ข้ามไปเนื้อหา

ทิลลี สมิท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิลลี สมิท
เกิดค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537)
สัญชาติบริติช
การศึกษาDanes Hill School, Stowe School
มีชื่อเสียงจากช่วยชีวิตนักท่องเที่ยวจากหาดไม้ขาว ประเทศไทย ประมาณ 100 คน จากคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547
รางวัลThomas Gray Special Award, Minor planet 20002 Tillysmith named in her honor, "Child of the Year" by Mon Quotidien

ทิลลี สมิท (อังกฤษ: Tilly Smith; เกิด ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537)) เป็นหญิงชาวอังกฤษที่ได้รับการกล่าวถึงในการแจ้งเตือนผู้คนบนหาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ซึ่งช่วยเหลือคนนับร้อยให้รอดพ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ได้[1][2] โดยในขณะนั้นเธอมีอายุเพียง 10 ปีเท่านั้น ทั้งนี้เธอเรียนเรื่องคลื่นสึนามิในวิชาภูมิศาสตร์ในชั้นเรียน

ชีวิตและเหตุการณ์

[แก้]

ทิลลีเรียนเกี่ยวกับสึนามิในบทเรียนภูมิศาสตร์[3][4]ในสองสัปดาห์ก่อนเหตุการณ์ดังกล่าวจากแอนดรูว์ เคิร์นนีย์ ครูผู้สอนเธอที่โรงเรียนเดนส์ฮิลล์[5] ในเมืองอ็อกซ์ช็อตต์ มณฑลเซอร์รีย์ สหราชอาณาจักร[6][7] ระหว่างเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เธอและครอบครัวท่องเที่ยวอยู่บนหาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต เธอรู้สึกว่าน้ำทะเลลดจากเส้นขอบชายทะเลและฟองอากาศบนพื้นผิวทะเล จากนั้นเธอเตือนผู้ปกครองซึ่งต่อมาไปเตือนผู้อื่นบนชายหาดและเจ้าหน้าที่โรงแรมที่พักอาศัยอยู่ในเวลานั้นอีกทอดหนึ่ง[8] จากนั้นมีการอพยพผู้คนออกจากหาดก่อนที่คลื่นยักษ์มาถึง ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่หาดที่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์[9][10]

ครอบครัวของทิลลีปฏิเสธให้สัมภาษณ์แก่สื่อใด ๆ แต่ทิลลีปรากฏตัวที่สหประชาชาติในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) โดยเธอได้เข้าพบบิล คลินตัน ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติเพื่อการบรรเทาทุกข์จากสึนามิ[1][11][12] และในการครบรอบหนึ่งปีการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในภูเก็ต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์การให้ความสำคัญกับการศึกษา

การศึกษา

[แก้]

ทิลลีศึกษาที่โรงเรียนเดนส์ฮิลล์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในหมู่บ้านในอ็อกซ์ช็อตต์ จากนั้นเธอไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสโตว์ที่เป็นโรงเรียนเอกชนแบบพักประจำในเมืองสโตว์ มณฑลบักกิงแฮมเชอร์

รางวัลและการเชิดชูเกียรติ

[แก้]

ในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ทิลลีได้รับรางวัลพิเศษทอมัส เกรย์แห่ง Marine Society & Sea Cadets จากพลเรือโทเจมส์ เบอร์เนลล์-นิวเจนต์ Second Sea Lord[5][7]

ต่อมามีการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย 20002 Tillysmith เพื่อเป็นเกียรติประวัติ[13]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ทิลลีได้รับการยกย่องเป็นเด็กแห่งปีจากนิตยสารฝรั่งเศส Mon Quotidien (เป็นนิตยสารที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้อ่านเยาว์วัย)[1][8] ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม มีการจัดพิธีรำลึกเหตุการณ์สึนามิครบรอบ 1 ปีที่เขาหลัก จังหวัดพังงา ทิลลีได้รับเกียรติในการอ่านบทกวีรำลึกต่อหน้าผู้คนเรือนหมื่นในพิธีดังกล่าว[14]

"It wasn't devastation or death that won the day. It was humanity that triumphed, the shining victory of generosity, courage, love."

— ทิลลี สมิท กล่าวในพิธีรำลึกครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สึนามิทะเลอันดามัน[15]

เรื่องราวของทิลลีได้รับการถ่ายทอดเป็นบทเรียนในเรื่องแผ่นดินไหว สึนามิ และการเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว[1][8][14][16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Rothery, David (2015). Volcanoes, Earthquakes and Tsunamis: A Complete Introduction: Teach Yourself. Hachette UK. ISBN 9781473601727. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  2. "Schoolgirl 'angel' returns with poem". The Irish Times. 27 December 2005. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  3. de Blij, Harm (2012). Why Geography Matters: More Than Ever. Oxford University Press. ISBN 9780199977253. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  4. Shaw, Rajib; Takeuchi, Yukiko; Qi, Ru Gwee; Shiwaku, Koichi (2011). "Disaster Education: An Introduction". ใน Shaw, Rajib; Shiwaku, Koichi; Takeuchi, Yukiko (บ.ก.). Disaster Education. Emerald Group Publishing. p. 1. ISBN 9780857247384. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  5. 5.0 5.1 "Award for tsunami warning pupil" BBC News 9 September 2005, retrieved 19 March 2008
  6. "Girl, 10, used geography lessons to save lives"[ลิงก์เสีย] Daily Telegraph 1 January 2005 retrieved 16 December 2005
  7. 7.0 7.1 Diacu, Florin (2010). Megadisasters: The Science of Predicting the Next Catastrophe. Princeton University Press. pp. 18-20. ISBN 9780691133508. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018. Tilly Smith tsunami Diacu.
  8. 8.0 8.1 8.2 Dengler, Lori (23 March 2016). "Tilly Smith, Kamome and having 'the talk' with your children". Times Standard. Eureka, California. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  9. Hornig, Jessica (22 January 2009). "From Fear to Survival: Knowledge Is Key". ABC News. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  10. Eden, Jessica (27 February 2018). "Shaky Ground: Tilly Smith, Child Hero". KHSU Diverse Public Radio. Arcata, California. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  11. "UN / TSUNAMI TILLY SMITH". UN Audiovisual Library. 3 November 2005. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  12. "British schoolgirl hero meets President Clinton: "All children should know what a tsunami is... and how to react," says Tilly Smith". UNISDR United Nations Office for Disaster Risk Reduction. 3 November 2005. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  13. "JPL Small-Body Database Browser".
  14. 14.0 14.1 Malaspina, Ann (2007). Tsunamis. The Rosen Publishing Group, Inc. pp. 39-40. ISBN 9781404209787. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018. Tilly Smith tsunami.
  15. Michael, Keller (2017). More Living Thai Ways. Bangkok: Booksmango. p. 12. ISBN 9786167270975. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. Larson, Kirsten (2015). Tsunamis. Carson-Dellosa Publishing. pp. 24–25. ISBN 9781634306195. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.

แหล่งที่มา

[แก้]
  • "Tsunami lifesaver visits UN". (5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)). New Straits Times, p. 27.
  • ภาพยนตร์: Lessons save lives

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]