ข้ามไปเนื้อหา

ทซาธอกกวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทซาธอกกวา (อักษรละติน: Tsathoggua) หรือ โชธาควา (อักษรละติน: Zhothaqquah) เป็นหนึ่งในเกรทโอลด์วันจากเรื่องชุดตำนานคธูลู มีฉายาว่า ผู้หลับใหลแห่งอึนไค (Sleeper of N'kai) โดยปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น The Tale of Satampra Zeiros ซึ่งคลาก แอชตัน สมิท ประพันธ์ในปีพ.ศ. 2472และได้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Weird Tales ฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474[1] แต่เรื่องแรกของทซาธอกกวาที่ได้รับการตีพิมพ์คือ The Whisperer in Darkness ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ ซึ่งประพันธ์ในปี 2473 และตีพิมพ์ใน Weird Tales ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2474

ทซาทอกกวา

ลักษณะ

[แก้]

ใน The Tale of Satampra Zeiros ตัวเอกของเรื่องได้บรรยายถึงลักษณะของทซาธอกกวาจากรูปปั้นที่เห็นว่ามีรูปร่างอ้วน ส่วนหัวเหมือนคางคก มีขนสั้นๆคลุมทั้งตัวทำให้ดูคล้ายกับค้างคาวและสลอธ มีดวงตาครึ่งหลับครึ่งตื่น และแลบปลายลิ้นออกมาจากปาก[2]

ในเรื่อง The Seven Geases สมิทได้บรรยายถึงทซาธอกกวาอีกครั้งว่า อยู่ในถ้ำใต้ภูเขาวูรมิธาเดรธ อ้วน มีขนสั้นๆแบบค้างคาว รูปร่างดูคล้ายกับคางคกที่กำลังหลับ และทซาธอกกวาจะไม่ยอมออกจากถ้ำนี้ไม่ว่าจะหิวแค่ไหน แต่จะรอรับเครื่องสังเวยอย่างขี้เกียจ มนุษย์ที่ทำให้ทซาธอกกวาตื่นจะถูกกิน เว้นแต่จะนำเครื่องสังเวยไปด้วย ซึ่งทซาธอกกวาจะกินเครื่องสังเวยแล้วก็นอนต่อไป

ในเรื่อง The Whisperer in Darkness เอช. พี. เลิฟคราฟท์ ไม่ได้กล่าวถึงขนแบบค้างคาว แต่กล่าวว่าเป็นเทพคางคกที่ไม่มีรูปร่างแน่นอนซึ่งมีชื่ออยู่ในข้อเขียนพนาโคติก, นีโครโนมิคอน และ ตำนานคอมโมเรียมซึ่งสืบทอดมาโดยนักบวชแห่งแอตแลนติส คลาแคช-ตัน[3] (ชื่อของนักบวชนี้แผลงมาจากชื่อของ คลาก แอชตัน สมิท)

และในเรื่อง The Horror in the Museum เลิฟคราฟท์ได้ระบุว่าทซาธอกกวานั้นสามารถเปลี่ยนรูปร่างของตนจากร่างแบบคางคกเป็นเส้นยาวที่มีขาจำนวนมากได้

ทซาธอกกวานั้นอยู่ในวิหารในอาณาจักร คุน ยัน ใต้หุบเขาวูรมิธาเดรธ วิหารของทซาธอกกวานั้น เอช. พี. เลิฟคราฟท์ได้บรรยายไว้ในเรื่อง The Mound ว่าเป็นวิหารเรียบๆที่สร้างจากอิฐหินบะซอลต์ซึ่งไม่มีการสลักใดๆเอาไว้และมีเพียงแท่นบูชาโอนิกซ์ว่างๆ

Formless spawn

[แก้]

ในเรื่อง The Tale of Satampra Zeiros คลาก แอชตัน สมิท ได้เขียนถึงอสูรไร้รูปร่าง (Formless spawn)ที่คอยรับใช้ทซาธอกกวาว่าเป็นของเหลวสีดำที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามต้องการ ลักษณะคล้ายกับพลาสติกแต่ยืดหยุ่นกว่ามาก สามารถเข้าไปในบริเวณใดๆได้แม้มีทางเข้าเพียงรอยแตกเล็กๆ โดยปกติแล้ว Formless spawn จะอยู่ในอ่างในวิหารของทซาธอกกวาและคอยป้องกันวิหารจากผู้ที่ไม่ใช่สาวก

ครอบครัว

[แก้]

สมิทนั้นจัดวางความสัมพันธ์ของเทพต่างๆในลักษณะครอบครัวที่ชัดเจนกว่าในเรื่องของเลิฟคราฟท์ โดยมีลักษณะคล้ายกับสภาเทพแห่งโอลิมปัส[4][5]และบรรยายถึงความสัมพันธ์นี้ไว้ใน แผ่นหนังพนอม[6] ซึ่งระบุว่าต้นตระกูลของทซาธอกกวานั้นสามารถโยงไปได้ถึงอซาธอท

