ท่อส่งน้ำมันฮับชาน–ฟุญัยเราะฮ์
ท่อส่งน้ำมันดิบอาบูดาบี Abu Dhabi Crude Oil Pipeline خط أنابيب النفط الخام في أبوظبي | |
---|---|
ท่อส่งฮับชาน–ฟุญัยเราะฮ์ (ขวา) และท่อส่งน้ำมันดิบตะวันออก–ตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย (ซ้าย) | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
จังหวัด | รัฐอาบูดาบี, รัฐฟุญัยเราะฮ์ |
ทิศทางหลัก | เหนือ–ใต้ |
จุดเริ่มต้น | ฮับชาน |
ผ่าน | ซะวัยฮาน |
จุดสิ้นสุด | เมืองฟุญัยเราะฮ์ |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | น้ำมัน |
เจ้าของ | บมจ. จัดการลงทุนมุบาดะละฮ์ (شركة مبادلة للاستثمار) |
ผู้รับจ้าง | บริษัทไชน่าปิโตรเลียมเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่นคอร์ปอเรชั่น (中国石油工程建设有限公司) ผู้รับเหมาช่วง: บริษัทเทคโนเอ็นจิเนียริงเซอร์วิส (ٹیکنو انجینئرنگ سروسز پرائیویٹ لمیٹڈ) |
เริ่มก่อสร้าง | 2008 |
ประจำการ | 2012 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ความยาว | 360 กิโลเมตร (220 ไมล์) |
อัตราการส่งจ่ายสูงสุด | 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน (~7.5×10 ตัน/ปี) |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 48 นิ้ว (1,219 มิลลิเมตร) |
จำนวนสถานีสูบจ่าย | 3 |
สถานีสูบจ่าย | ฮับชาน, ซะวัยฮาน, ฟุญัยเราะฮ์ |
ท่อส่งน้ำมันฮับชาน–ฟุญัยเราะฮ์ (อังกฤษ: Habshan–Fujairah oil pipeline; อาหรับ: خط أنابيب نفط حبشان الفجيرة) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "ท่อส่งน้ำมันดิบอาบูดาบี (Abu Dhabi Crude Oil Pipeline, ADCOP)" เป็นท่อส่งน้ำมันในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยเริ่มต้นจากแหล่งน้ำมันบนบกฮับชานในรัฐอาบูดาบีต่อไปยังปลายทางที่เมืองฟุญัยเราะฮ์ริมอ่าวโอมาน
ประวัติ
[แก้]บริษัทอินเตอร์เนชันแนลปิโตรเลียมอินเวสต์เมนต์ (International Petroleum Investment ปัจจุบันคือ บริษัทจัดการลงทุนมุบาดะละฮ์) เป็นผู้ดำเนินโครงการท่อส่งน้ำมันเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจัดหาและลดการขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซ บริษัทที่ปรึกษาเทโบดิน (Tebodin B.V.) ดำเนินการแนวคิดในการออกแบบโครงการเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2549 และทำสัญญาก่อสร้างในปี พ.ศ. 2550 โดยบริษัทไชน่าปิโตรเลียมเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่นคอร์ปอเรชั่น (China Petroleum Engineering and Construction Corporation, 中国石油工程建设有限公司) และบริษัทไชน่าปิโตรเลียมไปป์ไลน์บูโร (China Petroleum Pipeline Bureau, 中国石油管道局工程有限公司) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างด้วยสัญญาออกแบบ จัดหา และก่อสร้าง[1][2][3][4] ซึ่งทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไชน่าเนชั่นแนลปิโตรเลียมคอร์ปอเรชั่น (China National Petroleum Corporation, 中国石油天然气集团有限公司) การก่อสร้างท่อส่งน้ำมันเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551[1] แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[2] อย่างไรก็ตาม การเปิดดำเนินการถูกเลื่อนออกไปหลายครั้ง[5] โดยเริ่มปฏิบัติการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555[6] ท่อส่งน้ำมันเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยส่งจ่ายน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันมัรบานบาบ (Murban Bab oil field, حقل مربان باب النفطي) ให้กับโรงกลั่นน้ำมันปาก-อาหรับ (Pak-Arab Refinery, پاک عرب ریفائنری) เป็นครั้งแรก[7]
คำอธิบายทางเทคนิค
[แก้]ท่อส่งน้ำมันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48 นิ้ว (1,200 มิลลิเมตร) มีความยาว 360 กิโลเมตร (220 ไมล์) โดยเป็นส่วนนอกชายฝั่ง 14 กิโลเมตร (8.7 ไมล์) ท่อส่งน้ำมันจะทอดยาวไปทางตะวันออกของเมืองอาบูดาบี ผ่านเมืองซะวัยฮาน (سُوَيْحَان) และทางตะวันตกของเมืองอัลอีน (ٱلْعَيْن)[8] ท่อส่งน้ำมันนี้มีอัตราการส่งจ่าย 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (~7.5x107 ตัน/ปี) โครงการมีมูลค่าประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ท่อส่งน้ำมันนี้ดำเนินการส่งน้ำมันไปยังโรงกลั่นน้ำมันในเมืองฟุญัยเราะฮ์ รวมถึงไปยังท่าส่งออกน้ำมันฟุญัยเราะฮ์อีกด้วย[8][9]
ผู้รับเหมาโครงการ
