ทับทิม (อัญมณี)
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
ทับทิม | |
---|---|
ทับทิมคริสตัลจาก ภูมิภาคโดโดมา, แทนซาเนีย | |
การจำแนก | |
ประเภท | แร่ออกไซด์ |
สูตรเคมี | อะลูมิเนียมออกไซด์ กับ โครเมียม, Al2O3:Cr |
คุณสมบัติ | |
สี | สีส้มแดงถึงแดงเข้มอมม่วง |
รูปแบบผลึก | Terminated tabular hexagonal prisms |
โครงสร้างผลึก | ไตรโกนอล |
แนวแตกเรียบ | ไม่มีที่แท้จริง |
รอยแตก | Conchoidal, splintery |
ความยืดหยุ่น | เปราะ |
ค่าความแข็ง | 9.0 |
ความวาว | Subadamantine, vitreous, pearly (on partings) |
ดรรชนีหักเห | nω=1.768–1.772 nε=1.760–1.763 |
คุณสมบัติทางแสง | Uniaxial/− |
ค่าแสงหักเหสองแนว | 0.008 to 0.010 |
การกระจายแสง | 0.018 |
การเปลี่ยนสี | เข้ม: ม่วง-แดง – ส้ม-แดง |
การเรืองแสงอัลตราไวโอเลต | สีแดงใต้คลื่นยาว |
สีผงละเอียด | สีขาว |
ความถ่วงจำเพาะ | 3.97–4.05 |
ความโปร่ง | โปร่งใส, โปร่งแสง |
อ้างอิง: [1] |
ทับทิม, มณี, รัตนราช หรือ ปัทมราช (อังกฤษ: Ruby) เป็นรัตนชาติชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลคอรันดัม (Corundum) เช่นเดียวกับบุษราคัม ไพลิน เขียวส่องและ Fancy sapphire มีความแข็งรองจากเพชร เป็นที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับมาก เพราะมีสีสวยและมีความแข็งแกร่งเปล่งประกายจับตา เป็นที่นิยมมากกว่าอัญมณีสีแดงชนิดอื่น ๆ
มนุษย์รู้จักทับทิมมานาน กษัตริย์มักนำมาประดับมงกุฏและสวมใส่ออกขณะรบ เป็นที่แพร่หลายมาก ๆ ในชมพูทวีป ทับทิมในภาษาสันสกฤตโบราณคือ "ratanraj" หมายถึงเจ้าแห่งอัญมณีทั้งปวง จนทับทิมถูกขนานนามว่าอัญมณีแห่งราชา ในประเทศไทยนั้นถือว่าทับทิมเป็นอัญมณีหนึ่งในนพรัตน์
โดยธรรมชาตินั้นทับทิมมักมีเนื้อขุ่น ตำหนิมากบางชิ้นทึบแสงดูไม่สวยงามดังนั้นทับทิมในท้องตลาดส่วนใหญ่ผ่านการเพิ่มคุณภาพด้วยความร้อนมาแทบทั้งสิ้น สีที่นับว่าหายากและราคาแพงมหาศาล คือ สีแดงสดแบบเลือดนกพิราบเนื้อใสสะอาดสมบูรณ์แบบทั้งสัดส่วนและประกายขนาด 3-4 กะรัตอาจจะมีราคาสูงกว่า 7 หลัก ถ้าสูงกะรัตกว่านี้จะหายากมาก ๆ ราคาอาจถึง 8 หลักเลยทีเดียว สีแดงอมชมพูก็เป็นที่นิยมอย่างมากส่วนใหญ่มาจากพม่า มีราคาสูงมาก นอกจากนั้นทับทิมยังมีการเกิดปรากฏการณ์สตาร์ มีลักษณะสาแหรกเนดาว 6 แฉกอยู่กลางพลอย ชนิดนี้ก็มีราคาสูงจะเจียระไนทรงหลังเต่า หลังเบี้ยแต่ควรระวังของปลอม ปัจจุบันมีการทำ "ดาวปลอม" ด้วยการดิฟิวชั่น ข้อสังเกตคือของธรรมชาติจะไม่มีเส้นแฉกดาวคมชัดและเห็นยาวไม่จนถึงก้น ลักษณะขาดาวอาจเลือน ๆ และดูเหมือนอยู่ลึกลงไปในพลอย ก้นพลอยอาจไม่มีการเจียระไนแต่โกลนไว้เฉย ๆ ก็ได้ ทับทิมที่มีความงาม ประกายดีและสะอาดจะถูกเจียระไนแบบเหลี่ยมประกาย ส่วนที่มีตำหนิมักเจียระไนแบบหลังเต่าหรือหลังเบี้ย
ลักษณะของทับทิม
[แก้]- องค์ประกอบทางเคมี (Chemical composition): อะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3, Aluminium oxide)
- ระบบผลึก (Crystal system): ไตรโกนอล (Trigonal)
- ค่าความแข็ง (Hardness): 9
- สี (Colour): แดง, แดงม่วง, แดงเข้ม, แดงชมพู เนื่องจากธาตุโครเมียม
- แหล่งที่พบ (Localities): ไทย, พม่า, กัมพูชา, เวียดนาม, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ศรีลังกา, แทนซาเนีย
เป็นทับทิมที่มีลักษณะเหมือนมีสีขาวปนพาดผ่าน แทรกอยู่กับทับทิมสีแดง ชาวเหนือถือเป็นสิริมงคล อนึ่งคำว่า "กินบ่เซี่ยง" หมายความว่ากินไม่หมดนั่นเอง
การเลือกซื้อทับทิม
[แก้]เลือกชิ้นที่มีตำหนิภายในให้น้อยที่สุด ไร้รอยร้าวแตกมาถึงภายนอก ไม่ควรเลือกทับทิมที่มีตำหนิสีแตกต่างจากสีเนื้อพลอยเช่น ผลึกสีดำ, ฝ้าสีขาว, เหลือบหิน สีของทับทิมคุณภาพดีจะไม่มืด แลดูคล้ำไม่มีประกายไฟควรเลือกที่มีสีเต็มทั่วทั้งเม็ดพลอย ประกายไฟดี ส่วนสีจะเป็นแดงเข้มสด, แดงสด, แดงอมชมพู, แดงอมส้มแล้วแต่ความชื่นชอบ แต่สีแดงเข้มจะมีมูลค่าสูงที่สุด การเจียระไนสมส่วนเหมาะกับการนำไปใช้งาน
ควรระวังพลอยชนิดอื่นที่มีการค้าในนามทับทิม เช่น บัลลาสรูบี้ ทับทิมบ่อใหม่ อย่าง Spinel ที่มีสีแดงเหมือนกันมากแต่ทับทิมนั้นป็นพลอยหักเหคู่มีเฉดสีที่ต่างออกไปเมื่อมองจากทิศทางตรงข้ามแกนแสง ต่างจากสปิเนล ที่เป็นพลอยหักเหเดี่ยว มองจากมุมใดก็มีสีไม่เปลี่ยนไป
แหล่งข้อมูล
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทับทิม
- ↑ Ruby on Gemdat.org เก็บถาวร กันยายน 3, 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน