ข้ามไปเนื้อหา

ทาบิดาจิ โนะ ฮิ นิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ทาบิดาจิ โนะ ฮิ นิ"
เพลงประสานเสียง
ภาษาญี่ปุ่น
เผยแพร่1991
แนวเพลงเพลงประสานเสียง
ผู้ประพันธ์เพลงโคจิมะ โนโบรุ
ผู้ประพันธ์ดนตรีซากาโมโตะ ฮิโรมิ

ทาบิดาจิ โนะ ฮิ นิ (ญี่ปุ่น: 旅立ちの日にโรมาจิTabidachi no Hi ni; ณ วันแห่งการออกเดินทาง) เป็นเพลงประสานเสียงที่ถูกแต่งขึ้นใน ค.ศ. 1991 โดยครูโรงเรียนมัธยมต้นคาเกะโมริเทศบาลชิจิบุ ในจังหวัดไซตามะ[1] เนื้อเพลงถูกแต่งโดยอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น โคจิมะ โนโบรุ ส่วนเพลงนั้นถูกประพันธ์ขึ้นโดยครูดนตรี ซากาโมโตะ ฮิโรมิ (ปัจจุบัน ทากาฮาชิ ฮิโรมิ) และเรียบเรียงโดย มัตสึอิ ทากาโอะ พร้อมกับนักแต่งเพลงอีกหลายคน[หมายเหตุ 1] ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา เพลงนี้ถูกรู้จักในฐานะเพลงประกอบพิธีสำเร็จการศึกษา[2] และถูกร้องในหลากหลายคีย์ เช่น ซีเมเจอร์ เพิ่มเติมจาก บีแฟลตเมเจอร์ ซึ่งใช้ในเพลงต้นฉบับ รวมทั้งยังมีอีกหลายฉบับ เช่น ฉบับผสานเสียง 3 ส่วน, ฉบับผสานเสียง 4 ส่วน, ฉบับเสียงร้องหญิง 3 ส่วน และฉบับเสียงเดี่ยว 2 ส่วน

ภาพรวม

[แก้]

จนกระทั่งเกิดเป็นเพลง

[แก้]

อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมต้นคาเกะโมริ โคจิมะ โนโบรุ ต้องการแก้ไขความไม่เป็นระเบียบภายในโรงเรียนและเพื่อทำให้โรงเรียนกลายเป็น "โรงเรียนที่กึกก้องด้วยเสียงเพลง" จึงเพิ่มการร้องเพลงประสานเสียงเข้าไปในโรงเรียน ในช่วงแรก ก็มีนักเรียนคัดค้านบ้างแต่ก็คลี่คลายลงในเวลาต่อมา

ในช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 เป็นเวลา 3 ปีให้หลังจากนโยบาย "โรงเรียนที่กึกก้องด้วยเสียงเพลง" ซากาโมโตะได้กล่าวว่า "แก่เหล่านักเรียนที่ใกล้สำเร็จการศึกษาทั้งหลาย ฉันจะทิ้งสิ่งหนึ่งไว้ให้ สิ่งที่จะเป็นความทรงจำ เป็นหนึ่งเดียวในโลกใบนี้" และขอให้โคจิมะเขียนเนื้อเพลงให้[3] แต่โคจิมะก็ได้ปฏิเสธคำขอโดยให้เหตุผลว่า "ผมไม่มีเซนส์อะไรพวกนั้นหรอก" แต่ในวันถัดมาก็มีเนื้อเพลงวางไว้บนโต๊ะของซากาโมโตะแล้ว ในจดหมายที่เธอส่งถึงรายการวิทยุได้เขียนไว้ว่า "เมื่อได้อ่านเนื้อเพลงนั้น ความหมายของมันทำให้รู้สึกตื้นตันใจสุด ๆ เลย" ต่อมาในเวลาว่างหลังจากการสอน เธอก็มักจะขังตัวเองในห้องสอนดนตรีและใช้เวลานั้นในการประพันธ์เพลง[4]

