ข้ามไปเนื้อหา

ถั่งเช่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถั่งเช่า
ดอกเห็ด Ophiocordyceps sinensis (ซ้าย) เจริญเติบโตออกจากหัวของซากของหนอนผีเสื้อ (ขวา)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: เห็ดรา
หมวด: แอสโกไมโคตา
ชั้น: Sordariomycetes
อันดับ: Hypocreales
วงศ์: Ophiocordycipitaceae
สกุล: Ophiocordyceps

(Berk.) G.H.Sung, J.M.Sung, Hywel-Jones & Spatafora (2007)
สปีชีส์: Ophiocordyceps sinensis
ชื่อทวินาม
Ophiocordyceps sinensis
(Berk.) G.H.Sung, J.M.Sung, Hywel-Jones & Spatafora (2007)
ชื่อพ้อง[1]

Sphaeria sinensis Berk. (1843)
Cordyceps sinensis (Berk.) Sacc. (1878)

ดอกเห็ด (fruiting body) ของถั่งเช่าในธรรมชาติ O. sinensis (यार्सागुम्बा) ในภูมิภาคดอลโพ ของเนปาล ส่วนซากหนอน (corpus) ที่เป็นโฮสต์เป็นส่วนที่ฝังอยู่ในดิน
ถั่งเช่าแห้ง ขนาดต่าง ๆ
พ่อค้าในมณฑลชิงไห่ กำลังชั่งน้ำหนักถั่งเช่า

ถั่งเช่า หรือ ตังถั่งเช่า หรือชื่อเต็ม ตังถั่งแห่เช่า[2] (จีนตัวย่อ: 冬虫夏草; จีนตัวเต็ม: 冬蟲夏草; พินอิน: Dōngchóngxiàcǎo ตงฉงเซี่ยเฉา) หมายถึง "หญ้าหนอน" หรือ "ฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า" เป็นสมุนไพรจีนที่เป็นส่วนผสมของเห็ดราและสัตว์[3] เกิดจากหนอนผีเสื้อกลางคืนแถบที่ราบสูงทิเบตที่จำศีลอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว ถูกสปอร์ของเห็ดราที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในคน (ที่คนกินได้) ในสกุล Ophiocordyceps อาศัยเป็นปรสิตและเติบโตสร้างเส้นใยออกมาทางส่วนหัวของตัวหนอนในฤดูร้อน เห็ดชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ophiocordyceps sinensis

ถั่งเช่าพบในทิเบต มณฑลชิงไห่ มณฑลเสฉวน มณฑลกานซู มณฑลยูนนาน และแถบเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย ภูฏาน และเนปาล เห็ดถั่งเช่ามีสารสำคัญคอร์ดีเซพิน (Cordycepin) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของอะดีโนซีน[4] อย่างไรก็ตามถั่งเช่าที่เก็บเกี่ยวในธรรมชาติมักมีสารหนูและโลหะหนักอื่น ๆ ปะปนในปริมาณสูง[5] จึงอาจเป็นพิษได้ ในประเทศจีนการขายถั่งเช่าได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดโดย CFDA (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของจีน) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559[6]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

เห็ดถั่งเช่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ophiocordyceps sinensis (เดิมชื่อ Cordyceps sinensis)) เป็นที่รู้จักกันในภาษาจีนคือ ตงฉงเซี่ยเฉา และในภาษาไทยซึ่งทับศัพท์จากภาษาแต้จิ๋ว ตังทั้งแห่เฉ่า ชื่อภาษาท้องถิ่นอื่นคือ "ยาร์ตซากันบู" (ภาษาทิเบต: དབྱར་རྩྭ་དགུན་འབུ་, ไวลี: dbyar rtswa dgun 'bu, ตามตัวอักษร "หญ้าฤดูร้อน, หนอนฤดูหนาว") หรือ Yarsha-gumba หรือ Yarcha-gumba (यार्सागुम्बा ในภาษาเนปาล) หรือ Keeda Jadi (ရှီးပတီး ในภาษาพม่า)

นิเวศวิทยาและวงจรชีวิต

[แก้]

