ข้ามไปเนื้อหา

ถั่วลิสงนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถั่วลิสงนา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Desmodieae
เผ่าย่อย: Desmodiinae
สกุล: Alysicarpus
สปีชีส์: A.  vaginalis
ชื่อทวินาม
Alysicarpus vaginalis
(L.) DC. [S]

ถั่วลิสงนา ชื่ออื่น : หญ้าปล้องหวาย (ชลบุรี) คัดแซก (ปราจีนบุรี) หญ้าเกล็ดหอยใหญ่ (อ่างทอง) ถั่วลิสงนาเป็นพืชตระกูลถั่ว (Fabaceae) เท่าที่พบในธรรมชาติ ถั่วลิสงนาเป็นพืชที่เจริญได้ง่าย ไม่เลือกชนิดและสภาพของดินนัก และคงจะทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีพอสมควร จึงพบอยู่ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เข้าใจว่าเป็นถั่วพื้นเมืองของไทยด้วย ถั่วลิสงนาอาจมีชื่อท้องถิ่นที่เรียกกันได้ในแต่ละท้องที่ เช่น หญ้าน้ำผึ้ง หญ้าเถาถั่ว หญ้าถั่ว หรือถั่วนา ถั่วลิสงนามีโปรตีนถึง 16.2% นับได้ว่าถั่วลิสงนาเป็นถั่วอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับใช้ปรับปรุงทุ่งหญ้า จะทำเป็นหญ้าแห้งหรือปล่อยสัตว์ลงแทะเล็มก็ได้ เนื่องจากรากถั่วลิสงนายังสามารถสร้างปมราก (nodules) ซึ่งไปจับไนโตรเจนในอากาศเพื่อช่วยบำรุงดินได้ด้วย ในต่างประเทศ อาทิ ประเทศมาเลเซีย จะนำถั่วลิสงนามาใช้เป็นพืชสมุนไพร หรือประเทศจีนจะนำต้นแห้งของถั่วลิสงนามาตัดเป็นท่อนๆ ผสมกับชะเอมชงน้ำดื่มแทนน้ำชา ทำให้สดชื่น แก้อาการกระหายน้ำ

ลักษณะทั่วไป

[แก้]
ส่วนประกอบ ลักษณะที่พบ
ลำต้น ลำต้นกลมสีเขียว มีขนสั้น ๆ ปกคลุม เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 1-2 มิลลิเมตร

เลื้อยคลุมพื้นดินยาวประมาณ 30 – 100 เซนติเมตร

ใบ ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 1 - 2 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.6 – 0.9 เซนติเมตร

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ฐานใบเว้าเล็กน้อยและอาจมีใบรูปรีหรือรูปหอกปะปนอยู่บ้าง

ดอก ช่อดอกเป็นแบบ raceme ออกดอกตรงซอกใบหรือยอด กลีบดอกสีม่วง สีแดง

สีแดงแกมชมพูถึงสีขาวแกมน้ำตาลหรือสีขาวแกมชมพูอมส้ม มีเกสรตัวผู้ 10 อัน 9 อันติดกันเป็นหลอด และอีก 1 อันแยกเป็นอิสระ เกสรตัวเมียมี 1 อันสอดอยู่ในหลอดเกสรตัวผู้ยาวกว่าเกสรตัวผู้เล็กน้อย

ฝัก ฝักมีรูปทรงกระบอกกว้าง 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร

มีรอยคอดเป็นข้อๆ 1-8 ข้อ และหักได้เป็นข้อๆข้อละ 1 เมล็ด ฝักอ่อนมีสีเขียว พอแก่แล้วจะมีสีน้ำตาลปนดำ

ราก เป็นระบบรากแก้วและรากแขนงมีปมเล็กๆสีน้ำตาลเป็นจำนวนมาก
การเจริญ ออกดอกและติดเมล็ดช่วง กันยายนถึงเดือนธันวาคม

การขยายพันธุ์

[แก้]

ใช้เมล็ด หรือใช้ต้นใหม่ที่แตกออกจากต้นเดิม หรือไหล

แหล่งที่พบ

[แก้]

พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้นถั่วลิสงนาจะเจริญได้ดีในดินชุดโคราช

การใช้ประโยชน์

[แก้]
  1. นำมาเลี้ยงสัตว์
  2. ปรับปรุงและบำรุงดิน
  3. ใช้เป็นยารักษาโรคโดยนำรากมาต้มคั้นเอาน้ำรับประทานแก้อาการจุกเสียดและอาการไอ

การอ้างอิง

[แก้]
  • จินดา สนิทวงศ์ฯ และคณะ. 2521. รายงานผลการทดลองเรื่องการหาสัมประสัมประสิทธิ์การย่อยของถั่วลิสงนา (Alysicarpus vaginalis (Linn.) DC.. กองอาหารสัตว์, กรมปศุสัตว์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
  • นาฏยา สวัสดิ์พาณิชย์. การศึกษาสัณฐานวิทยาของถั่วลิสงนา(Alysicarpus vaginalis (Linn.) DC.. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ชีววิทยา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2526.
  • รายงานผลการทดลองเรื่องการใช้ถั่วลิสงนาเป็นอาหารเสริมปรตีนในหญ้าแห้งสำหรับโค. กองอาหารสัตว์, กรมปศุสัตว์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
  • เต็ม สมิตินันทน์. 1980. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. กรุมเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดฟันนี่พับบลิชชึ่ง.
  • เทียมใจ ตุลยาทร. 2523. กายวิภาคของพฤกษ์. ภาควิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  • วินดา เทพหัตถี. 2523. พจนานุกรมศัพท์พฤกษศาสตร์. สาขาพฤกษ์อนุกรมวิธาน, คณะวิทยาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10591 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • http://www.dld.go.th/nutrition/Research_Knowlage/...full/.../R2203.pdf[ลิงก์เสีย]
  • http://www.brrd.in.th/rkb/weed/index.php-file=content.php&id=31.htm เก็บถาวร 2016-07-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • http://www.rspg.or.th/plants_data/use/animals2_30.htm
  • http://www.rspg.or.th/plants_data/use/crop_3.htm