ทากหนามม่วง
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ทากหนามม่วง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Mollusca |
ชั้น: | Gastropoda |
ชั้นย่อย: | Opisthobranchia |
อันดับ: | Nudibranchia |
อันดับย่อย: | Aeolidina |
วงศ์: | Fabellindae |
สกุล: | Flabellina |
สปีชีส์: | F.rubrolineata |
ชื่อทวินาม | |
Flabellina rubrolineata (O'Donoghue, 1929) |
ทากหนามม่วง (อังกฤษ: Nudibranch, Purple-Red Flabellina) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เช่นเดียวกับหอย และหมึก จัดอยู่ในชั้นหอยฝาเดี่ยว และเป็นกลุ่มของทากทะเล และอยู่ในอันดับ Nudibranchia
บทนำ
[แก้]สัตว์มหัศจรรย์ อัญมณีแห่งท้องทะเล
[แก้]ทากหนามม่วงถูกจัดอยู่ในอันดับย่อย (Suborder) Aeolidina ซึ่งทากกลุ่มเดียวที่มีลักษณะพิเศษ คือ ducts of the digestive glands และ cnidosacs ที่ยืนยาวออกมานอกลำตัว มีลักษณะคล้ายขนหรือหนาม ตั้งอยู่ตลอดกลางแนวลำตัว และมี cerata อยู่รอบๆข้างของ digestive glands และ cnidosacs แต่ cerataจะมีขนาดเล็กและสั้นกว่า (cereta คืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สแทน gills )
ทากหนามม่วง มีขนาดลำตัวยาว 4 เซนติเมตร รูปร่างยาว ลำตัวสีม่วงลำตัวสีม่วงอ่อนหรือสีขาว มี cerata ขึ้นเป็นกลุ่มอยู่เป็นแถว ส่วนโคนสีของ cerata จะคล้ายสีลำตัว ปลายสีม่วงแก่ ส่วนหัวมีหนวดและ Oral tentacle สีคล้ายลำตัวมีแถบสีม่วงอยู่กลางหนวด ส่วน Rhinophore จะสีเหมือน Cerata ทากหนามม่วงมีการเคลื่อนที่โดยการใช้ส่วน foot ที่อยู่ใต้ mantle คืบคลานไปตามพื้นผิวต่างๆ (การเคลื่อนที่ของทากเปลือย) การป้องกันตัวเป็นแบบเดียวกับทากหนามทั้งหลาย จะกินเข็มพิษของไฮดรอย์เข้าไป ก่อนนำมาที่ปลาย Cerata [1]
บริเวณที่พบได้ | พื้นทราย /กองหิน/แนวปะการัง |
พฤติกรรม | อยู่ตัวเดียวหรือเป็นกลุ่ม |
กินอาหาร | ไฮดรอยด์ ( การกินอาหาร ) |
สถานภาพ | Common |
จุดที่พบในประเทศไทย | หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน จ.พังงา , เกาะพุง หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ , เกาะเฮ จ.ภูเก็ต |
ความลึกที่พบ | 10-20 เมตร |
ภาระหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก
[แก้]ทากหนามม่วงมีสีสันที่สวยงามและมีรูปร่างที่แปลกตาน่าสนใจ อีกทั้งไม่สามารถหาชมได้ทั่วไปบนบก ต้องดำน้ำลงไปดูใต้ทะเลจึงเป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำ และนักถ่ายภาพใต้ ทำให้มีประโยชน์ในด้านของการการท่องเที่ยว ซึ่งการดำน้ำแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร [2] แม้ทากหนามม่วงจะสามรถพบได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามัน อ่าวไทย[3] และมีสถานะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยครั้ง แต่เนื่องจาก ทากหนามม่วงมีขนาดเล็กจึงต้องใช้เวลาในการตามหาบ้าง
ทุกสิ่งมีชีวิตเกิดมาล้วนมีคุณค่าในตัวของสิ่งมีชีวิตเอง ทากหนามม่วงก็เช่นกัน เพราะอาหารของทากเปลือยคือสัตว์ในพวกไฮดรอยด์หรือขนนกทะเล( รูปร่างขนนก เก็บถาวร 2014-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ทากหนามม่วงจึงทำหน้าที่ควบคุมประชากรของขนนกทะเลในแนวปะการัง ไม่ให้มีมากเกินไป เพราะการที่มีสิ่งมีชีวิตอื่นในแนวปะการังมากเกินไปจะทำให้ตัวอ่อนของปะการังไม่สามารถลงเกาะได้ [4]อีกทั้งตัวทากหนามม่วงเองก็ยังเป็นอาหารให้กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นทั้งในระยะ ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็ม จึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในแนวปะการัง
วงศาคณาญาติในน่านน้ำไทย
