ท่าอากาศยานหมู่เกาะโคโคส (คีลิง) (อังกฤษ: Cocos (Keeling) Islands Airport, มลายูโคโคส: Lapangan Terbang Pulu Koko (Keeling) ), (IATA: CCKICAO: YPCC) เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการหมู่เกาะโคโคส (คีลิง) ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศออสเตรเลียที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ท่าอากาศยานตั้งอยู่บนเวสต์ไอแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะเซาท์คีลิงและเป็นเมืองหลวงของดินแดน

ประวัติ

[แก้]
บี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ ของสหราชอาณาจักรขึ้นบินเพื่อปฏิบัติการโจมตีสนามบินของญี่ปุ่นในสุมาตรา

ท่าอากาศยานแห่งนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อสนับสนุนเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามกับญี่ปุ่น มีการสร้างทางวิ่งสองเส้นโดยฝูงบินทิ้งระเบิดสามฝูงบินได้ย้ายมายังหมู่เกาะโคโคส เพื่อโจมตีเป้าหมายญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเพื่อให้การสนับสนุนระหว่างการรุกกลับมาลายาและยึดสิงคโปร์คืนตามแผน เครื่องบินลำแรกที่มาถึงคือ ซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ เอ็มเค 8 (Supermarine Spitfire Mk VIII) ของฝูงบินที่ 136 ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร[3] เครื่องบินเหล่านี้รวมถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ (B-24 Liberator) จากฝูงบินที่ 321 (เนเธอร์แลนด์) ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (สมาชิกกองกำลังดัตช์ที่ลี้ภัยซึ่งประจำการอยู่กับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร) ได้ประจำการอยู่บนหมู่เกาะนี้ด้วย

ช่วงก่อนปี ค.ศ. 1970 เครื่องบินของเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ (South African Airways) ซึ่งทำการบินระหว่างโจฮันเนสเบิร์กและเพิร์ทลงจอดระหว่างทางเพื่อเติมน้ำมันที่ท่าอากาศยานแห่งนี้

สมุดปกขาวด้านการป้องกันประเทศออสเตรเลียประจำปี ค.ศ. 2016 ระบุว่าท่าอากาศยานจะได้รับการปรับปรุงเพื่อรองรับเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลโบอิง พี-8 โพไซดอน (P-8 Poseidon) ของกองทัพอากาศออสเตรเลีย[4] แม้ว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากก็ตาม การปรับปรุงก็มีกำหนดเริ่มในช่วงต้นปี ค.ศ. 2023 และจะแล้วเสร็จภายในปี 2026 มีการวางแผนว่าท่าอากาศยานจะทำหน้าที่เป็นฐานปฏิบัติการหน้าในภูมิภาคสำหรับเครื่องบินลาดตระเวนและเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย[5][6]

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]

ท่าอากาศยานมีทางวิ่ง 1 เส้น กำหนดหมายเลขเป็น 15/33 โดยพื้นผิวปูด้วยยางมะตอยมีขนาด 2,441 เมตร × 45 เมตร (8,009 ฟุต × 148 ฟุต) และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 3 เมตร (10 ฟุต)[1]

สายการบินและจุดหมายปลายทาง

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
เวอร์จินออสเตรเลียเรจินัลแอร์ไลน์  เกาะคริสต์มาส, เพิร์ท

สถิติ

[แก้]

ท่าอากาศยานหมู่เกาะโคโคสให้บริการผู้โดยสาร 14,896 รายในปีงบประมาณ 2017–2018[a 1][2]

สถิติผู้โดยสารและอากาศยานประจำปีของท่าอากาศยานหมู่เกาะโคโคส[2]
ปี[a 1] การขนส่งผู้โดยสาร ความเคลื่อนไหวของอากาศยาน
2001–02
4,740
218
2002–03
4,328
212
2003–04
4,976
218
2004–05
5,631
226
2005–06
5,632
224
2006–07
6,501
232
2007–08
6,510
320
2008–09
5,611
238
2009–10
9,129
302
2010–11
15,712
303
2011–12
7,957
277
2012–13
14,478
454
2013–14
8,664
398
2014–15
11,323
360
2015–16
17,659
308
2016–17
16,387
345
2017–18
14,896
260

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ปีงบประมาณระหว่าง 1 กรกฎาคม – 30 มิถุนายน

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 YPCC – Cocos (Keeling) Island (PDF). เอกสารแถลงข่าวการบิน (AIP) En Route Supplement จาก Airservices Australia, มีผล 13 มิถุนายน 2024, "Aeronautical Chart" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 เมษายน 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Airport Traffic Data 1985–86 to 2010–11". Bureau of Infrastructure, Transport and Regional Economics (BITRE). พฤษภาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2012. หมายถึง "การดำเนินการขนส่งสาธารณะปกติ (RPT) เท่านั้น"
  3. Fail, J.E.H. "FORWARD STRATEGIC AIR BASE COCOS ISLAND". rquirk.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2013.
  4. "2016 Defence White Paper (para. 4.66)" (PDF). defence.gov.au. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016.
  5. "$384m cost blowout on ADF plan to upgrade airstrip, boost military presence on Cocos (Keeling) Islands". ABC. 15 มกราคม 2023. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2023.
  6. Layton, Peter (29 มิถุนายน 2023). "Australian Defence's Forgotten Indian Ocean Territories". Griffith Asia Insights. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2023.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • McGrath, Tony (2019). In Tropical Skies: A History of Aviation to Christmas Island and Cocos (Keeling) Islands. Carlisle, WA: Hesperian Press. ISBN 978-0-85905-756-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]