[แก้]แนวความคิดการออกแบบของท่อส่งดำเนินการโดยบริษัทที่ปรึกษาและวิศวกรรมเทโบดิน (Tebodin Consultants & Engineers) ในขณะที่การออกแบบวิศวกรรมเบื้องต้นดำเนินการโดยบริษัทวอเล่ย์พาร์สันส์ (Worley Parsons) และบริษัทเพนสเพน (Penspen) ดำเนินการออกแบบรายละเอียดและวิศวกรรม รวมถึงความช่วยเหลือในการจัดการโครงการและการก่อสร้าง การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดำเนินการโดยบริษัทยูอาร์เอสคอร์ปอเรชั่น (URS Corporation) การสำรวจภูมิประเทศดำเนินการโดยบริษัทแม็ปส์จีโอซิสเต็ม (Maps Geosystems) และการสำรวจธรณีเทคนิคดำเนินการโดยบริษัทฟูโกรมิดเดิลอีสต์ (Fugro Middle East FZE) และบริษัทศูนย์การศึกษาวิศวกรรมอาหรับ (Arab Centre for Engineering Studies)[2] บริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษาไอแอลเอฟ (ILF Consulting Engineers) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาการจัดการโครงการ และสัญญาออกแบบ จัดหา และก่อสร้าง (EPC) ดำเนินการโดยบริษัทไชน่าปิโตรเลียมเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่นคอร์ปอเรชั่น (China Petroleum Engineering and Construction Corporation)[1][2][3][4] และบริษัทฟานออร์ด (Van Oord) ติดตั้งท่อส่งน้ำมันนอกชายฝั่งความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์)[4]
ถังเก็บน้ำมันที่ท่าขนส่งฟุญัยเราะฮ์สร้างโดยบริษัทเบลเลลีเอ็นเนอร์จี (Belleli Energy CPE) ของอิตาลี[10] ระบบท่าเทียบเรือจัดทำโดยบริษัทบลูวอเตอร์เอ็นเนอร์จีเซอร์วิส (Bluewater Energy Services B.V.)[4] ระบบไฟฟ้าส่วนควบของท่อส่งได้รับการออกแบบและจัดหาโดยบริษัทเอบีบี (ABB)[10] บริษัทซีเมนส์ (Siemens) ร่วมกับบริษัททรีดับเบิลยูเน็ตเวิร์ค (3W Networks) ออกแบบและดำเนินการด้านวิศวกรรม จัดหา และก่อสร้างระบบควบคุมและความปลอดภัยแบบบูรณาการ รวมถึงขอบเขตด้านงานโทรคมนาคม[11] ท่อส่งจัดหาโดยบริษัทซูมิโตโม (Sumitomo), บริษัทซัลทซ์กิทเทอร์ (Salzgitter AG) และบริษัทจินดาล ซอว์ (Jindal SAW)[12] การรับรองทางเทคนิค ความเสี่ยงและความปลอดภัย การจัดการทรัพย์สิน และการตรวจสอบทางอุตสาหกรรมดำเนินการโดยบริษัทแกร์มานิชเชอร์ ลอยด์ (Germanischer Lloyd SE)[13] หลังจากการทดสอบระบบแล้วบริษัทซีเมนส์ (Siemens) จะให้บริการบำรุงรักษาสำหรับระบบอัตโนมัติ ระบบควบคุม และโทรคมนาคม[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Construction begins on Habshan-Fujairah pipeline". Emirates News Agency. Zawya. 19 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2010.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Construction complete on Habshan – Fujairah oil pipeline". Pipeline International. มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Mohan Kumar, Himendra (8 มิถุนายน 2008). "Fujairah poised to become oil export hub". Gulf News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2010.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Abu Dhabi Crude Oil (Habshan-Fujairah) Pipeline Project, United Arab Emirates". Hydrocarbons Technology. Net Resources International. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012.
- ↑ Cochrane, Paul (3 มีนาคม 2012). "Cashing in on conflict". Executive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2012.
- ↑ Shehab Al Makahle (21 มิถุนายน 2012). "Habshan-Fujairah pipeline starts pumping crude oil". Gulf News. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2012.
- ↑ Osgood, Patrick (15 กรกฎาคม 2012). "Abu Dhabi – Fujairah crude pipeline inaugurated". Arabian Oil & Gas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012.
- ↑ 8.0 8.1 Nadim Kawach (8 กรกฎาคม 2008). "Habshan oil pipeline to finish ahead of schedule". Emirates Business 24/7. Zawya. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2010.
- ↑ Nadim Kawach (24 กันยายน 2008). "Ipic Fujairah pipeline to ensure reliable exports". Emirates Business 24/7. Zawya. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2010.
- ↑ 10.0 10.1 "ABB bags UAE pipe work". Upstream Online. NHST Media Group. 4 พฤศจิกายน 2009. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2010.
- ↑ "3W Networks wins telecom scope of Abu Dhabi Crude Oil Pipeline (ADCOP) Project" (Press release). 3W Networks. 8 ตุลาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012.
- ↑ "Sumitomo, Salzgitter, Jindal win UAE pipeline deal". Reuters. 2 มกราคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2008.
- ↑ "GL pipes up in Abu Dhabi". Upstream Online. NHST Media Group. 27 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2010.
- ↑ "Siemens signs maintenance contract for Habshan-Fujairah oil pipeline automation system". AME Info. 11 พฤศจิกายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012.