ข้ามไปเนื้อหา

ที่ราบโนบิ

พิกัด: 35°15′00″N 136°49′59″E / 35.25°N 136.833°E / 35.25; 136.833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ภูมิประเทศที่ราบโนบิ

ที่ราบโนบิ (ญี่ปุ่น: 濃尾平野โรมาจิNōbi Heiya) เป็นที่ราบขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น คลอบคลุมพื้นที่ทอดยาวตั้งแต่พื้นที่แคว้นมิโนะทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดกิฟุไปจนถึงพื้นที่แคว้นโอวาริทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดไอจิ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1,800 ตารางกิโลเมตร (695 ตารางไมล์)[1] โดยที่ราบโนบุเป็นที่ราบตะกอนน้ำพาที่เกิดจากแม่น้ำ 3 สาย (แม่น้ำอิบิ คิโซะ และนางาระ) ส่งผลให้พื้นดินบริเวณนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก พื้นที่ทางทิศตะวันตกติดกับเทือกเขาอิบูกิและเทือกเขาโยโร และจรดเทือกเขาโอวาริทางตะวันออก ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาเรียวฮากุ และตอนใต้สิ้นสุดที่อ่าวอิเซะ

ภูมิศาสตร์

[แก้]
วิวทิวทัศน์ของที่ราบโนบิจากเขาอิเกดะ
ทิวทัศน์ของที่ราบโนบิและนครนาโงยะ

พื้นที่ปลายน้ำของที่ราบโนบิตั้งอยู่ในจังหวัดไอจิ โดยบริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งบางครั้งระดับของพื้นดินจะลดต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของระดับน้ำจากพายุ พื้นบริเวณนี้จึงมักจะได้รับความเสียหายจากน้ําหลายต่อหลายครั้ง ปัจจุบันเมืองหลัก ๆ อย่างสึชิมะและนาโงยะในจังหวัดไอจิจึงถูกสร้างขึ้นในบริเวณที่ราบสูงระดับต่ำ เพื่อป้องกันความเสียหายจากนระดับน้ำที่ไม่แน่นอนอีกด้วย

รอยเลื่อนเนโอดานิที่พาดผ่านตอนกลางของที่ราบโนบิเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวมิโน–โอวาริใน ค.ศ. 1891 ซึ่งเป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในแผ่นดินหลักของญี่ปุ่น และอีกครั้งหนึ่งที่ที่ราบแห่งนี้ยังได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวเท็นโช ค.ศ. 1586 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 8,000 คนอีกด้วย[2]

เมืองสำคัญ

[แก้]
จังหวัดไอจิ
นาโงยะ, อิจิโนมิยะ, คาซูงาอิ, โคมากิ, อินูยามะ, โคนัง, อิวากูระ, อินาซาวะ, สึชิมะ
จังหวัดกิฟุ
กิฟุ, โองากิ, คากามิงาฮาระ, ฮาชิมะ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Topography and Geology of the Nobi Plain. Soki Yamamoto (Rissho University). Accessed November 23, 2007.
  2. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS), Significant Earthquake Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5TD9V7K

35°15′00″N 136°49′59″E / 35.25°N 136.833°E / 35.25; 136.833