ทนง โพธิ์อ่าน
ทนง โพธิ์อ่าน | |
---|---|
เกิด | พ.ศ.2478 |
สาบสูญ | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2534 (56 ปี) กรุงเทพฯ, ประเทศไทย |
สถานะ | สูญหายมาแล้ว 33 ปี 4 เดือน 17 วัน |
ทนง โพธิ์อ่าน (อังกฤษ: Tanong Po-arn; อักษรโรมัน: thanong pho an) อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้าง สภาแรงงานแห่งประเทศไทย รองประธานสมาพันธ์แรงงานเสรีระหว่างประเทศภาคพื้นเอเซียแฟซิฟิค เลขาธิการสภาพแรงงานขนส่งสินค้าขาออก และโดยเป็นสมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมการประกันสังคม และผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง ได้หายสาบสูญไป เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ระหว่างคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534
การรัฐประหารปี พ.ศ. 2534
[แก้]เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ก่อรัฐประหารต่อต้านรัฐบาล ประกาศกฎอัยการศึก และยกเลิกรัฐธรรมนูญ[1][2] ไม่นานหลังจากการรัฐประหาร คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ยกเลิกสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจ ทำให้สมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 270,000 คนต้องสูญเสียสิทธิแรงงาน[3] ทนงทนงได้ประณามการประกาศใช้กฎอัยการศึกและความต้องการสลายพลังขบวนการแรงงานภาคเอกชนกับแรงงานรัฐวิสาหกิจออกจากกัน โดยได้แสดงทัศนะที่ชัดเจนแข็งกร้าวและคัดค้านคำสั่งต่อคณะ รสช. การเคลื่อนไหวของทนงได้รับการตอบรับจากขบวนการแรงงานสากลอย่างกว้างขวาง และได้เป็นผู้แทนคนงานไทยไปประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในช่วงวันที่ 3 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยเขาจะนำเรื่องการละเมิดสิทธิเสรีภาพคนงานไทยไปกล่าวในที่ประชุม ทำให้กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งห้ามไม่ให้ทนงเดินทางออกนอกประเทศ ทนงได้ร้องเรียนไปยัง ICFTU
การหายตัวไป
[แก้]ทนงมีกำหนดการที่จะเข้าร่วมการประชุมประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2534 เพื่อพูดเกี่ยวกับข้อจำกัดที่มีต่อกิจกรรมของสหภาพแรงงานไทย[4] คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ปฏิเสธไม่ให้ทนงเข้าร่วมการประชุม ก่อนที่ทนงจะหายตัวไป เขาก็บอกกภรรยาว่า “มีคนคอยตามอยู่ แต่ไม่ทราบว่าเป็นกลุ่มไหน เขาถูกข่มขู่และติดตามทุกฝีก้าว และสั่งเสียว่า ถ้าหายไป 3 วัน แสดงว่าถูกลักพาตัวไป หากไม่ติดต่อกลับมาภายใน 7 วัน”[3]
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2534 พบรถยนต์ว่างเปล่าของถนอมใกล้สำนักงานของเขาในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ หลังจากที่เขาหายตัวไป ครอบครัวของเขากลัวเรื่องสุขภาพของทนง เนื่องจากเขาอายุ 55 ปี เพราะทนงเป็นโรคเบาหวาน หากเครียดมากต้องฉีดยาอินซูลินเป็นประจำ หากช่วยไม่ทันก็อาจช็อก [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Baker, Chris; Phongpaichit, Pasuk (2009). A History of Thailand (2nd, paper ed.). Cambridge University Press. pp. 209, 246–247. ISBN 9780521759151.
- ↑ "February 1991 Coup". Global Security. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Amnesty International, Thailand: The "disappearance" of labour leader Tanong Pho-arn, 19 June 1991 เก็บถาวร 1 กันยายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, AI Index: ASA 39/007/2001, released 18 June 2001
- ↑ Brown, Andrew (2004). Labour, Politics, and the State in Industrializing Thailand. London, United Kingdom: Routledge. pp. 102–104, ISBN 0-415-31862-9.