ข้ามไปเนื้อหา

ทังสเตนคาร์ไบด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทังสเตนคาร์ไบด์
α-Tungsten carbide in the unit cell
ชื่อ
IUPAC name
ทังสเตนคาร์ไบด์
ชื่ออื่น
ทังสเตน(IV) คาร์ไบด์
ทังสเตนเตตระคาร์ไบด์
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ECHA InfoCard 100.031.918 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 235-123-0
  • InChI=1S/C.W/q-1;+1 ☒N
    Key: UONOETXJSWQNOL-UHFFFAOYSA-N ☒N
  • (W+≡C): [C-]#[W+]
คุณสมบัติ
WC
ลักษณะทางกายภาพ ของแข็งสีเทาดำมันวาว
ความหนาแน่น 15.6 g/cm3
จุดหลอมเหลว 2,785–2,830 °C (5,045–5,126 °F; 3,058–3,103 K)[2][1]
จุดเดือด 6,000 องศาเซลเซียส (10,830 องศาฟาเรนไฮต์; 6,270 เคลวิน)
at 760 mmHg[1]
ไม่ละลาย
ความสามารถละลายได้ ละลายใน HNO3, HF
โครงสร้าง
หกเหลี่ยม, hP2[3]
P6m2, No. 187[3]
6m2[3]
ปริซึมรูปสามเหลี่ยม
อุณหเคมี
39.8 J/(mol·K)[4]
Std molar
entropy
(S298)
32.1 J/mol·K
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนอื่น ๆ
ทังสเตนบอไรด์
ทังสเตนไนไตรด์
แคทไอออนอื่น ๆ
โมลิบดีนัมคาร์ไบด์
ไทเทเนียมคาร์ไบด์
ซิลิคอนคาร์ไบด์
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ทังสเตนคาร์ไบด์ (อังกฤษ: tungsten carbide) มีสูตรเคมีคือ WC ในรูปพื้นฐานจะมีลักษณะเป็นผงสีเทาละเอียด มี 2 โครงสร้างคือแบบหกเหลี่ยม (α-WC) และแบบลูกบาศก์ (β-WC)

ทังสเตนคาร์ไบด์เตรียมได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างทังสเตนกับคาร์บอนที่อุณหภูมิ 1400–2000 °C[5] หรือให้ความร้อนกับทังสเตนไตรออกไซด์และแกรไฟต์โดยตรงที่ 900 °C หรือในแก๊สไฮโดรเจนที่ 670 °C ตามด้วยการคาร์บิวไรเซชันในแก๊สอาร์กอนที่ 1000 °C[6] หรือใช้วิธีการเคลือบด้วยไอเคมี เช่น:[5]

  • ทำปฏิกิริยาระหว่างทังสเตนเฮกซะคลอไรด์กับไฮโดรเจนและมีเทนที่อุณหภูมิ 670 องศาเซลเซียส (1,238 องศาฟาเรนไฮต์)
WCl6 + H2 + CH4 → WC + 6 HCl
WF6 + 2 H2 + CH3OH → WC + 6 HF + H2O

ทังสเตนคาร์ไบด์มีจุดหลอมเหลวที่ 2,870 °C (5,200 °F) และจุดเดือดที่ 6,000 °C (10,830 °F) มีความแข็งระดับ 9 ตามมาตราโมสและประมาณ 2600 ตามมาตราวิกเคอส์[7] ทังสเตนคาร์ไบด์มีความแข็งเกร็งมากกว่าเหล็กกล้าประมาณ 2 เท่า มีค่ามอดุลัสของยังประมาณ 530–700 GPa (77,000–102,000 ksi)[4][8][7][9] โมดูลัสของแรงบีบอัด 630–655 GPa และโมดูลัสของแรงเฉือน 274 GPa[10]

ด้วยคุณสมบัติความแข็งและทนความร้อนสูง ทังสเตนคาร์ไบด์จึงใช้ทำเป็นเครื่องมือตัดหรือหัวเจาะ ใช้ทำกระสุนเจาะเกราะ เครื่องมือผ่าตัด อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับและอื่น ๆ

แหวนทังสเตนคาร์ไบด์

ความเป็นพิษ

[แก้]

การสูดดมฝุ่นผงทังสเตนคาร์ไบด์อาจก่อให้เกิดพังผืดในปอด[11] และซีเมนต์ทังสเตนคาร์ไบด์-โคบอลต์อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ตาม National Toxicology Program[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ shthcc
  2. Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 4.96. ISBN 1439855110.
  3. 3.0 3.1 3.2 Kurlov, p. 22
  4. 4.0 4.1 Blau, Peter J. (2003). Wear of Materials. Elsevier. p. 1345. ISBN 978-0-08-044301-0.
  5. 5.0 5.1 Pierson, Hugh O. (1992). Handbook of Chemical Vapor Deposition (CVD): Principles, Technology, and Applications. William Andrew Inc. ISBN 0-8155-1300-3.
  6. Zhong, Y.; Shaw, L. (2011). "A study on the synthesis of nanostructured WC–10 wt% Co particles from WO
    3
    , Co
    3
    O
    4
    , and graphite". Journal of Materials Science. 46 (19): 6323–6331. Bibcode:2011JMatS..46.6323Z. doi:10.1007/s10853-010-4937-y.
  7. 7.0 7.1 Groover, Mikell P. (2010). Fundamentals of Modern Manufacturing: Materials, Processes, and Systems. John Wiley & Sons. p. 135. ISBN 978-0-470-46700-8.
  8. Kurlov, p. 3
  9. Cardarelli, François (2008). Materials Handbook: A Concise Desktop Reference. Springer Science & Business Media. pp. 640–. ISBN 978-1-84628-669-8.
  10. Kurlov, pp. 30, 135
  11. Sprince, NL.; Chamberlin, RI.; Hales, CA.; Weber, AL.; Kazemi, H. (1984). "Respiratory disease in tungsten carbide production workers". Chest. 86 (4): 549–557. doi:10.1378/chest.86.4.549. PMID 6434250.
  12. "12th Report on Carcinogens". National Toxicology Program. สืบค้นเมื่อ 2011-06-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]