ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลสาบออนแทรีโอ

พิกัด: 43°42′N 77°54′W / 43.7°N 77.9°W / 43.7; -77.9
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบออนแทรีโอ
ทะเลสาบออนแทรีโอมองเห็นได้จากสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2013
สารสีเหลืองขุ่นคือสาหร่ายสะพรั่ง
ทะเลสาบออนแทรีโอตั้งอยู่ในรัฐออนแทรีโอ
ทะเลสาบออนแทรีโอ
ทะเลสาบออนแทรีโอ
แผนที่วัดน้ำของทะเลสาบออนแทรีโอ[1][2][3] จุดที่ลึกที่สุดจะมีเครื่องหมาย "×"[4]
ที่ตั้งอเมริกาเหนือ
กลุ่มเกรตเลกส์
พิกัด43°42′N 77°54′W / 43.7°N 77.9°W / 43.7; -77.9
ชนิดของทะเลสาบน้ำแข็ง
ชื่อในภาษาแม่Niigaani-gichigami (โอจิบเว)
นิรุกติศาสตร์Ontarí:io, a Huron (Wyandot) คำมีความหมายว่า "great lake"
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำไนแอการา
แหล่งน้ำไหลออกแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์
พื้นที่รับน้ำ24,720 ตารางไมล์ (64,000 ตารางกิโลเมตร)[5]
ประเทศในลุ่มน้ำแคนาดาและสหรัฐ
ช่วงยาวที่สุด193 ไมล์ (311 กิโลเมตร)[6]
ช่วงกว้างที่สุด53 ไมล์ (85 กิโลเมตร)[6]
พื้นที่พื้นน้ำ7,323 ตารางไมล์ (18,970 ตารางกิโลเมตร)[5]
ความลึกโดยเฉลี่ย283 ฟุต (86 เมตร)[6][7]
ความลึกสูงสุด802 ฟุต (244 เมตร)[6][7]
ปริมาณน้ำ391.4 ลูกบาศก์ไมล์ (1,631 ลูกบาศก์กิโลเมตร)[6]
เวลาพักน้ำ6 ปี
ความยาวชายฝั่ง1634 ไมล์ (1,020 กิโลเมตร) บวก 78 ไมล์ (126 กิโลเมตร) สำหรับเกาะ[8]
ความสูงของพื้นที่243 ฟุต (74 เมตร)[6]
เมืองโทรอนโต รัฐออนแทรีโอ
มิสซิสซอกา รัฐออนแทรีโอ
ฮามิลตัน รัฐออนแทรีโอ
รอเชสเตอร์ รัฐนิวยอร์ก
อ้างอิง[7]
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

ทะเลสาบออนแทรีโอ (อังกฤษ: Lake Ontario) เป็นทะเลสาบหนึ่งในจำนวนห้าทะเลสาบในภูมิภาคเกรตเลกส์ ทางด้านทิศเหนือติดกับรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ส่วนทางด้านใต้ติดกับคาบสมุทรไนแอการาและรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นทะเลสาบที่เล็กที่สุดและเป็นทะเลสาบเดียวที่ไม่มีพรมแดนติดกับรัฐมิชิแกนของสหรัฐอเมริกา

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

[แก้]

ทะเลสาบออนแทรีโอ เป็นทะเลสาบที่มีขนาดเล็กที่สุดในภูมิภาคเกรตเลกส์ โดยมีพื้นที่ประมาณ 19,529 ตารางกิโลเมตร[7] แต่มีปริมาณน้ำมากกว่าทะเลสาบอีรี โดยมีปริมาณทั้งสิ้น 1,640 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งเป็นอันดับที่ 14 ของโลก คือมีความยาวทั้งสิ้น 1,146 กิโลเมตร

ทะเลสาบออนแทรีโอตั้งอยู่ที่ความสูง 75 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มีความกว้าง 85 กิโลเมตร และมีความยาว 311 กิโลเมตร มีระดับความลึกเฉลี่ย 86 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 244 เมตร

มีแม่น้ำไนแอการาไหลเข้ามาจากทะเลสาบอีรี มีแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ไหลออกจากทะเลสาบสู่มหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำอื่นๆที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำดอน แม่น้ำฮัมเมอร์ แม่น้ำเทรนท์ สถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจอีก เช่น อ่าวแฮร์มิลตัน อ่าวควินตี เกาะโทรอนโต เกาะทาวแซนด์ และเกาะวูลฟ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลสาบออนแทรีโอ ตั้งอยู่ไกล้กับเมืองคิงสตัน ปากแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ซึ่งเป็นจุดที่มีเรือโดยสารข้ามฝากระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

อ้างอิง

[แก้]
  1. National Geophysical Data Center เก็บถาวร มีนาคม 23, 2015 ที่ Wikiwix, 1999. Bathymetry of Lake Ontario. National Geophysical Data Center, NOAA. doi:10.7289/V56H4FBH [access date: March 23, 2015].
  2. National Geophysical Data Center เก็บถาวร มีนาคม 23, 2015 ที่ Wikiwix, 1999. Bathymetry of Lake Erie and Lake Saint Clair. National Geophysical Data Center, NOAA. doi:10.7289/V5KS6PHK [access date: March 23, 2015]. (only small portion of this map)
  3. National Geophysical Data Center, 1999. Global Land One-kilometer Base Elevation (GLOBE) v.1. เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 24, 2011 ที่ Wikiwix Hastings, D. and P.K. Dunbar. National Geophysical Data Center, NOAA. doi:10.7289/V52R3PMS [access date: March 16, 2015].
  4. "About Our Great Lakes: Tour". National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) – Great Lakes Environmental Research Laboratory (GLERL). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2011. สืบค้นเมื่อ April 2, 2015. Google Earth Great Lakes Tour GreatLakesTour_Merged.kmz เก็บถาวร มกราคม 5, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 5.0 5.1 "Great Lakes: Basic Information: Physical Facts". U.S. Government. May 25, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2012. สืบค้นเมื่อ November 12, 2011.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "Great Lakes Atlas: Factsheet #1". United States Environmental Protection Agency. April 11, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2011. สืบค้นเมื่อ November 12, 2011.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Wright 2006, p. 64.
  8. Shorelines of the Great Lakes เก็บถาวร เมษายน 5, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]