ถ้ำผาลิง
![]() ปากถ้ำผาลิงด้านทิศใต้ | |
ตำแหน่งในประเทศลาว | |
ที่ตั้ง | แขวงหัวพัน ห่างจากกรุงเวียงจันทน์ไปทางทิศเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ 260 กม. |
---|---|
ภูมิภาค | เทือกเขาอันนัม |
พิกัด | 20°12′31″N 103°24′35″E / 20.20861°N 103.40972°E |
ค่าระดับความสูง | 1,170 m (3,839 ft)[1] |
ประเภท | ถ้ำ |
ส่วนหนึ่งของ | ภูผาฮาง |
ความยาว | 40 m (130 ft) |
ความกว้าง | 30 m (98 ft) |
ความเป็นมา | |
วัสดุ | หินปูน, คาสต์ |
สมัย | Upper Paleolithic, Middle Paleolithic |
เกี่ยวเนื่องกับ | Paleo-humans |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ขุดค้น | ตั้งแต่ปี 2551 (กำลังสำรวจ) [1] |
ผู้ขุดค้น | Fabrice Demeter, Laura Shackleford |
ถ้ำผาลิง (หรือ ถ้ำลิง) เป็นถ้ำในเทือกเขาอันนัม ในแขวงหัวพัน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว ตั้งอยู่ที่ตอนบนของภูผาฮาง ความสูง 1,170 m (3,840 ft) เหนือระดับน้ำทะเล
ซากบรรพชีวินของบรรพบุรุษมนุษย์ (hominin) จากแหล่งโบราณคดีถ้ำผาลิงอาจกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีความสาคัญอันดับต้นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากซากบรรพชีวินที่พบที่ในถ้ำนี้ถูกค้นพบไม่น้อยกว่า 3 ชิ้น และค่อนข้างสมบูรณ์กว่าซากบรรพชีวินจากแหล่งอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
- TPL1 กะโหลกของ มนุษย์สมัยใหม่ (Homo sapiens)
- TPL2 ขากรรไกรล่าง ที่มีคุณลักษณะทั้งของมนุษย์โบราณและมนุษย์สมัยใหม่
- TPL3 ขากรรไกรล่างบางส่วน ที่มีคุณลักษณะทั้งของมนุษย์โบราณและมนุษย์สมัยใหม่
ซากบรรพชีวินทั้งสามนี้พบอยู่คนละจุดและเป็นคนละคน ซึ่งแสดงว่ามีมนุษย์โบราณที่เคยใช้พื้นที่แหล่งถ้านี้อย่างน้อย 2 คน และมีอายุประมาณ 70,000 ถึง 46,000 ปีมาแล้ว[2] การค้นพบนี้บ่งชี้ว่ามนุษย์สมัยใหม่อาจอพยพไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เมื่อ 60,000 ปีมาแล้ว[3][4][5]
ที่ตั้งและธรณีวิทยา
[แก้]ถ้ำผาลิง มีปากถ้ำช่องเดียวที่หันหน้าไปทางทิศใต้และโถงถ้ำหลักอยู่ลึกลงมาจากปากถ้ำ 65 m (213 ft) ถ้ำนี้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายของคาสต์ ที่เกิดขึ้นจาก การสลายตัวของแนวหินปูนที่มีอายุในช่วงระหว่างยุคคาร์บอนิเฟอรัสและยุคเพอร์เมียน โถงถ้ำหลักมีขนาด 30 m (98 ft) วัดจากเหนือจรดใต้และ 40 m (130 ft) จากตะวันออกไปตะวันตก[6]
ซากบรรพชีวิน
[แก้]การขุดค้นทางด้านตะวันออกของโถงหลักของถ้ำที่ฐานลาดชันบริเวณปากทางเข้า เริ่มต้นดำเนินการโดยทีมนักวิจัยชาวอเมริกัน ฝรั่งเศส และลาว ในปี 2552[7][8]
การค้นพบซากบรรพชีวินครั้งแรกคือ หัวกะโหลก Hominin ชื่อ TPL1 ที่ระดับความลึก 2.35 m (7 ft 9 in) ในเดือนธันวาคม 2552 ขากรรไกรล่าง TPL2 ถูกค้นพบในปีถัดมาที่ระดับความลึก 2.65 m (8 ft 8 in) การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี และการวัดอายุจากการเปล่งแสงของตะกอนระดับเดียวกัน ทำให้ทราบอายุขั้นต่ำ 51,000 ถึง 46,000 ปี และการหาอายุโดยตรงจากยูเรเนียมทอเรียมของซากบรรพชีวิน บ่งชี้อายุสูงสุดที่ 63,000 ปี
ซาก TPL1 ประกอบด้วยกระดูกหน้าผาก ท้ายทอยบางส่วน ข้างขม่อม กระดูกขมับ และ ขากรรไกรขวาซ้าย และชุดฟันที่เกือบครบสมบูรณ์ ซากนี้ถูกระบุว่าเป็นของมนุษย์สมัยใหม่ที่มีคุณสมบัติเด่นของมนุษย์แอฟริกาใต้สะฮารา ในปี 2560 ซากนี้เป็นหลักฐานโครงกระดูกแรกสุดในการปรากฏตัวของ Homo sapiens ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2]
ขากรรไกรล่างของ TPL2 ถูกพบในชั้นหินจุดเดียวกับ TPL1 ในระยะต่ำลงมาเล็กน้อย และถูกบ่งชี้ว่าเป็นผู้ใหญ่ ซากนี้รวมเอาคุณลักษณะของมนุษย์โบราณ เช่น กระดูกขากรรไกรล่างที่หนาแข็งแรง และขนาดโดยรวมที่เล็ก ที่ตรงกับคุณลักษณะของมนุษย์สมัยใหม่ คือมีคางที่พัฒนาแล้ว[9][10]