เพลงที่แต่งเสร็จแล้วถูกร้องเป็นครั้งแรกโดยคณาจารย์ใน "งานเลี้ยงส่งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3" แบบไม่ได้มีการบอกกล่าวล่วงหน้า และนี่เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่โคจิมะได้ขึ้นไปร้องเพลงในปีนั้น เนื่องจากเขาจะเกษียณตัวเองหลังจากการสั่งสอนมา 41 ปี เริ่มแรก เหตุการณ์นี้จะเป็นการร้องแสดงเพียงครั้งเดียวและเป็นครั้งสุดท้าย แต่ในปีถัดมา นักเรียนก็นำเพลงนี้ขึ้นมาร้องอีกครั้ง

โคจิมะ ผู้แต่งเนื้อร้อง เสียชีวิตลงในวันที่ 20 มกราคม 2011 ด้วยวัย 80 ปี[5] ทางจังหวัดไซตามะได้มอบรางวัล "รางวัลความสำเร็จพิเศษไซโนกุนิ" ร่วมกับซากาโมโตะ (ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ตั้งแต่สถาปนารางวัลนี้ขึ้น)[6]

กลายเป็นเพลงพิธีสำเร็จการศึกษาอันคลาสสิก

[แก้]

สักพักหนึ่งหลังจากเพลงถูกแต่งเสร็จ มันถูกใช้เพียงที่โรงเรียนมัธยมต้นคาเกะโมริเท่านั้น แต่ต่อมามันก็ค่อย ๆ ถูกร้องในโรงเรียนประถมและมัธยมต้นรอบ ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่นานก็มีนักประพันธ์เพลง มัตสึอิ ทากาโอะ ที่เป็นครูสอนดนตรีของโรงเรียนมัธยมต้นแห่งหนึ่งในโตเกียว ได้มารู้จักเพลงนี้เข้าและปรับเพลงนี้ให้เป็นเพลงประสานเสียงแบบผสม 3 ส่วน หลังจากนั้นเพลงนี้ก็ไปปรากฏในนิตยสาร "เคียวอิกุ องคากุ" (ดนตรีเพื่อการศึกษา) ของบริษัทองคากุโนะโทโมชะ[7] จนกระทั่งในปี 1998 พบว่ามีการร้องเพลงนี้ในโรงเรียนไปทั้งทั่วประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้น ในเดือนมีนาคม 2004 มันได้ไปปรากฏใน "Joho Live EZ!TV" และในปี 2007 มันถูกใช้เป็นเพลงโฆษณาของ NTT East Japan โดยมีสแมปเป็นผู้แสดง มันเป็นเพลงพิธีสำเร็จการศึกษาที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด นำทั้ง "อาเกบะ ทากาชิ", "ซุดาจิ โนะ อูตะ" และ "โอกูรุ โคโตบะ"[3][8]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. กลุ่มคายกคณะนี้ประกอบด้วยนักแต่งเพลงประสานเสียงหลายคน เพลงที่โด่งดัง เช่น My ballad เป็นต้น โดยทางคณะมิได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับโรงเรียนมัธยมต้นคาเกะโมริแต่อย่างใด

อ้างอิง

[แก้]
  1. "平成23年2月定例会 一般質問 質疑質問・答弁全文 (浅野目義英議員)". 埼玉県議会. 22 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2014. สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
  2. "「仰げば尊し」は歌わない "卒業ソング"今どきの人気番付". 日刊ゲンダイDIGITAL. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  3. 3.0 3.1 "心に音楽のシャワー 埼玉県立秩父養護学校 高橋浩美さん". 朝日新聞. 2007-05-28. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  4. 勇気を翼に込めて 特集インタビュー、S・A・I、2012年3月、埼玉県社会福祉協議会
  5. "『旅立ちの日に』の作詞者 小嶋登氏が死去". 日本経済新聞 電子版. 日本経済新聞社. 22 January 2011. สืบค้นเมื่อ 15 September 2017.
  6. "『旅立ちの日に』の作詞者・作曲者に彩の国特別功労賞 〜11/14(月)の県民の日記念式典で贈呈〜". 県政ニュース. 埼玉県. 1 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2012. สืบค้นเมื่อ 2 December 2011.
  7. "特集インタビュー 勇気を翼に込めて ありがとうの気持ちを伝えたくて…" (PDF). 『S・A・I』2012年3月号. 埼玉県社会福祉協議会. สืบค้นเมื่อ 15 September 2019.
  8. "卒業式の歌といえば?『仰げば尊し』を『旅立ちの日に』が上回る". ORICON. 3 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2015.