วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น
ข้อมูลในหน้านี้อาจไม่ตรงกับต้นฉบับ สำหรับข้อมูลต้นฉบับ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา |
การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรไทยนั้น ราชบัณฑิตยสภาวางหลักเกณฑ์ไว้ 2 ครั้ง คือ ฉบับ พ.ศ. 2535 ต่อมายกเลิกและแทนที่ด้วยฉบับ พ.ศ. 2561
หลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. 2561)
[แก้]หลักทั่วไป
[แก้]1. การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นตามหลักเกณฑ์นี้เป็นการถ่ายเสียงภาษาญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรโรมันเท่าที่อักษรโรมันจะแสดงได้ โดยถ่ายเสียงสระและเสียงพยัญชนะตามที่ออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมาตรฐานหรือภาษาโตเกียว และมีตารางเทียบเสียงพยัญชนะและเสียงสระแสดงไว้ อย่างไรก็ตาม ในภาษาญี่ปุ่นมีการเน้นเสียงซึ่งอาจทำให้เสียงหรือความหมายเปลี่ยนไปบ้าง การเน้นเสียงนั้นสามารถตรวจสอบได้ในพจนานุกรมที่แสดงเครื่องหมายกำกับไว้ นอกจากนี้ยังอาจมีการลดเสียงบางเสียง แต่ในหลักเกณฑ์นี้ไม่ได้นำเรื่องการเน้นเสียงและการลดเสียงมาพิจารณา
2. การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นตามหลักเกณฑ์นี้พยายามเขียนให้ใกล้เคียงกับเสียงในภาษาญี่ปุ่นเท่าที่อักขรวิธีไทยจะเอื้ออำนวยและรองรับได้ ในกรณีที่ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงได้ 2 แบบ ก็ให้ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ เช่น Nippon = นิปปง, นิปปน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้อักขรวิธีไทยเขียนได้ ก็จะเลือกตัวอักษรที่อ่านง่ายเขียนง่าย เช่น tsu = สึ
3. ระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้อักษรโรมันเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถอ่านได้มีหลายระบบ หลักเกณฑ์นี้ใช้ระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นหลัก เนื่องจากเป็นระบบเขียนที่ใกล้เคียงกับเสียงมากที่สุด และเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ระบบอื่น จึงได้นำอักษรโรมันที่ถอดตามระบบอื่นมาใส่ไว้ในตารางด้วยโดยเรียงตามลำดับอักษร
อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นอักษรโรมันที่ใช้เขียนภาษาญี่ปุ่นระบบหนึ่งซึ่งเน้นเสียงเป็นหลัก เริ่มใช้ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยเมจิ เป็นระบบการเขียนซึ่งแพทย์และนักสอนศาสนาชาวอเมริกันชื่อ เจมส์ เคอร์ติส เฮ็ปเบิร์น (ค.ศ. 1815–1911) ริเริ่มคิดขึ้นและใช้ในการจัดทำพจนานุกรมญี่ปุ่น–อังกฤษ อังกฤษ–ญี่ปุ่น เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับและใช้กันแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
4. คำที่รับมาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง, ศัพท์บัญญัติชื่อแร่และศัพท์บัญญัติชื่อธาตุ ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด
5. คำภาษาญี่ปุ่นที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว ให้ใช้ตามเดิม เช่น
Tōkyō [โทเกียว]
Kyōto [เคียวโตะ]=
=โตเกียว
เกียวโต