ในปี 2556 นักวิจัยกู้ซากบรรพชีวินที่สามที่เป็นขากรรไกรล่างบางส่วน คือ TPL3 ที่ระดับความลึก 5.0 m (16.4 ft) ในจุดเดียวกันกับซากบรรพชีวินที่พบก่อนหน้านี้ ชิ้นส่วนกระดูกน่าจะเป็นของผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับTPL2 ซากบรรพชีวินTPL3 ถูกบ่งชี้คุณลักษณะทางกายวิภาคผสมผสานของมนุษย์โบราณกับมนุษย์สมัยใหม่ เช่น มีคางที่พัฒนาแล้ว แต่ไม่ได้มีร่างกายที่แข็งแรง แม้กระนั้น TPL3 ยังคงรักษาลักษณะของมนุษย์โบราณ เช่น วงโค้งกระดูกขากรรไกรล่างด้านหน้าที่กว้าง การหาอายุจากค่าการเรืองแสงของชั้นตะกอนระดับเดียวกับ TPL3 นั้น มีช่วงอายุตั้งแต่ประมาณ 70,000 ถึง 48,000 ปี[1]
ความสำคัญ
[แก้]ช่วงเวลาของการย้ายถิ่นของมนุษย์สมัยใหม่จากแอฟริกาไปยังเอเชียตะวันออกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากซากกระดูกต่างๆในเขตภูมิอากาศเขตร้อนชื้นได้รับการรักษาสภาพตามธรรมชาติที่ไม่ดีพอ ซากบรรพชีวินของมนุษย์ในภูมิภาคนี้จึงค้นพบได้ยาก
การค้นพบซากบรรพชีวินของมนุษย์ต่างๆเมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศจีน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และออสเตรเลีย ได้พิสูจน์ก่อนหน้านี้แล้วว่า(ซากบรรพชีวินของ)มนุษย์โบราณปรากฏขึ้นระหว่าง 125,000 ถึง 100,000 ปีที่แล้ว และมนุษย์สมัยใหม่ปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 40,000 ปีที่แล้ว การค้นพบซากบรรพชีวินมนุษย์สมัยใหม่ TPL1 ช่วยเติมเต็มช่องว่างช่วง 60,000 ปี ในบันทึกซากบรรพชีวินของมนุษย์
นอกจากนี้ ถ้ำผาลิง ตั้งอยู่บริเวณภายในพื้นทวีป คือไกลจากทะเลกว่าหนึ่งพันกิโลเมตร จึงเป็นการค้นพบที่ท้าทายข้อสันนิษฐานก่อนหน้านี้ที่ว่ามนุษย์อพยพออกจากแอฟริกาโดยเดินทางตามแนวชายฝั่ง ซึ่งการค้นพบที่ถ้ำผาลิงนี้อาจสันนิษฐานได้ว่าการโยกย้ายอาจดำเนินการไปตามหุบเขาแม่น้ำซึ่งทำหน้าที่เป็นทางเดินธรรมชาติผ่านพื้นทวีป[11]
ซากบรรพชีวินเหล่านี้ถูกย้ายไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาโดย นักบรรพมานุษยวิทยา ลอร่า แช็คเคิลฟอร์ด (Laura Shackleford) แฟไบรซ์ ดีเมเทอร์ (Fabrice Demeter) และทีมงาน ในเดือนเมษายน ปี 2559 ซากบรรพชีวินเหล่านี้ถูกส่งกลับไปยังประเทศลาวและปัจจุบันตั้งอยู่ในอาคารใหม่ของ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติลาว ในนครหลวงเวียงจันทน์[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Shackelford, Laura; Demeter, Fabrice; Westaway, Kira; Duringer, Philippe; Ponche, Jean-Luc; Sayavongkhamdy, Thongsa; Zhao, Jian-Xin; Barnes, Lani; Boyon, Marc; Sichanthongtip, Phonephanh; Sénégas, Frank; Patole-Edoumba, Elise; Coppens, Yves; Dumoncel, Jean; Bacon, Anne-Marie (2017). "Additional evidence for early modern human morphological diversity in Southeast Asia at Tam Pa Ling, Laos". Quaternary International. 466: 93–106. doi:10.1016/j.quaint.2016.12.002. ISSN 1040-6182.
- ↑ 2.0 2.1 https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1040618215302731?via%3Dihub
- ↑ http://www.fossilized.org/Human_paleontology/_sites_expanded.php?primy_key=10201124
- ↑ https://osf.io/preprints/socarxiv/75zhc/
- ↑ https://www.livescience.com/22527-tam-pa-ling-cave-human-remains.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-07.
- ↑ https://www.livescience.com/22527-tam-pa-ling-cave-human-remains.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-08-07.
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4388508
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-07.
- ↑ http://www.cbsnews.com/news/oldest-bones-from-modern-humans-in-asia-discovered/
- ↑ https://blogs.illinois.edu/view/6367/350359