ข้ามไปเนื้อหา

ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายกิจการความมั่นคงแห่งชาติ
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เจค ซัลลิแวน
ตั้งแต่ 09 เมษายน 2018
สำนักประธานาธิบดีสหรัฐ
สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
รายงานต่อประธานาธิบดีสหรัฐ
ผู้แต่งตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
ตราสารจัดตั้งรายงานประธานาธิบดีด้านความมั่นคงแห่งชาติ
สถาปนา1953
คนแรกโรเบิร์ต คัทเลอร์
รองรองที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
เว็บไซต์The White House

ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายกิจการความมั่นคงแห่งชาติ (อังกฤษ: Assistant to the President for National Security Affairs, ย่อ APNSA) หรือ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (อังกฤษ: National Security Advisor, ย่อ NSA) [1][2] ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสหรัฐฯในเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีและไม่จำเป็นต้องได้รับการรับรองจากวุฒิสภา[3] แต่การแต่งตั้งนายพลระดับพลโทหรือพลเอกให้ดำรงตำแหน่งต้องผ่านมติจากวุฒิสภา[4]

ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ มีส่วนร่วมในการประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSC) และมักจะเป็นประธานการประชุมของคณะกรรมการหลักของสภาความมั่นคงแห่งชาติร่วมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (การประชุมที่ประธานาธิบดีไม่ได้เข้าร่วม) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานการวิจัยและการบรรยายให้กับที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อทบทวนและนำเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือต่อประธานาธิบดีโดยตรง

บทบาทและหน้าที่

[แก้]

อิทธิพลและบทบาทของที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ แตกต่างกันไปตั้งแต่การบริหารงานจนถึงคุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่ยังอยู่ในรูปแบบและปรัชญาการบริหารของประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ด้วย[5] ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติทำหน้าที่เป็นนายหน้าที่ซื่อสัตย์ในการเลือกนโยบายสำหรับประธานาธิบดีในด้านของความมั่นคงของชาติ แทนที่จะเป็นผู้สนับสนุนนโยบายของตนเอง[6]

อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเป็นตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในสำนักบริหารของประธานาธิบดีและไม่มีอำนาจทางสายบังคับบัญชาหรืองบประมาณเหนือกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ หรือกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ซึ่งแตกต่างจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซึ่ง วุฒิสภาสหรัฐ ได้ลงมติยินยอมและเห็นชอบให้มีอำนาจตามกฎหมายในหน่วยงานของตน[7] แต่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสามารถให้คำแนะนำด้านสถานการณ์รายวัน (เนื่องจากความใกล้ชิดกับประธานาธิบดี) ต่อประธานาธิบดีโดยไม่ขึ้นกับผลประโยชน์ของหน่วยงานใดหรือบุคคลใด[5]

ในยามวิกฤตการณ์ หรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสามารถดำเนินงานได้จากจากห้องสถานการณ์ทำเนียบขาว หรือศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินของประธานาธิบดี (เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544[8]), ซึ่งได้แก้ไขระเบียบตามคำสั่งประธานาธิบดี หลังจากเผชิญเหตุวิกฤตการณ์ในช่วงล่าสุด

ผู้ดำรงตำแหน่ง จอห์น อาร์ โบลตัน อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ตามการแต่งตั้งของประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ สืบต่อจาก พลโท เอช อาร์ แม็คมาสเทอร์

ตั้งแต่วันที่ 09 เมษายน 2561 ซึ่งดำรงตำแหน่งคนที่ 27 และ คนปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]
ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประชุมในห้องทำงานรูปไข่ กับทีมสภาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับปฏิบัติการโล่ทะเลทราย ค.ศ.1991

สภาความมั่นคงแห่งชาติ ถูกสร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นสงครามเย็นภายใต้รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ พ. ศ. 2490 เพื่อประสานงานด้านงานกลาโหม,การต่างประเทศ,นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและหน่วยสืบราชการลับ นี่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปครั้งใหญ่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐและสำนักข่าวกรองกลาง[9][10] ตัวรัฐบัญญัติไม่ได้สร้างตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติโดยตัวของมันเอง แต่มันก็สร้างตำแหน่งเลขานุการบริหารเพื่อดูแลและรับผิดชอบเจ้าหน้าที่ขึ้นมา ในปี พ. ศ. 2492 สภาความมั่นคงแห่งชาติได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานบริหารของประธานาธิบดี[9]

โรเบิร์ต คัทเลอร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเป็นคนแรกในปี พ. ศ. 2496 ระบบดังกล่าวยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปนับตั้งแต่นั้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ที่เข้มแข็งแต่มีความสำคัญน้อยลง ความต่อเนื่องเหล่านี้ยังคงมีอยู่แม้จะมีแนวโน้มที่ประธานาธิบดีคนใหม่จะแต่งตั้งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติและเจ้าหน้าที่อาวุโสของสภาความมั่นคงแห่งชาติใหม่ก็ตามที[9]

ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ,เฮนรี คิสซินเจอร์ ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทการควบคุมการไหลเวียนของข้อมูลให้กับประธานาธิบดี และประชุมเขาหลายครั้งต่อวัน คิสซิงเจอร์ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติและรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ในเวลาเดียวกันนับจากวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2516 จนถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2518[9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The National Security Advisor and Staff: p. 1.
  2. Abbreviated NSA, or sometimes APNSA or ANSA in order to avoid confusion with the abbreviation of the National Security Agency.
  3. The National Security Advisor and Staff: p. 29.
  4. "McMaster will need Senate confirmation to serve as national security adviser" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-01. สืบค้นเมื่อ 2017-03-12.
  5. 5.0 5.1 The National Security Advisor and Staff: pp. 17-21.
  6. The National Security Advisor and Staff: pp. 10-14.
  7. See 22 U.S.C. § 2651 for the Secretary of State and 10 U.S.C. § 113 for the Secretary of Defense.
  8. Clarke, Richard A. (2004). Against All Enemies. New York: Free Press. p. 18. ISBN 0-7432-6024-4.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 George, Robert Z; Harvey Rishikof (2011). The National Security Enterprise: Navigating the Labyrinth. Georgetown University Press. p. 32.
  10. 10.0 10.1 Schmitz, David F. (2011). Brent Scowcroft: Internationalism and Post-Vietnam War American Foreign Policy. Rowman & Littlefield. pp. 2–3.