6. สระเดี่ยวสั้น ในภาษาญี่ปุ่นมี 5 เสียง แสดงด้วยอักษรโรมันดังนี้ a, i, u, e และ o การออกเสียงสระสั้นโดยปรกติไม่ปิดเส้นเสียงข้างท้าย ยกเว้นกรณีที่อยู่ในตำแหน่งท้ายคำจะออกเสียงโดยปิดเส้นเสียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้มีลักษณะคล้ายกับเสียงสระสั้นท้ายคำในภาษาไทย (อย่างคำว่า กระทะ, กะทิ) ในการทับศัพท์กำหนดดังนี้
- 6.1 สระเดี่ยวสั้นในพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดและไม่ได้อยู่ท้ายคำ ทับศัพท์เป็นสระเสียงยาว เช่น
yama
ocha
Fukui=
=
=ยามะ
โอจะ
ฟูกูอิ
- ยกเว้นสระ i ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้นในทุกตำแหน่ง เช่น
wasabi
Miki=
=วาซาบิ
มิกิ
- 6.2 สระเดี่ยวสั้นในตำแหน่งท้ายคำ ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้น เช่น
Tanaka
fune=
=ทานากะ
ฟูเนะ
- 6.3 สระเดี่ยวสั้นในพยางค์ที่มีตัวสะกด ได้แก่ k, m, n, p, s, t ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้น เช่น
gakkō
samma
hontō
Nippon
zasshi
itchi=
=
=
=
=
=กักโก
ซัมมะ
ฮนโต
นิปปง, นิปปน
ซัชชิ
อิตจิ
7. สระเดี่ยวยาว ในภาษาญี่ปุ่นมี 5 เสียง ออกเสียงยาวประมาณ 2 เท่าของสระเสียงสั้น แสดงด้วยอักษรโรมันตามระบบเฮ็ปเบิร์นดังนี้ ā, ī, ū, ē และ ō ในการทับศัพท์กำหนดให้ใช้สระเสียงยาวทุกตำแหน่ง เช่น
okāsan
oishī
jūyō
onēsan
sayōnara=
=
=
=
=โอกาซัง, โอกาซัน
โออิชี
จูโย
โอเนซัง, โอเนซัน
ซาโยนาระ
- ในการใช้ทั่วไปเช่นในสื่อมวลชน อาจพบสระเดี่ยวยาวในรูปสระตัวเดียวคือ a, i, u, e และ o เช่น ชื่อนายกรัฐมนตรี Shinzō Abe มักพบรูปเขียนเป็น Shinzo Abe, ชื่อเมือง Tōkyō มักพบรูปเขียนเป็น Tokyo
- อย่างไรก็ตาม ในการเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้อักษรโรมันด้วยระบบอื่น อาจพบรูปสระเดี่ยวยาวรูปอื่น ดังนี้ aa, ii, uu, ee, ei, oo, ou และ oh เช่น
okaasan
oishii
juuyoo
oneesan
sensei
sayoonara
koushi
Ohno=
=
=
=
=
=
=
=โอกาซัง, โอกาซัน
โออิชี
จูโย
โอเนซัง, โอเนซัน
เซ็นเซ
ซาโยนาระ
โคชิ (ขงจื๊อ)
โอโนะ
- สระ 2 ตัวเรียงต่อกันในบางคำอาจแสดงเป็นคนละคำกัน กรณีเช่นนี้ให้ทับศัพท์แยกเป็นแบบสระเดี่ยวสั้น เช่น
koushi (ko-ushi)
keito (ke-ito)
Ishii (Ishi-i)=
=
=โคอูชิ (ลูกวัว)
เคอิโตะ (ด้ายขนสัตว์)
อิชิอิ (ชื่อสกุล)
- หากมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้รู้หรือค้นหาในพจนานุกรม
8. สระต่างกันที่เรียงติดต่อกัน 2 เสียงขึ้นไป ให้เขียนทับศัพท์เรียงกัน เช่น
kao = คาโอะ
- ยกเว้นสระ ai ให้ใช้ ไ– เช่น
haiku = ไฮกุ
9. พยัญชนะ ch, k, p และ t เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำจะเป็นเสียงพ่นลม (aspirated) แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่นจะเป็นเสียงไม่พ่นลม (unaspirated) หรือพ่นลมค่อนข้างเบา จึงกำหนดให้ทับศัพท์ดังนี้
ตำแหน่งต้นคำ ตำแหน่งอื่น ch
k
p
t=
=
=
=ช
ค
พ
ทch
k
p
t=
=
=
=จ
ก
ป
ต
10. พยัญชนะ f ในอักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์น เป็นเสียงพยัญชนะเสียดแทรก ไม่ก้อง เกิดระหว่างริมฝีปากบนกับริมฝีปากล่าง [ɸ] ซึ่งไม่มีในภาษาไทย กำหนดให้ทับศัพท์เป็น ฟ เช่น
Fuji
Fukuoka=
=ฟูจิ
ฟูกูโอกะ