[แก้]ทากเปลือยในสกุลนี้ทั่วโลกมี 30 ชนิด แต่ในประเทศไทยมีการรายงานพบเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น คือ F.biocolor , F.exoptata , F.indica , และ F.rubrolieata ซึ่งจะสัมพันธ์กับการกระจายทางภูมิศาสตร์ในเขต Indo-West Pacifi และเขต Circumtropical [5]โดยในแต่ละพื้นที่ที่พบก็จะมีลักษณะหรือสีที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของอาหารที่กิน[6][7] การศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการโดยการใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมในทากสกุลนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษา โดยเฉพาะทากเปลือยที่กล่าวมายังไม่ข้อมูลการศึกษาทางพันธุกรรมเลย แต่มีการศึกษาในทากเปลือยชนิด F. verrucosa ที่ลักษณะของรูปร่างที่แตกต่างกัน ( 2 From) ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ตำแหน่งของยีน COI ในไมโตคอนเดรียและยีน 5.8S-ITS2 ในนิเคลียส ซึ่งได้ผลการทดลองว่าทั้ง 2 form เป็นชนิดเดียวกัน แต่มีรูปร่างที่แตกต่างกันเท่านั้น [8]
ปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอด
[แก้]การป้องกันตัวเข็มพิษจากไฮดรอยด์
[แก้]ทากหนามม่วงและทากในกลุ่ม Arminina จะมีการนำเข็มพิษที่ได้จากการกินเข็มพิษไฮดรอยด์เข้าไป จากนั้นจะเคลื่อนเข็มพิษไปยังปลาย cerata และ cnidosacs เพื่อใช้ป้องกันตัวเมื่อมีศัตรูมาทำร้าย โดยเข็มพิษจะถูกปล่อยออกไป เมื่อศัตรูมาสัมผัส ([1])[9]
การเพิ่มพื้นที่การรับกลิ่น
[แก้]ทากหนามม่วงและทากเปลือยทุกชนิดจะมีอวัยวะที่เรียกว่าไรโนฟอร์ (Rhinophore)ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไว้ใช้ในการรับสัมผัสสารเคมีในมวลน้ำ ซึ่งเปรียบได้กับการดมกลิ่น ทากเปลือยแต่ละชนิดจะมีรูปแบบของไรโนฟอร์ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด การมีไรโนฟอร์รูปแบบต่างๆจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับสัมผัสสารเคมีได้มากขึ้น ซึ่งทากหนามม่วงจะมีไรโนฟอร์แบบ Perfoliate [10]
การหายไปของเหงือก (Gills)
[แก้]ทากเปลือยทุกชนิดจะมีเหงือกเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สกับน้ำทะเล โดยปกติเหงือกจะอยู่บริเวณหลังของทากเปลือย แต่ในทากหนามม่วงจะมีการลดรูปและปรับเปลี่ยนไปของเหงือก โดยเหงือกจะกลายเป็น Cerata ที่เป็นเส้นๆลักษณะคล้ายกับ ducts of the digestive glands ที่อยู่ตลอดแนวลำตัว และยังมี Cnidosacs ที่ปลาย Cerata อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตที่จะมาตอดกินเหงือกของทากหนามม่วง[11]
อ้างอิง
[แก้]หนังสือและเอกสารอ้างอิง
- ↑ สุชนา ชวนิชย์ วรณพ วิยกาจญจน์ และLarry G. Harris. 2554. ชีววิทยาของทากเปลือย. กรุงเทพฯ. 56 หน้า
- ↑ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ธีระพงศ์ ด้วงดี และ ณรงค์พล สิทธิทวีพัฒน์. 2551. คู่มืออันดามัน หอยทะเลไทย. กรุงเทพฯ. 321 หน้า
- ↑ Chavanich, S.Viyakarn, V. Sanpanich, K. Harris, L.G. (2013). Diversity and occurrence of nudibranchs in Thailand. Marine Biodiversity, 43(1), 31-36
- ↑ สุชนา ชวนิชย์ และวรณพ วิยกาจญจน์. 2552 ปะการัง. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.สวนจิตรลดา กรุงเทพฯ. 100 หน้า
- ↑ Kuiter H.R. , Debelius H., 2007. Nudibranchs of the World. IKAN-Unterwasserachiv. Germany. 390 p.
- ↑ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ธีระพงศ์ ด้วงดี และ ณรงค์พล สิทธิทวีพัฒน์. 2551. คู่มืออันดามัน หอยทะเลไทย. กรุงเทพฯ. 321 หน้า
- ↑ Kuiter H.R. , Debelius H., 2007. Nudibranchs of the World. IKAN-Unterwasserachiv. Germany. 390 p.
- ↑ Eriksson R. , Nygren A. , Sundberg P. (2005). Genetic evidence of phenotypic polymorphism in the aeolid nudibranch Flabellina verrucosa (M. Sars, 1829) (Opisthobranchia: Nudibranchia). Organisms, Diversity & Evolution 6 (2006) 71-76.<http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1439609205000772#>
- ↑ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ธีระพงศ์ ด้วงดี และ ณรงค์พล สิทธิทวีพัฒน์. 2551. คู่มืออันดามัน หอยทะเลไทย. กรุงเทพฯ. 321 หน้า
- ↑ สุชนา ชวนิชย์ วรณพ วิยกาจญจน์ และLarry G. Harris. 2554. ชีววิทยาของทากเปลือย. กรุงเทพฯ. 56 หน้า
- ↑ สุชนา ชวนิชย์ วรณพ วิยกาจญจน์ และLarry G. Harris. 2554. ชีววิทยาของทากเปลือย. กรุงเทพฯ. 56 หน้า