ทุรคิอานามนเทียร
ทุรเคียนามนเทียร | |
---|---|
ทุรเคียนามนเทียร อมฤตสระ | |
ศาสนา | |
เขต | อำเภออมฤตสระ |
เทพ | พระแม่ทุรคา |
เทศกาล | ทุสเสหระ, ชัยมาศตมี, นามนวมี และ ทีปาวลี |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | อมฤตสระ |
รัฐ | รัฐปัญจาบ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 31°38′N 74°52′E / 31.64°N 74.86°E |
สถาปัตยกรรม | |
เสร็จสมบูรณ์ | สร้างในปี 1921 |
ทุรเคียนามนเทียร (อังกฤษ: Durgiana Temple) หรือ ลักษมีนารายัณมนเทียร (Lakshmi Narayan Temple), ทุรคาตีรถะ (Durga Tirath) และ สีตลามนเทียร (Sitla Mandir) เป็นโบสถ์พราหมณ์ในเมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย[1] ถึงแม้จะเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู แต่สถาปัตยกรรมของมนเทียรนี้กลับสร้างด้วยสถาปัตยกรรมซิกข์เลียนแบบหริมันทิรสาหิบ ศาสนสถานสูงสุดของศาสนาซิกข์ ซึ่งตั้งอยู่ในอมฤตสระเช่นกัน[2] ชื่อของมนเทียรมาจากพระนามของพระทุรคา เทพองค์ประธานของมนเทียร[3] มนเทียรแห่งนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 16[4] สิ่งก่อสร้างหลังปัจจุบันของมนเทียรนั้นสร้างขึ้นโดยคุรุหรไส มัล กาปูร์ (Guru Harsai Mal Kapoor) ในปี 1921 โดยให้ใช้สถาปัตยกรรมเลียนแบบหริมันทิรสาหิบของศาสนาซิกข์[1][5]
ที่ตั้ง
[แก้]มนเทียรตั้งอยู่ใกล้กับประตูโลหะครห์ อมฤตสระ ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟปัญจาบ มาก ประมาณ 15 กิโลเมตรจากท่ารถโดยสารประจำทาง
ในรัศมี 200 เมตรรอบมนเทียรนี้และรอบหริมันทิรสาหิบ ได้ประกาศเป็นพื้นที่ห้ามจำหน่ายบุหรี่ สุรา และเนื้อสัตว์[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Discover Punjab. Parminder Singh Grover. pp. 28–29. GGKEY:LDGC4W6XWEX.
- ↑ "Durgiana Temple (Lakshmi Narain Temple)". National Informatics center.
- ↑ Gajrani 2004, p. 220.
- ↑ https://archive.org/details/SriAmritsarYatra/page/n23
- ↑ Bansal 2005, p. 178.
- ↑ Aggarwal 1992, p. 111.