11. พยัญชนะ g เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำออกเสียง [ɡ] คล้าย ก ให้เขียนทับศัพท์ด้วย ก แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่นออกเสียง [ŋ] ให้เขียนทับศัพท์ด้วย ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้พูดภาษาญี่ปุ่นบางกลุ่มมักออกเสียงพยัญชนะนี้เป็น [ɡ] หรือ [ɣ] ในตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งต้นคำ จึงให้ทับศัพท์เป็น ก ทุกตำแหน่งได้ด้วย เช่น
arigatō
gogo=
=อาริงาโต, อาริกาโต
โกโงะ, โกโกะ
12. พยัญชนะ j เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำ เป็นเสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก ก้อง เกิดที่ตำแหน่งลิ้นส่วนหน้ากับหลังปุ่มเหงือก [d͡ʑ] เมื่ออยู่กลางคำ บางครั้งเป็นเสียงเสียดแทรก [ʑ] ทั้ง 2 เสียงนี้เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ให้เขียนทับศัพท์ด้วย จ เช่น
kaji = คาจิ
13. พยัญชนะนาสิก n มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้
- 13.1 ในกรณีที่อยู่ต้นคำหรือต้นพยางค์ ออกเสียง น หรือใกล้เคียงกับ น ให้ทับศัพท์เป็น น เช่น
Narita
kuni=
=นาริตะ
คูนิ
- 13.2 ในกรณีที่อยู่ท้ายคำหรือตามด้วยพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ ปรกติออกเสียงเป็นเสียงนาสิก ก้อง ที่ตำแหน่งโคนลิ้นกับลิ้นไก่ [ɴ] ซึ่งใกล้เคียงกับ ง ให้ทับศัพท์เป็น ง แต่บางครั้งเมื่อต้องการปิดคำ ผู้พูดภาษาญี่ปุ่นก็ออกเสียงเป็น น จึงให้ทับศัพท์เป็น น ได้ด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น
Jōmon
bon'odori=
=โจมง, โจมน
บงโอโดริ, บนโอโดริ
- 13.3 ในกรณีที่อยู่ท้ายพยางค์ ส่วนใหญ่มีการกลมกลืนเสียง (assimilation) ไปตามฐานกรณ์ (articulator) ของพยัญชนะที่ตามมา มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้
- - ในตำแหน่งท้ายพยางค์ที่ตามด้วย ch, d, j, n, r, s, sh, t, z ออกเสียง น หรือใกล้เคียงกับ น ให้ทับศัพท์เป็น น เช่น
- 13.3 ในกรณีที่อยู่ท้ายพยางค์ ส่วนใหญ่มีการกลมกลืนเสียง (assimilation) ไปตามฐานกรณ์ (articulator) ของพยัญชนะที่ตามมา มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้
minchō
Endō
jinja
konnichiwa
renraku
shinsai
manshū
hontō
jinzai=
=
=
=
=
=
=
=
=มินโจ
เอ็นโด
จินจะ
คนนิจิวะ
เร็นรากุ
ชินไซ
มันชู
ฮนโต
จินไซ
- - ในตำแหน่งท้ายพยางค์ที่ตามด้วย g, h, k, w, y ออกเสียง ง หรือใกล้เคียงกับ ง ให้ทับศัพท์เป็น ง เช่น
ringo
kokusanhin
ginkō
denwa
honya=
=
=
=
=ริงโงะ, ริงโกะ
โคกูซังฮิง, โคกูซังฮิน
กิงโก
เด็งวะ
ฮงยะ
14. พยัญชนะ ts เป็นเสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก ไม่ก้อง เกิดที่ตำแหน่งปลายลิ้นกับปุ่มเหงือก [t͡s] เป็นเสียงซึ่งไม่มีในภาษาไทย และพยัญชนะ ts นี้เกิดกับสระ u และ ū เท่านั้น กำหนดให้ทับศัพท์ดังนี้
- tsu ที่อยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ ทับศัพท์เป็น สึ เช่น
tsunami
mittsu=
=สึนามิ
มิตสึ
- tsu ที่ตามหลังสระ ทับศัพท์เป็น ตสึ เช่น
mitsu = มิตสึ
- tsū ที่อยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ ทับศัพท์เป็น ซือ เช่น
tsūyaku
ittsū=
=ซือยากุ
อิตซือ
- tsū ที่ตามหลังสระ ทับศัพท์เป็น ตซือ เช่น
futsū = ฟุตซือ
15. ชื่อกับชื่อสกุลของคนญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรโรมัน มักเขียนชื่อตัว เว้นวรรค และตามด้วยชื่อสกุล ในการทับศัพท์ให้เขียนไปตามนั้น เช่น
Ichirō SUZUKI
