ข้ามไปเนื้อหา

ทางด่วนโฮกูริกุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฮกูริกุ Expressway sign
ทางด่วนโฮกูริกุ
E8 北陸自動車道
แผนที่
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว476.5 กิโลเมตร[2] (296.1 ไมล์)
ประวัติ
มีขึ้นเมื่อค.ศ. 1972[1]–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
จากชุมทางต่างระดับนีงาตะชูโอ ในนีงาตะ จ.นีงาตะ
ทางด่วนบังเอ็ตสึ
ทางด่วนนิฮงไกโทโฮกุ
ถึงชุมทางต่างระดับไมบาระ ในไมบาระ จ.ชิงะ
ทางด่วนเมชิง
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศญี่ปุ่น
เมืองสำคัญนางาโอกะ, โจเอ็ตสึ, อูโอซุ, โทยามะ, คานาซาวะ, โคมัตสึ, ฟูกูอิ, ซาบาเอะ, เอจิเซ็ง, สึรูงะ, นางาฮามะ
ระบบทางหลวง
ทางด่วนในประเทศญี่ปุ่น
ทางหลวงแผ่นดินในประเทศญี่ปุ่น

ทางด่วนโฮกูริกุ (ญี่ปุ่น: 北陸自動車道โรมาจิHokuriku Jidōsha-dō) หรือชื่อย่อ โฮกูริกุโด (ญี่ปุ่น: 北陸道โรมาจิHokurikudō) เป็นทางด่วนแห่งชาติขนาด 4 ช่องจราจรในประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าของและบำรุงรักษาโดยบริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออกและบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลาง

ภาพรวม

[แก้]

ทางด่วนโฮกูริกุเปิดให้บริการช่วงแรกเมื่อ ค.ศ. 1972 โดยบริษัท ทางหลวงญี่ปุ่น จำกัด (มหาชน) จากนั้นการก่อสร้างดำเนินไปเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งแล้วเสร็จตลอดสายเมื่อ ค.ศ. 1988[3] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2005 ทางด่วนแห่งชาติทั้งหมดได้รับการโอนกิจการจากของรัฐไปเป็นของเอกชน[4] และทางด่วนโฮกูริกุก็ถูกแบ่งการบริหารจัดการออกเป็นสองส่วนระหว่างบริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออกและบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลาง[5]

เส้นทางนี้ให้บริการในภูมิภาคโฮกูริกุ บนชายฝั่งทางตอนกลางของเกาะฮนชู ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ระยะทางส่วนใหญ่ของทางด่วนขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินญี่ปุ่นหมายเลข 8 และทางรถไฟสายหลักโฮกูริกุของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก

ถึงแม้ว่าเส้นทางจะมีจุดเริ่มต้นในนีงาตะและสิ้นสุดที่ไมบาระ แต่หมายเลขทางออกและการนับกิโลเมตรเริ่มต้นจากไมบาระ

ลักษณะเส้นทาง

[แก้]
ภาพเส้นทางในโอยาชิราซุ นครอิโตอิงาวะ จังหวัดนีงาตะ
ซ้าย: ทางด่วนโฮกูริกุ
กลาง:ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 8 และทางรถไฟสายหลักโฮกูริกุของ JR
ขวา: ทางหลวงจังหวัดนีงาตะหมายเลข 525

บริเวณทางแยกต่างระดับสึรูกะ (敦賀IC) ฝั่งที่มุ่งหน้าไปทางใต้และฝั่งที่มุ่งหน้าไปทางเหนือจะไขว้สลับกันและแยกห่างออกจากกัน และไขว้กลับมาตามปกติที่บริเวณใกล้กับจุดพักรถซูอิซุ (杉津PA)

ช่วงระหว่างทางแยกต่างระดับคิโนโมโตะ (木之本IC) กับทางแยกต่างระดับทาเกฟุ (武生IC) มีอุโมงค์จำนวน 14 แห่ง โดยมี 2 แห่งที่มีความยาวมากกว่า 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) และช่วงระหว่างทางแยกต่างระดับอาซาฮิ (朝日IC) กับทางแยกต่างระดับโจเอ็ตสึ (上越IC) มีอุโมงค์จำนวน 26 แห่ง โดยมี 8 แห่งที่มีความยาวมากกว่า 2,000 เมตร (6,600 ฟุต)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Expressway Opening Dates" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  2. Ministry of Land, Infrastructure and Transport, Kinki Regional Development Bureau. "Road Timetable" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Ministry of Land, Infrastructure and Transport, Hokuriku Regional Development Bureau. "Oyashirazu Pia Park Profile" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Mizutani, Fumitoshi; Uranishi, Shuji (2006). Privatization of the Japan Highway Public Corporation: Policy Assessment (PDF). 46th Congress for the European Regional Science Association. Volos, Greece. สืบค้นเมื่อ 2008-04-11.
  5. "NEXCO-Central Business Outline" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]