โดยทั่วไปหนอนผีเสื้อกลางคืนที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อสปอร์ของเห็ด O. sinensis อาศัยอยู่ใต้ดิน 15 ซม. ในทุ่งหญ้าบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตและพื้นที่โดยรอบเช่นแถบเทือกเขาหิมาลัย ที่ระดับความสูงระหว่าง 4,100 ถึง 5,000 ม. สามารถพบถั่งเช่าในพื้นที่ทางตอนเหนือของเนปาล ภูฏาน รัฐทางตอนเหนือของอินเดีย ยูนนานตอนเหนือ ชิงไห่ตะวันออก ทิเบตตะวันออก เสฉวนตะวันตก และทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู

เห็ดถั่งเช่า (O. sinensis) เป็นเห็ดราที่เป็นปรสิตในแมลง (Entomopathogenic fungus) ในฤดูหนาวเมื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนผี (Hepialidae) ถูกเข้าอาศัยโดยเห็ดปรสิตและเติบโตในตัวหนอน จะถูกดูดซับสารอาหารจนตาย[7] ซึ่งเป็นไปได้ว่ากลไกของการติดเชื้อของหนอนผีเสื้อกลางคืนจะมาจากการกินรากพืชท้องถิ่นบางชนิดและในดิน[8] ในระยะต่อมาเนื้อเยื่อและเปลือกของตัวหนอนจะรวมตัวกับเส้นใยของเห็ดรา O. sinensis เพื่อสร้างกลุ่ม​ใย​รา (ไมซีเลียมแข็ง) เนื่องจากในช่วงนี้ลักษณะรูปร่างยังคงเหมือนตัวอ่อนของผีเสื้อจึงเรียกว่า "หนอนฤดูหนาว - ตังถั่ง" เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิในปีถัดไปไมซีเลียมของเห็ดจะเริ่มเจริญเติบโต ในฤดูร้อนจะงอกออกจากส่วนหัวของหนอนผีเสื้อกลางคืน แล้วยื่นโผล่พ้นจากพื้นดินเป็นรูปแท่งและกลายเป็นที่มาของชื่อ "หญ้าฤดูร้อน - แห่เช่า" และรวมตัวกันเป็น Ophiocordyceps sinensis ที่สมบูรณ์[9]

ส่วนที่เป็นตัวหนอน (corpus) มีความยาว 3-5 ซม. และเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.8 ซม. ผิวสีเหลืองเข้มถึงน้ำตาลเหลือง มีข้อปล้อง 20-30 ข้อ มีวงปล้องถี่ละเอียดใกล้หัว หัวสีน้ำตาลแดง ส่วนที่เป็นเห็ด O. sinensis ประกอบด้วยสองส่วนคือ endosclerotium (เจริญอยู่ภายในตัวหนอน) และสโตรมา[10] (ดอกเห็ด) งอกออกจากกลางหัวของหนอนมีความแตกต่างชัดเจนของพื้นผิวจากตัวหนอน ดอกเห็ดเกลี้ยงเกลาไม่มีข้อและเปราะแตกง่าย มีลักษณะเรียวและทรงกระบอก[11] มีส่วนแบนเล็กน้อยตรงปลาย[12] และมักยาวกว่าตัวหนอน มีความยาว 4-10 ซม. และเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 ซม. พื้นผิวเป็นสีน้ำตาลเข้ม ถึงน้ำตาลดำหรือดำ มีร่องตามยาวและส่วนบนขยายออกเล็กน้อย เมื่อสดเนื้อมีความยืดหยุ่นอาจมีสีเหลืองอ่อนและเนื้อในเป็นสีขาว กลิ่นคาวเและรสขมเล็กน้อย[13] (ซึ่งสีต่างจากเห็ดสกุล Cordyceps เช่น เห็ดถั่งเช่าสีทอง Cordyceps militaris ที่มีสีเหลืองสด เมื่อสดและแห้ง)

ส่วนที่เห็ดถั่งเช่างอกออกมาคือ หัวของหนอน ซึ่งภายในบรรจุไปด้วยเม็ดเล็ก ๆ คือแอสโคสปอร์ มีการเรียงตัวตามปกติและเป็นรูปไข่ยาว 5-12 ไมครอน[14] อยู่ภายใน (ถุง) แอสโคคาบหรือเรียกว่าที่เรียกว่า fruiting body (คือส่วนของหมวกเห็ดและครีบที่ยังไม่สร้างสปอร์ หรือยังไม่บานออก)