Takuya KIMURA=
=อิจิโร ซูซูกิ
ทากูยะ คิมูระ
- ส่วนชื่อกับชื่อสกุลของคนญี่ปุ่นโดยปรกติเขียนด้วยอักษรคันจิติดกัน ไม่เว้นวรรค และเขียนชื่อสกุลมาก่อนแล้วจึงตามด้วยชื่อตัว หากทับศัพท์จากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น ให้สลับเขียนชื่อตัวขึ้นก่อน เว้นวรรค และตามด้วยชื่อสกุลตามรูปแบบการเขียนในภาษาไทย เช่น
鈴木一朗 (SUZUKI, Ichirō)
木村拓哉 (KIMURA, Takuya)=
=อิจิโร ซูซูกิ
ทากูยะ คิมูระ
16. คำนำหน้าชื่อหรือคำบอกประเภทวิสามานยนามในภาษาญี่ปุ่นโดยปรกติจะวางไว้หลังชื่อ ซึ่งต่างกับภาษาไทย ในการทับศัพท์ให้แปลคำเหล่านั้นแล้วยกมาวางไว้ข้างหน้า เช่น
Tanakasan
Aomoriken
Wasedadaigaku
Risonaginkō=
=
=
=คุณทานากะ (san เป็นคำเรียกประกอบท้ายชื่อเพื่อแสดงความสุภาพ)
จังหวัดอาโอโมริ (ken แปลว่า จังหวัด)
มหาวิทยาลัยวาเซดะ (daigaku แปลว่ามหาวิทยาลัย)
ธนาคารริโซนะ (ginkō แปลว่า ธนาคาร)
- คำบอกประเภทวิสามานยนามที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อเฉพาะ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เกาะ ทะเลสาบ วัด ในการทับศัพท์ให้ทับศัพท์ชื่อเฉพาะนั้นทั้งหมดและอาจใส่คำแปลของคำบอกประเภทวิสามานยนามไว้ข้างหน้าด้วย เช่น
Arakawa
Gassan
Kiyomizudera
Kinkakuji=
=
=
=อารากาวะ, แม่น้ำอารากาวะ (kawa แปลว่า แม่น้ำ)
กัซซัง, กัซซัน, ภูเขากัซซัง, ภูเขากัซซัน (san แปลว่า ภูเขา)
คิโยมิซูเดระ, วัดคิโยมิซูเดระ (dera มาจาก tera แปลว่า วัด)
คิงกากูจิ, วัดคิงกากูจิ (ji แปลว่า วัด)
- ในการตัดสินว่าจะใส่คำแปลของคำบอกประเภทวิสามานยนามไว้ข้างหน้าหรือไม่ อาจนำรูปแบบที่ใช้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมาพิจารณาประกอบ
17. ในการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรโรมันอาจมีการใช้เครื่องหมายยัติภังค์เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น ในการทับศัพท์ให้เขียนติดกันโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายยัติภังค์ เช่น
Tanaka-san
Aomori-ken
Waseda-daigaku
Risona-ginkō
Kiyomizu-dera=
=
=
=
=คุณทานากะ
จังหวัดอาโอโมริ
มหาวิทยาลัยวาเซดะ
ธนาคารริโซนะ
คิโยมิซูเดระ, วัดคิโยมิซูเดระ
18. คำย่อที่เขียนด้วยอักษรโรมัน ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้น ๆ ตามเสียงภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (ฉบับร่าง) ดังนี้
A
D
G
J
M
P
S
V
Y=
=
=
=
=
=
=
=
=เอ
ดี
จี
เจ
เอ็ม
พี
เอส
วี
วายB
E
H
K
N
Q
T
W
Z=
=
=
=
=
=
=
=
=บี
อี
เอช
เค
เอ็น
คิว
ที
ดับเบิลยู
ซี, เซดC
F
I
L
O
R
U
X=
=
=
=
=
=
=
=ซี
เอ็ฟ
ไอ
เอล
โอ
อาร์
ยู
เอ็กซ์
- เช่น
NHK
JR=
=เอ็นเอชเค
เจอาร์
- อย่างไรก็ดี คนญี่ปุ่นอาจออกเสียงตัวอักษรเหล่านี้แตกต่างกับตารางข้างต้น
19. คำที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษรให้เขียนตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด เช่น
JASSO (Japan Student Services Organization) = จัสโซ
ตารางเทียบเสียง
[แก้]เสียงพยัญชนะ
[แก้]พยัญชนะเดี่ยว
[แก้]ตารางเทียบพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นนี้ใช้อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นหลัก แต่ผู้ใช้อาจพบอักษรโรมันระบบอื่นในตำราหรือเอกสารโบราณ จึงได้เทียบอักษรโรมันระบบอื่นไว้ ส่วนตัวอย่างที่ให้ใช้อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์น
