ทางด่วนย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์
ทางด่วนย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์ | |
---|---|
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ส่วนหนึ่งของ | |
ความยาว | 586.7 กิโลเมตร (364.6 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | ธันวาคม ค.ศ. 2010–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศใต้ | ย่างกุ้ง |
ปลายทางทิศเหนือ | มัณฑะเลย์ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
เมืองสำคัญ | หงสาวดี, ตองอู, เนปยีดอ, เมะทีลา |
ทางด่วนย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์ (พม่า: ရန်ကုန်–မန္တလေး အမြန်လမ်း) เป็นทางด่วนในประเทศพม่าที่เชื่อมต่อระหว่างสามเมืองใหญ่ของประเทศ ได้แก่ เมืองที่ใหญ่ที่สุด ย่างกุ้ง, เมืองหลวง เนปยีดอ และเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 มัณฑะเลย์ เปิดใช้บริการเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 ระยะทางทั้งสิ้น 587 กิโลเมตร ทางด่วนสายนี้สามารถช่วยลดเวลาในการเดินทางจากย่างกุ้ง สู่มัณฑะเลย์ โดยใช้เวลาเพียง 7 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อเดินทางโดยรถไฟจะใช้เวลา 13 ชั่วโมง และถ้าใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ของพม่าจะใช้เวลาถึง 16 ชั่วโมง[1][2][3][4] การออกแบบ การก่อสร้าง และความปลอดภัยของทางด่วนสายนี้ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของนานาชาติ จะเห็นได้จากอุบัติเหตุจำนวนมากตั้งแต่เปิดให้บริการ และได้รับขนานนามว่า "ทางหลวงมรณะ"[5][6][7]
ประวัติ
[แก้]แผนระยะแรกในการสร้างทางหลวงระหว่างเมืองใหญ่ทั้งสองเมืองของประเทศ ได้จุดประเด็นเป็นแนวคิดในปี ค.ศ. 1954 เป็นส่วนหนึ่งในแผนของรัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี อู นุ ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 สหรัฐอเมริกาได้เสนอให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการสำรวจทางวิศวกรรมของทางหลวงสายนี้ โดยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินถึง 750,000 ดอลลาร์สหรัฐ[8] เมื่อสำรวจเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1960 รัฐบาลพม่าก็ได้ออกมาประท้วงเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป[9] ในปี ค.ศ. 1961 รัฐบาลสหรัฐได้ตกลงที่จะศึกษาทางเลือกอื่นที่ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และเริ่มงานสำรวจอีกครั้งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1962 แต่ได้ถูกเลื่อนออกไป และเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม เนื่องจากมีการทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 1962 โดยสภาปฏิวัติสหภาพในเดือนมีนาคม โดยในตอนแรก รัฐบาลทหารได้ตกลงที่จะนำไปเสนอใหม่ และได้รับอนุญาตให้ออกแบบทางหลวงสายย่างกุ้ง–หงสาวดีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ต่อมาในเดือนธันวาคมทางหลวงพร้อมที่จะได้รับการออกแบบ แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างสหรัฐและรัฐบาลพม่า[9]
เส้นทางที่เสนอขึ้นมาจะพาดผ่านเส้นกึ่งกลางระหว่างทางหลวงย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์สายเก่า กับเทือกเขาพะโค ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ออกจากพื้นที่ในปี ค.ศ. 1973 พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าได้วางแผนที่จะก่อสร้างทางด่วน รัฐบาลได้ให้โรงงานปูนซีเมนต์ในภาคอิรวดี ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่นมามาการทำก่อสร้าง แต่เนื่องจากการขาดการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ทำให้การก่อสร้างถูกยกเลิกไป[10]
หลังจากการปฏิวัติการก่อการกำเริบ 8888 ระบอบการปกครองของทหารใหม่ได้ดำเนินการโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ โรงงานปูนซีเมนต์ใหม่และโรงผลิตเหล็กที่สร้างขึ้นโดยบริษัทของรัฐและเอกชน เงินทุนที่รัฐบาลได้รับจากการส่งออกก๊าซไปยังประเทศไทย ทำให้เริ่มการก่อสร้างได้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตลอดทั้งสายในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2010[1][3][4]
ช่วงการก่อสร้าง
[แก้]ทางด่วนสายนี้เปิดตัวโดยกระทรวงการก่อสร้างของพม่า และคณะกรรมการวิศวกรรมทหารของกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพพม่า[1][2][3]
ย่างกุ้ง–เนปยีดอ
[แก้]- ระยะเวลาก่อสร้าง: ตุลาคม ค.ศ. 2005 – มีนาคม ค.ศ. 2009
- เปิดให้บริการ: 25 มีนาคม ค.ศ. 2009
- ระยะทาง: 202 ไมล์ (325 กิโลเมตร)
- จำนวนสะพานยาวกว่า 60 เมตร: 40
เนปยีดอ–มัณฑะเลย์
[แก้]- ระยะเวลาก่อสร้าง: ค.ศ. 2007 – ธันวาคม ค.ศ. 2010
- เปิดให้บริการ: 29 มีนาคม ค.ศ. 2010
- ระยะทาง: 150 ไมล์ (240 กิโลเมตร)
- จำนวนสะพานยาวกว่า 60 เมตร: 32
มัณฑะเลย์ (Saga-in) –มัณฑะเลย์ (อมรปุระ)
[แก้]- ระยะเวลาก่อสร้าง: ค.ศ. 2010 – ธันวาคม ค.ศ. 2011
- เปิดให้บริการ: 30 ธันวาคม ค.ศ. 2011
- ระยะทาง: 13.5 ไมล์ (21.7 กิโลเมตร)
- จำนวนสะพานยาวกว่า 60 เมตร: ?