  • ซัคซัคลูธ (Cxaxukluth) เป็นลูกที่เกิดจากการแตกตัวของอซาธอท อาศัยอยู่บนดาวยุกกอธ เป็นปู่ของทซาธอกกวา
  • กิสกุธ (Ghisguth) ลูกของซัคซัคลูธ เป็นพ่อของทซาธอกกวา
  • ฮซิอุลควอิกมนซาห์(Hziulquoigmnzhah) ลูกอีกตนของซัคซัคลูธ เป็นอาของทซาธอกกวา มีรูปร่างคล้ายกับหลาน แต่มีคอที่ยืดได้ ขาหน้าที่ยาว และขาสั้นๆจำนวนมาก ปัจจุบันนั้นฮซิอุลควอิกมนซาห์พำนักอยู่ที่ดาวไซครานอช (ดาวเสาร์)
  • ยิคนากนนิสซ (Ycnágnnisssz) เป็นยายของทซาธอกกวา
  • ไซสทุลเชมกนิ (Zystulzhemgni) ลูกที่เกิดจากการแตกตัวของยิคนากนนิสซ เป็นคู่ของกิสกุธและเป็นแม่ของทซาธอกกวา
  • ชาแธค (Shathak) คู่ครองของทซาธอกกวา
  • ซวิลพอกกวา (Zvilpogghua) ลูกของทซาธอกกวากับชาแธค เป็นเทพที่อินเดียนแดงเรียกว่า ออสซาดาโกวาห์ (Ossadagowah) มีลักษณะเป็นคางคกสองขา ไม่มีขาหน้า มีปีก คอยาว และใบหน้าที่เต็มไปด้วยหนวดระยาง
  • สฟาทลิคลลป (Sfatlicllp) เป็นลูกสาวของซวิลพอกกวา และเป็นหลานของทซาธอกกวา

The Tsathoggua Cycle

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2548 บริษัท Chaosium ได้จัดพิมพ์ The Tsathoggua Cycle ซึ่งรวมบทประพันธ์ที่มีทซาธอกกวาปรากฏตัวอยู่ด้วย The Tsathoggua Cycle ได้รับการเรียบเรียงโดยโรเบิร์ต เอ็ม ไพรซ์ ผู้ศึกษางานประพันธ์ของเลิฟคราฟท์

ภายในเล่มประกอบด้วย:

  • "From the Parchment of Pnom" โดย Clark Ashton Smith
  • "The Seven Geases" โดย Clark Ashton Smith
  • "The Testament of Athammaus" โดย Clark Ashton Smith
  • "The Tale of Satampra Zeiros" โดย Clark Ashton Smith
  • "The Theft of the Thirty-Nine Girdles" โดย Clark Ashton Smith
  • "Shadow of the Sleeping God" โดย James Ambuehl
  • "The Curse of the Toad" โดย Loay Hall and Terry Dale
  • "Dark Swamp" โดย James Anderson
  • "The Old One" โดย John Glasby
  • "The Oracle of Sadoqua" โดย Ron Hilger
  • "Horror Show" โดย Gary Myers
  • "The Tale of Toad Loop" โดย Stanley C. Sargent
  • "The Crawling Kingdom" โดย Rod Heather
  • "The Resurrection of Kzadool-Ra" โดย Henry J. Vester III

อ้างอิง

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Robert M. Price, "About 'The Tale of Satampra Zeiros'", The Tsathoggua Cycle, p. 56.
  2. Clark Ashton Smith, "The Tale of Satampra Zeiros", The Tsathoggua Cycle, p. 65.
  3. H. P. Lovecraft, "The Whisperer in Darkness", The Dunwich Horror and Others.
  4. Robert M. Price, recognizing that Smith's gods dwell beneath Mount Voormithadreth, remarked that is fitting that Smith's "Hyperborean Olymp[ians] should be under a mountain rather than atop one!" (Price, "About 'The Seven Geases'", The Tsathoggua Cycle, p. 8).
  5. Will Murray, "Introduction", The Book of Hyperborea.
  6. Clark Ashton Smith, "From the Parchments of Pnom", The Tsathoggua Cycle, pp. 2-7. Originally published as "The Family Tree of the Gods" in the The Acolyte (Summer 1934). URL accessed on April 29, 2006.

หนังสือ

[แก้]
  • Carter, Lin; Clark Ashton Smith (2002) [1984]. "The Feaster from the Stars". ใน Robert M. Price (บ.ก.). The Book of Eibon (1st ed.). Oakland, CA: Chaosium. ISBN 1-56882-129-8.
  • Harms, Daniel (1998). The Encyclopedia Cthulhiana (2nd ed.). Oakland, CA: Chaosium. ISBN 1-56882-119-0.
  • Lovecraft, Howard P.; Zealia Bishop (1989) [1940]. "The Mound". ใน S.T. Joshi (บ.ก.). The Horror in the Museum and Other Revisions. Sauk City, WI: Arkham House. ISBN 0-87054-040-8.
  • Lovecraft, Howard P. (1984) [1931]. "The Whisperer in Darkness". ใน S. T. Joshi (บ.ก.). The Dunwich Horror and Others (9th corrected printing ed.). Sauk City, WI: Arkham House. ISBN 0-87054-037-8. Definitive version.
  • Smith, Clark Ashton (1996). Will Murray (บ.ก.). The Book of Hyperborea. West Warwick, RI: Necronomicon Press. ISBN 0-940884-87-9.
  • Price, Robert M., บ.ก. (2005). The Tsathoggua Cycle (1st ed.). Oakland, CA: Chaosium. ISBN 1-56882-131-X.
  • Carter, Lin; Clark Ashton Smith (1976). The Year's Best Fantasy Stories 2. United States: DAW Books. ISBN 978-4-511-24812-0.
  • de Camp, L.Sprague; Lin Carter (1971). Conan The Buccaneer. New York, New York, United States: Ace Books. ISBN 0-441-11585-3.

เว็บไซต์

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]