อักษรโรมัน | เงื่อนไข | เสียง | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | |
---|---|---|---|---|---|---|
ระบบเฮ็ปเบิร์น | ระบบอื่น | |||||
b | b | b | บ | bon'odori | บงโอโดริ, บนโอโดริ | |
obi | โอบิ | |||||
ch | t (+ i), ty | ต้นคำ | t͡ɕʰ | ช | chīsai | ชีไซ |
ตำแหน่งอื่น | t͡ɕ | จ | konnichiwa | คนนิจิวะ | ||
d | d | d | ด | denwa | เด็งวะ | |
Edo | เอโดะ | |||||
f | h (+ u) | ɸ | ฟ | fune | ฟูเนะ | |
Gifu | กิฟุ | |||||
g | g | ต้นคำ | ɡ | ก | ginkō | กิงโก |
ตำแหน่งอื่น | ŋ, ɡ~ɣ[# 1] | ง, ก | arigatō | อาริงาโต, อาริกาโต | ||
h | h | ตามด้วย a, e, o | h | ฮ | hashi | ฮาชิ |
ตามด้วย i | ç | Hiroshima | ฮิโรชิมะ | |||
j | d (+ i), dy, z (+ i), zy |
d͡ʑ~ʑ | จ | Jōmon | โจมง, โจมน | |
kaji | คาจิ | |||||
k | k | ต้นคำ | kʰ | ค | kao | คาโอะ |
ตำแหน่งอื่น | k | ก | niku | นิกุ | ||
gakkō | กักโก | |||||
m | n (+ b, m, p) | m | ม | mado | มาโดะ | |
shimbun | ชิมบุง, ชิมบุน | |||||
samma | ซัมมะ | |||||
empitsu | เอ็มปิตสึ | |||||
n | n | ต้นพยางค์และตามด้วย a, e, o, u | n | น | Nagoya | นาโงยะ, นาโกยะ |
kinoko | คิโนโกะ | |||||
ต้นพยางค์และตามด้วย i | ɲ | น | Nippon | นิปปง, นิปปน | ||
konnichiwa | คนนิจิวะ | |||||
ตามด้วย ch, j, n (+ i), ny- | ɲ | น | minchō | มินโจ | ||
jinja | จินจะ | |||||
konnichiwa | คนนิจิวะ | |||||
konnyaku | คนเนียกุ | |||||
ตามด้วย d, r, t, z, n (+ a, e, o, u) | n | น | Endō | เอ็นโด | ||
renraku | เร็นรากุ | |||||
hontō | ฮนโต | |||||
jinzai | จินไซ | |||||
ginnan | กินนัง, กินนัน | |||||
ตามด้วย g, k | ŋ | ง | ringo | ริงโงะ, ริงโกะ | ||
ginkō | กิงโก | |||||
ตามด้วย h,[# 2] w, y | ɰ̃ | ง | kokusanhin | โคกูซังฮิง, โคกูซังฮิน | ||
denwa | เด็งวะ | |||||
honya | ฮงยะ | |||||
ตามด้วย s, sh | ɰ̃ | น | shinsai | ชินไซ | ||
manshū | มันชู | |||||
ตามด้วยสระ | ɰ̃ | ง, น | bon'odori | บงโอโดริ, บนโอโดริ | ||
ท้ายคำ | ɴ | ง, น | ichiban | อิจิบัง, อิจิบัน | ||
p | p | ต้นคำ | pʰ | พ | pen | เพ็ง, เพ็น |
ตำแหน่งอื่น | p | ป | tempura | เท็มปูระ | ||
Nippon | นิปปง, นิปปน | |||||
r | r | ɾ | ร | renraku | เร็นรากุ | |
Nara | นาระ | |||||
s | s | s | ซ | sakana | ซากานะ | |
kissaten | คิซซาเต็ง, คิซซาเต็น | |||||
ตามด้วย sh | ɕ | ช | zasshi | ซัชชิ | ||
sh | s (+ i), sy | ɕ | ช | Shōwa | โชวะ | |
sashimi | ซาชิมิ | |||||
t | t | ต้นคำ | tʰ | ท | te | เทะ |
ตำแหน่งอื่น | t | ต | migite | มิงิเตะ, มิกิเตะ | ||
matcha | มัตจะ | |||||
kitte | คิตเตะ | |||||
tsu | tu | ต้นคำ | t͡sɯ | สึ | tsunami | สึนามิ |
ตามหลังพยัญชนะ | สึ | mittsu | มิตสึ | |||
ตามหลังสระ | ตสึ | mitsu | มิตสึ | |||
tsū | tū | ต้นคำ | t͡sɯː | ซือ | tsūyaku | ซือยากุ |
ตามหลังพยัญชนะ | ซือ | ittsū | อิตซือ | |||
ตามหลังสระ | ตซือ | futsū | ฟุตซือ | |||
w[# 3] | w | ɰ | ว | watashi | วาตาชิ | |
Fujiwara | ฟูจิวาระ | |||||
