ทหารจิงโจ้
ทหารจิงโจ้ | |
---|---|
ทหารจิงโจ้แต่งกายอย่างสกอต ในภาพเข้าใจว่าคือเจ้าจอมมารดาเขียน | |
ประเทศ | สยาม |
ขึ้นต่อ | พระมหากษัตริย์สยาม |
รูปแบบ | ทหารรักษาพระองค์ฝ่ายใน |
ขึ้นกับ | กรมโขลน |
กองบัญชาการ | พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร |
ทหารจิงโจ้ หรือโดยย่อว่า จิงโจ้ เป็นชื่อเรียกทหารหญิงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] อยู่ในสังกัดกรมโขลน เมื่อใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน จะโปรดเกล้าให้เจ้าจอมตัวโปรดตามเสด็จด้วย เรียกว่า "นางนายทหารรักษาพระองค์"[2] ทรงให้มีการหัดโขลนซึ่งคือสตรีที่ทำหน้าที่คล้ายตำรวจคอยดูแลความสะดวกในพระบรมมหาราชวังไปเป็นทหาร เดิมเรียกว่า "ทหารหญิง" แต่งกายด้วยอาภรณ์สีแดง กางเกงขายาวสีแดง นุ่งกระโปรงลายสกอต ชายเสื้อยาวถึงเข่า สวมหมวกแก๊ปทรงสูง และมีกระเป๋าหน้าท้องด้านหน้า[2] แต่จากเครื่องแต่งกายที่ดูรุงรัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกทหารหญิงเหล่านี้ว่า "จิงโจ้"[3][4]
นอกจากนี้ทหารจิงโจ้ยังใช้รูปแบบคำสั่งที่แตกต่างไปจากทหารอื่น ๆ เช่น วันทยาวุธ จะใช้คำว่า จิงโจ้กัด, บ่าอาวุธ จะใช้ว่า จิงโจ้หยุด และเรียบอาวุธ จะใช้ว่า จิงโจ้นอน เป็นต้น[3][4]
ในโคลงดั้นเรื่อง โสกันต์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2415 กล่าวถึงทหารจิงโจ้ไว้ ความว่า[3][4]
๏ จิงโจ้ยืนเรียบร้อย | ริมถนน | |
เสื้อจีบชายกระจาย | สุกจ้า |
ถือปืนทั่วทุกคน | พล่องแพล่ง | |
นายดาบเดินด้อมถ้า | ถ่องถนน |
๏ ขบวนเดินเป็นระเบียบคล้อย | คลาไป | |
พิณพากย์ทุกวงตี | สนั่นก้อง |
จิงโจ้เมื่อถึงใคร | คำนับ | |
เสียงจิงโจ้กัดร้อง | เร่าเร้ารุมระงม |
ทหารจิงโจ้ถูกยกเลิกเมื่อใดไม่เป็นที่ปรากฏ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พจนานุกรมฉบับมติชน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547, หน้า 231
- ↑ 2.0 2.1 ปรามินทร์ เครือทอง. พระจอมเกล้า พระเจ้ากรุงสยาม :เปิดกรุภาพเก่ากรุงสยามสมัยรัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547, หน้า 141
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ส. พลายน้อย (ตุลาคม 2541). "คำว่า "จิงโจ้" ในภาษาไทย ใช้เรียกอะไรบ้าง". สารคดี. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 กิเลน ประลองเชิง (17 มกราคม 2562). "เรื่องของจิงโจ้". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)