รายละเอียดของถนน
[แก้]ถนนสายนี้เป็นทางด่วนขนาด 4 ช่องจราจร เป็นทางคู่ 2 ฝั่ง ฝั่งละ 2 ช่อง โดยแต่ละฝั่งกว้าง 7.62 เมตร และมีเกาะกลางกว้าง 9.14 เมตร ถนนสามารถรับน้ำหนักได้ 80 ตัน[3] มีช่องระบายน้ำทั้งหมด 842 แห่ง สะพาน 1,396 แห่ง และทางลอด 116 แห่ง สามารถใช้ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[11]
ด่านเก็บค่าผ่านทางมีทั้งหมด 5 ด่าน ได้แก่ ย่างกุ้ง ปยู เนปยีดอ เมะทีลา และมัณฑะเลย์ อัตราค่าผ่านทาง รถยนต์ 4,500 จัต รถโดยสาร 22,500 จัต ส่วนรถบรรทุกไม่อนุญาตให้วิ่งบนทางด่วน[12]
ในปี ค.ศ. 2014 รัฐบาลได้วางแผนที่จะขยายถนน หลังจากมีอุบัติเหตุจำนวนมากบนทางด่วน[13][14] รัฐบาลได้ขอความช่วยเหลือจาก USAID JICA และ KOICA ที่จะขยายถนนเป็น 8 ช่องจราจร[10][12][15][16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Secretary-1 addresses inauguration of Nay Pyi Taw- Mandalay section of Yangon–Mandalay Expressway" (PDF). The New Light Of Myanmar. 30 December 2010. p. 1. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "Nay Pyi Taw-Mandalay section of Yangon–Mandalay Expressway to be commissioned soon" (PDF). The New Light Of Myanmar. 29 December 2010. p. 1, 8, 9. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Nay Pyi Taw-Mandalay section of Yangon–Mandalay Expressway to be commissioned soon" (PDF). The New Light Of Myanmar. 28 December 2010. p. 1, 8, 9. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ 4.0 4.1 "Report: Completion of Yangon-Nay Pyi Taw sectional expressway marked as milestone". News.xinhuanet.com. 26 March 2009. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ "Burma Bus Crash on 'Death Highway' Kills 14". Irrawaddy.org. 2014-05-14. สืบค้นเมื่อ 2014-05-18.
- ↑ "'Death Highway' At Center of Burma's Worsening Traffic Safety". Irrawaddy.org. สืบค้นเมื่อ 2014-05-18.
- ↑ "'Death highway' crash claims at least 14 lives, say police". Mizzima.com. 2014-05-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-13. สืบค้นเมื่อ 2014-05-18.
- ↑ US Department of State (1960). United States Treaties and Other International Agreements. Vol. 10. Washington, DC: US Department of State. pp. 1730–1732.
- ↑ 9.0 9.1 Moorhus, Donita M.; Robert P. Grathwol (1992). Bricks, Sand, and Marble: U.S. Army Corps of Engineers Construction in the Mediterranean and Middle East, 1947-1991. Washington DC: US Government Printing Office. pp. 201–203. ISBN 9780160872761.
- ↑ 10.0 10.1 "ရန္ကုန္-မႏၲေလးအျမန္လမ္း ရွစ္လမ္းသြားခ်ဲ႕ရန္ အေမရိကန္ကူညီ | 7Day Daily - ၇ ရက္ ေန႔စဥ္ သတင္းစာ". 7Day Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ "Speed traps coming to Nay Pyi Taw highway". Mmtimes.com. 18 March 2013. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ 12.0 12.1 "'Death Highway' At Center of Burma's Worsening Traffic Safety". Irrawaddy.org. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ "'Death highway' to be widened, says ministry". Mizzima.com. 15 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-15. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ "'Death highway' crash claims at least 14 lives, say police". Mizzima.com. 15 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-13. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ "Japan checks Yangon-Mandalay highway for safety". Eleven Myanmar. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ "ရန္ကုန္-ေနျပည္ေတာ္ အျမန္လမ္း ျပဳျပင္ေရး အေမရိကန္ကူညီမည္". Rfa.org. 3 May 2014. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.