y | y | j | ย | yama | ยามะ | |
Yayoi | ยาโยอิ | |||||
z | d (+ u) | d͡z~z | ซ | zō | โซ | |
mizu | มิซุ |
- หมายเหตุ
- ↑ ผู้พูดภาษาญี่ปุ่นบางกลุ่มมักออกเสียงพยัญชนะ g ในตำแหน่งอื่นเป็น [ɡ] หรือ [ɣ] ด้วย
- ↑ ส่วนใหญ่พบในคำยืม
- ↑ ในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน w จะตามด้วยสระ a เท่านั้น ส่วน w ที่ตามด้วยสระอื่นปรากฏในคำที่สะกดแบบเก่า เช่น Iwo Jima ซึ่งปัจจุบันสะกดว่า Iō Jima
พยัญชนะควบ
[แก้]ตารางเทียบพยัญชนะควบภาษาญี่ปุ่นนี้ใช้อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นหลัก มีพยัญชนะที่ควบกับเสียง y ได้แก่ b, g, h, k, m, n, p, r เป็น by-, gy-, hy-, ky-, my-, ny-, py-, ry- ประสมกับสระได้ 3 เสียงคือ a, o, u ในภาษาไทยไม่สามารถเขียนให้ตรงกับเสียงดังกล่าว จึงอนุโลมให้ทับศัพท์โดยใช้พยัญชนะต้นเดี่ยวกับสระดังนี้
อักษรโรมัน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | |
---|---|---|---|---|---|
ระบบเฮ็ปเบิร์น | ระบบอื่น | ||||
-ya | -ya | ʲa | เ–ีย | hyaku | เฮียกุ |
kyakkan | เคียกกัง, เคียกกัน | ||||
-yā | -yaa, -yâ | ʲaː | เ–ีย | kyā, kyaa | เคีย |
-yo | -yo | ʲo | เ–ียว | ryokō | เรียวโก |
hyotto | เฮียวโตะ[# 1] | ||||
-yō | -yoo, -you, -yoh, -yô | ʲoː | เ–ียว | ryōri, ryoori, ryouri | เรียวริ |
-yu | -yu | ʲɯ | –ิว | byuffe[# 2] | บิวเฟะ[# 1] |
-yū | -yuu, yû | ʲɯː | –ีว | kyūkō, kyuukoo | คีวโก |
Ryūkyū, Ryuukyuu | รีวกีว |
- หมายเหตุ
- ↑ 1.0 1.1 พยัญชนะควบในภาษาญี่ปุ่น -yo และ -yu กำหนดให้ทับศัพท์เป็น เ–ียว และ –ิว หากมีพยัญชนะสะกดให้ตัดออก เนื่องจากมีพยัญชนะ ว สะกดอยู่แล้ว
- ↑ -yu ไม่พบตัวอย่างคำศัพท์ในคำญี่ปุ่นแท้ มักพบในคำยืม
เสียงสระ
[แก้]อักษรโรมัน | เสียง | เงื่อนไข | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | |
---|---|---|---|---|---|---|
ระบบเฮ็ปเบิร์น | ระบบอื่น | |||||
A | ||||||
a | a | a | พยางค์เปิด[# 1] ไม่ได้อยู่ท้ายคำ | –า | wasabi | วาซาบิ |
พยางค์เปิด อยู่ท้ายคำ | –ะ | yama | ยามะ | |||
พยางค์ปิด[# 2] | –ั | gakkō | กักโก | |||
ā | aa, â | aː | –า | okāsan, okaasan | โอกาซัง, โอกาซัน | |
ai[# 3] | ai | ai | ไ– | haiku | ไฮกุ | |
E | ||||||
e | e | e | พยางค์เปิด ไม่ได้อยู่ท้ายคำ | เ– | eki | เอกิ |
พยางค์เปิด อยู่ท้ายคำ | เ–ะ | fune | ฟูเนะ | |||
พยางค์ปิด | เ–็ | denwa | เด็งวะ | |||
ē | ee, ê | eː | เ– | onēsan, oneesan | โอเนซัง, โอเนซัน | |
ei[# 4] | ei | eː | เ– | sensei | เซ็นเซ | |
I | ||||||
i | i | i | –ิ | kaki | คากิ | |
kin | คิง, คิน | |||||
ī | ii,[# 5] î | iː | –ี | oishī, oishii | โออิชี | |
O | ||||||
o | wo | o | พยางค์เปิด ไม่ได้อยู่ท้ายคำ | โ– | ocha | โอจะ |
พยางค์เปิด อยู่ท้ายคำ | โ–ะ | oto | โอโตะ | |||
พยางค์ปิด | โ–ะ (ลดรูป) | konnichiwa | คนนิจิวะ | |||
ō | oo, ou, oh, ô | oː | โ– | sayōnara, sayoonara | ซาโยนาระ | |
Sōseki, Souseki | โซเซกิ | |||||
Ōno, Ohno | โอโนะ | |||||
U | ||||||
u[# 6] | u | ɯ | พยางค์เปิด ไม่ได้อยู่ท้ายคำ | –ู | Kabuki | คาบูกิ |
พยางค์เปิด อยู่ท้ายคำ | –ุ | isu | อิซุ | |||
พยางค์ปิด | –ุ | shimbun | ชิมบุง, ชิมบุน | |||
