ทองวิน พมวิหาน
ทองวิน พมวิหาน | |
---|---|
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งลาว | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม 2534 – 21 พฤศจิกายน 2535 | |
ก่อนหน้า | คำสุก วงวิจิด |
ถัดไป | บุนมา พูมสะหวัน |
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีลาว | |
ดำรงตำแหน่ง 8 สิงหาคม 2518 – 15 สิงหาคม 2534 | |
ก่อนหน้า | อาลีน แกลร์ อาลาร์ |
ถัดไป | ทองวัน สีพันดอน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2481 เวียงจันทน์ ลาวในอารักขาของฝรั่งเศส |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาชนปฏิวัติลาว |
คู่สมรส | ไกสอน พมวิหาน (พ.ศ. 2497–2535) |
บุตร | 6 คน[1] |
ทองวิน พมวิหาน (ลาว: ທອງວິນ ພົມວິຫານ; เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2481) เป็นนักการเมืองหญิงชาวลาว เป็นสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และเป็นภรรยาของไกสอน พมวิหาน อดีตประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของประเทศลาว ทองวินมีความสนใจด้านการเมืองมาตั้งยังเยาว์ โดยเธอเข้าร่วมกับลาวอิสระตั้งแต่เธออายุได้ 13 ปี จากนั้นก็เข้าร่วมกับขบวนการปะเทดลาว[1]
ทองวินสมรสกับไกสอน พมวิหาน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ขณะเธออายุได้ 16 ปี ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 6 คน[1] มีเท่าที่ปรากฏชื่อ ได้แก่
- ไซสมพอน พมวิหาน (เกิด 12 ธันวาคม พ.ศ. 2497)
- ทองสะหวัน พมวิหาน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2507)
- สันยาฮัก พมวิหาน (16 มิถุนายน พ.ศ. 2511 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556) สมรสกับออละวัน พมวิหาน มีบุตรด้วยกันสี่คน[2]
- สันติพาบ พมวิหาน
ทองวินยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางสหภาพเยาวชนประชาชนปฏิวัติลาว ตั้งแต่ พ.ศ. 2531–2536[3] ในเวลาต่อมาทองวินได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการกลางของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ในการประชุมแห่งชาติครั้งที่ 3 และรั้งตำแหน่งดังกล่าวจนถึงวาระประชุมแห่งชาติครั้งที่ 5[3]
แต่หลังการถึงแก่อสัญกรรมของสามี ทองวินได้หันหลังให้กับการเมือง โยกย้ายไปพำนักอยู่แขวงสุวรรณเขต แล้วหวนกลับเข้าสู่ร่มเงาแห่งพระศาสนาด้วยการสร้างวัดแห่งใหม่ที่นั่น[4]
เครื่องอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Stuart-Fox 2008, p. 499.
- ↑ "พล.ต.สัญญาฮัก พมวิหาน รมช.กลาโหมลาว ลูกชาย "ไกสอน" สิ้นลม". ผู้จัดการออนไลน์. 19 กรกฎาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 Stuart-Fox 2008, p. 349.
- ↑ Stuart-Fox 2008, p. 500.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (12ง): 632. 21 มกราคม 2535.
บรรณานุกรม
[แก้]- Stuart-Fox, Martin (2008). Historical Dictionary of Laos. Scarecrow Press. ISBN 978-0-81086-411-5.