ทางรถไฟเกือกม้า (รัฐเพนซิลเวเนีย)
ทางรถไฟเกือกม้า | |
ภาพถ่ายทางอากาศ ของทางรถไฟโค้งเกือกม้า รถไฟจะวิ่งเวียนทวนเข็มนาฬิการอบโค้ง ศูนย์นักท่องเที่ยวและอุทธยานเพื่อการสังเกตจะตั้งที่ปลางโค้งด้านใน และสระเก็บน้ำจะตั้งในหุบเขาซึ่งล้อมด้วยทางรถไฟ | |
ที่ตั้ง | โลแกนทาวน์ชิพ แบลร์คัลที เพนซิลวาเนีย |
---|---|
นครใกล้สุด | อัลทูนา รัฐเพนซิลวาเนีย |
พิกัด | 40°29′51.5″N 78°29′3″W / 40.497639°N 78.48417°W |
สร้างเมื่อ | 1851–1854 |
สร้างโดย | Pennsylvania Railroad |
สถาปนิก | John Edgar Thomson |
เลขอ้างอิง NRHP | 66000647[1] |
วันสำคัญ | |
ขึ้นทะเบียน NRHP | 13 พฤศจิกายน 1966 |
ทะเบียน NHL | 13 พฤศจิกายน 1966 |
ทางรถไฟเกือกม้า คือรางรถไฟรูปเกือกม้า 3 รางบนทางรถไฟสายพิทส์เบิร์กของการรถไฟนอร์ฟอล์กใต้ในโลแกนทาวน์ชิพ, แบลร์คัลที, เพนซิลวาเนีย ทางโค้งนี้ยาว2,375-ฟุต (724-เมตร) และมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว1,300 ฟุต (400 เมตร) สร้างเสร็จในปี 1854 โดยการรถไฟเพนซิลวาเนีย เป็นทางเพื่อใต่ระดับตามไหล่เทือกเขาเอลเลกเฮนี ภายหลังเส้นทางนี้ถูกแทนที่โดย ทางรถไฟสายเอลเลกเฮนี พอร์เทก เพื่อลดเวลาในการเดินทางลง ซึ่งเป็นอีกทางข้ามภูเขาสำหรับรถไฟขนาดใหญ่
ทางรถไฟสายนี้มีความสำคัญตั้งแต่เปิดทำการ และในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรถไฟสายนี้เป็นเป้าหมายของนาซีเยอรมันในปฏิบัติการพาสโทเรียสเมื่อปี 1942 ภายหลังทางรถไฟนี้เปลี่ยนผู้ถือครองและใช้งานโดยบริษัทขนส่งเพนน์ฌว็นทรัล, คอนเรล และนอนฟอล์กใต้ ทางรถไฟสายเกือกม้านี้ถูกเพิ่มใน ทะเบียนสถานที่ประวัติศาสตร์แห่งชาติ และถูกกำหนดให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติในปี 1966 และกลายเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านวิศวกรรมโยธาแห่งชาติในปี 2004
ทางรถไฟสายเกือกม้าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมาอย่างยาวนาน และมีการจัดตั้งสวนสาธารณะเพื่อการสำรวจข้างทางรถไฟเสร็จสิ้นในปี 187 ในช่วงก่อนทศวรรศ 1990 สวนสาธารณะถูกปรับปรุงและมีการก่อสร้างศูนย์นักท่องเที่ยวขึ้น โดยมีพิพิธภัณฑ์การรถไฟในเมืองอัลทูนาเป็นผู้จัดการ และมีการจัดแสดงสิ่งที่เกี่ยวข้องในทางโค้งดังกล่าวด้วย
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "Horsheshoe Curve". NPSGallery. National Park Service. สืบค้นเมื่อ July 10, 2020.
อ้างอิง
[แก้]- Borkowski, Richard C. Jr. (2008). Norfolk Southern Railway. Minneapolis: Voyageur Press. ISBN 978-0-7603-3249-8.
- Brown, Jeff L. (January 2015). "Around the Bend: Horseshoe Curve". Civil Engineering. American Society of Civil Engineers: 42–45. ISSN 0885-7024. สืบค้นเมื่อ February 26, 2015.
- Cohen, Gary (February 2002). "The Keystone Kommandos". The Atlantic Monthly. 289 (2): 46–59. ISSN 1072-7825.
- Greenwood, Richard (August 9, 1975). "Horseshoe Curve" (PDF). National Register of Historic Places—Nomination Form. National Park Service. สืบค้นเมื่อ January 30, 2012.
- Seidel, David W. (2008). Horseshoe Curve. Images of Rail. Charleston, South Carolina: Arcadia Publishing. ISBN 978-0-7385-5707-6.
- Staufer, Alvin F.; Pennypacker, Bert (1962). Pennsy Power: Steam and Electric Locomotives of the Pennsylvania Railroad, 1900-1957. Research by Martin Flattley. Carollton, Ohio: Alvin F. Staufer. ISBN 978-0-9445-1304-0.