ū[# 7] | uu, û | ɯː | –ู | jūyō, juuyoo | จูโย |
- หมายเหตุ
- ↑ พยางค์เปิด หมายถึง พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย
- ↑ พยางค์ปิด หมายถึง พยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย
- ↑ คำที่มีสระ a และ i ในคำคนละคำที่มาอยู่ติดกัน จะออกเสียงแยกกัน ให้ทับศัพท์เป็น –าอิ เช่น 歯科医 shikai = ชิกาอิ
- ↑ คำที่มีสระ e และ i ในคำคนละคำที่มาอยู่ติดกัน จะออกเสียงแยกกัน ให้ทับศัพท์เป็น เ–อิ เช่น 毛糸 keito = เคอิโตะ
- ↑ คำที่มีสระ i และ i ในคำคนละคำที่มาอยู่ติดกัน จะออกเสียงแยกกัน ให้ทับศัพท์เป็น –ิอิ เช่น 石井 Ishii = อิชิอิ
- ↑ u ที่ตามหลังพยัญชนะ ts กำหนดให้ทับศัพท์เป็น –ึ เช่น tsunami = สึนามิ
- ↑ ū ที่ตามหลังพยัญชนะ ts กำหนดให้ทับศัพท์เป็น –ือ เช่น tsūyaku = ซือยากุ
หลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2535)
[แก้](ยกเลิกแล้วโดยผลของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับ พ.ศ. 2560)
หลักทั่วไป
[แก้]1. หลักเกณฑ์นี้ใช้ถ่ายเสียงภาษาญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรโรมัน
2. การเทียบเสียงสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงสระภาษาญี่ปุ่น
3. เสียงสระในภาษาญี่ปุ่นมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาว ซึ่งทำให้คำมีความหมายต่างกัน ฉะนั้นหลักเกณฑ์นี้จึงแยกเสียงสระสั้นและสระยาวออกจากกัน เช่น
tori
toori, tōri
denwa=
=
=โทะริ
โทริ
เด็งวะ
4. ปรกติสระที่อยู่ติดกันจะออกเสียงแยกกัน ยกเว้นสระ ei ซึ่งออกเสียงเป็น เอ เช่น
Daitō
Fujieda
sensei=
=
=ดะอิโต
ฟุจิเอะดะ
เซ็นเซ
5. การเทียบเสียงพยัญชนะ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่น
ตารางเทียบเสียง
[แก้]เสียงพยัญชนะ
[แก้]อักษรโรมัน | เงื่อนไข | เสียง | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ |
---|---|---|---|---|---|
b | b | บ | obi | โอะบิ | |
konbanwa | คมบังวะ | ||||
ch | พยางค์แรก | t͡ɕʰ | ช | chiisai, chīsai | ชีซะอิ |
พยางค์อื่น | t͡ɕ | ช | konnichiwa[# 1] | คนนิชิวะ | |
d | d | ด | denwa | เด็งวะ | |
Yamada | ยะมะดะ | ||||
f | ɸ | ฟ | Fujisan | ฟุจิซัง | |
fune | ฟุเนะ | ||||
g | พยางค์แรก | ɡ | ก | ginkoo, ginkō | กิงโก |
พยางค์อื่น | ŋ, ɡ~ɣ | ง[# 2] | arigatoo, arigatō | อะริงะโต | |
h | ตามด้วย a, e, o | h | ฮ | hashi | ฮะชิ |
ตามด้วย i | ç | ฮ | Hiroshima | ฮิโระชิมะ | |
j | d͡ʑ~ʑ | จ | kaji | คะจิ | |
k | พยางค์แรก | kʰ | ค | kao | คะโอะ |
พยางค์อื่น | k | ก[# 3] | niku | นิกุ | |
-kk | k̚k | กก | gakkoo, gakkō | กักโก | |
m | m | ม | mado | มะโดะ | |
n | ต้นพยางค์และตามด้วย a, e, o, u | n | น | Nagoya | นะโงะยะ |
ต้นพยางค์และตามด้วย i | ɲ | น | konnichiwa | คนนิชิวะ | |
n เมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์จะออกเสียงได้หลายอย่าง จึงกำหนดไว้ดังนี้
| |||||
p | พยางค์แรก | pʰ | พ | pen | เพ็ง |
พยางค์อื่น | p | ป[# 4] | tenpura | เท็มปุระ | |
-pp | p̚p | ปป | Nippon | นิปปง | |
r | ɾ | ร | ringo | ริงโงะ | |
s | s | ซ | sakana | ซะกะนะ | |
sh | ɕ | ช | sashimi[# 5] | ซะชิมิ | |
-ss | sː | สซ | kissaten | คิสซะเต็ง | |
-ssh | ɕː | สช | zasshi | ซัสชิ | |
t | พยางค์แรก | tʰ | ท | te | เทะ |
พยางค์อื่น | t | ต[# 6] | migite | มิงิเตะ | |
-tch, -cch | t̚t͡ɕ | ตช | itchi, icchi | อิตชิ | |
tsu | t͡sɯ | สึ | tsukue | สึกุเอะ | |
-ttsu | t̚t͡sɯ | ตสึ | mittsu | มิตสึ | |
w | ɰ | ว | watashi | วะตะชิ | |
y | j | ย | yama | ยะมะ | |
z | d͡z~z | ซ | mizu | มิซุ |
- หมายเหตุ
- ↑ chi ในบางแห่งอาจเขียนเป็น ti โดยออกเสียงเหมือน chi
- ↑ พยัญชนะ g ในพยางค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พยางค์แรกจะออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง ง ในภาษาไทย จึงกำหนดให้ใช้ ง
- ↑ พยัญชนะ k ในพยางค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พยางค์แรกจะออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง ก ในภาษาไทย จึงกำหนดให้ใช้ ก
- ↑ พยัญชนะ p ในพยางค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พยางค์แรกจะออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง ป ในภาษาไทย จึงกำหนดให้ใช้ ป
- ↑ shi ในบางแห่งอาจเขียนเป็น si โดยออกเสียงเหมือน shi
- ↑ พยัญชนะ t ในพยางค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พยางค์แรกจะออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง ต ในภาษาไทย จึงกำหนดให้ใช้ ต
เสียงสระ
[แก้]อักษรโรมัน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ |
---|---|---|---|---|
A | ||||
a | a | –ะ, –ั | yama | ยะมะ |
sakura | ซะกุระ | |||
gakkoo, gakkō | กักโก | |||
san | ซัง | |||
aa, ā | aː | –า | okaasan, okāsan | โอะกาซัง |
obaasan, obāsan | โอะบาซัง | |||
E | ||||
e | e | เ–ะ, เ–็ | ike | อิเกะ |
fune | ฟุเนะ | |||
denwa | เด็งวะ | |||
sensei | เซ็นเซ | |||
ee, ē | eː | เ– | ee, ē | เอ |
oneesan, onēsan | โอะเนซัง | |||
ei | eː | เ– | sensei | เซ็นเซ |
I | ||||
i | i | –ิ | kin | คิง |
kaki | คะกิ | |||
hashi | ฮะชิ | |||
ii, ī | iː | –ี | oniisan, onīsan | โอะนีซัง |
oishii, oishī | โอะอิชี | |||
O | ||||
o | o | โ–ะ, โ–ะ (ลดรูป) | ocha | โอะชะ |
kome | โคะเมะ | |||
Nippon | นิปปง | |||
konnichiwa | คนนิชิวะ | |||
oo, ō | oː | โ– | otoosan, otōsan | โอะโตซัง |
sayoonara, sayōnara | ซะโยนะระ | |||
U | ||||
u | ɯ | –ุ | shinbun | ชิมบุง |
isu | อิซุ | |||
Suzuki | ซุซุกิ | |||
uu, ū | ɯː | –ู | juuyoo, jūyō | จูโย |
juusho, jūsho | จูโชะ | |||
Y[# 1] | ||||
-ya | ʲa | เ–ียะ | kyaku | เคียะกุ |
hyaku | เฮียะกุ | |||
-yaa, -yā | ʲaː | เ–ีย | nyaanyaa, nyānyā | เนียเนีย |
-yo | ʲo | เ–ียว | ryokoo, ryokō | เรียวโก |
-yoo, -yō | ʲoː | เ–ียว | byooin, byōin | เบียวอิง |
ryoori, ryōri | เรียวริ | |||
-yu | ʲɯ | –ิว | kyu | คิว |
-yuu, -yū | ʲɯː | –ีว | kyuukoo, kyūkō | คีวโก |
- หมายเหตุ
- ↑ รูปเขียน y ออกเสียงกึ่งสระเมื่อตามหลังพยัญชนะ จึงกำหนดให้เป็นเสียงสระเพื่อความสะดวกในการออกเสียง
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น อาหรับ และมลายู ลงวันที่ 5 มีนาคม 2535
- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น และมลายู ลงวันที่ 13 มีนาคม 2561