ถั่งเช่า (O. sinensis) เติบโตช้า และเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ คือต่ำกว่า 21° ซ ความต้องการอุณหภูมิต่ำและอัตราการเจริญเติบโตเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ถั่งเช่าแตกต่างจากเห็ดราชนิดอื่นที่คล้ายคลึงกัน[15] ซึ่งเป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) จะส่งผลเสียต่อถั่งเช่าในธรรมชาติ[16][17]

นอกจากหนอนผีเสื้อกลางคืนชนิด Hepialus armoricanus[18] ซึ่งเป็นชนิดแรกที่พบในช่วงปี พ.ศ.2501 ยังมีอีกประมาณ 50 สปีชีส์จากหลายสกุลในวงศ์ผีเสื้อกลางคืนผี (ghost moth) ที่มีศักยภาพในการเป็นโฮสต์ปรสิต (parasite host) ของเชื้อเห็ด O. sinensis ซึ่งกระจายพันธุ์ในประเทศจีน และอีก 12 ประเทศ (ซึ่งอาศัยในระดับความสูง 2,800 - 5,100 ม.[19]) ได้แก่[18]

  • สกุล Thitarodes 37 ชนิด เช่น Thitarodes albipictus, Thitarodes callinivalis, Thitarodes dongyuensis, Thitarodes kangdingroides, Thitarodes nebulosus, Thitarodes sichuanus, Thitarodes xunhuaensis, Thitarodes yulongensis เป็นต้น
  • สกุล Bipectilus คือ Bipectilus yunnanensis
  • สกุล Endoclita ชนิด Endoclita davidi
  • สกุล Gazoryctra ได้แก่ Gazoryctra ganna
  • สกุล Pharmacis 3 ชนิด Pharmacis carna, Pharmacis fusconebulosa, Pharmacis pyrenaicus
  • และอีก 14 ชนิด ที่ยังไม่ระบุสกุลอย่างถูกต้อง

เคมี

[แก้]

สารสำคัญในถั่งเช่า

[แก้]
คอร์ดีเซพิน (Cordycepin) สารประกอบที่สกัดได้จาก "ถั่งเช่า" (Ophiocordyceps sinensis) และถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris)
แมนนิทอล หรือ กรดคอร์ดิเซปิก [20]
  • สารกลุ่มนิวคลีโอไซด์ คือ อะดีโนซีน และคอร์ดีเซพิน (Cordycepin หรือ 3-deoxyadenosine[21])[22] เป็นสารสำคัญที่สกัดจากถั่งเช่าที่พบได้มากในบริเวณดอกเห็ดที่ยังไม่เกิดสปอร์ (fruiting body) คอร์ดีเซพินมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกับอะดีโนซีนอย่างมาก จนแม้กระทั่งเอนไซม์บางตัวในมนุษย์ให้การตอบสนองทางชีวเคมีในทางเดียวกัน[23][24] ในถั่งเช่าธรรมชาติ (Ophiocordyceps sinensis) มีปริมาณคอร์ดีเซพินที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ ในถั่งเช่าสีทอง (C. militaris)[19]
  • พอลิแซ็กคาไรด์ (galactomannan)[19]
  • ไขมันเออร์โกสเตอรอล (คอร์ดีเซพ-สเตอรอล)[19]
  • น้ำตาลแอลกอฮอล์ คือ แมนนิทอล (mannitol หรือ D-mannitol[25][26][27]) ซึ่งก่อนหน้าเคยถูกเรียกอย่างผิดพลาดในชื่อเฉพาะว่า กรดคอร์ดีเซพิก (cordycepic acid)[20]

ส่วนประกอบทางโภชนาการ

[แก้]

จากผลการศึกษาถั่งเช่าจากชิงไห่ มีกรดคอร์ดีเซพิกประมาณ 7% คาร์โบไฮเดรต 28.9% ไขมันประมาณ 8.4% โปรตีน 25% และใน 82.2% ของไขมันเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 12 และ ฯลฯ[28]

การใช้ในตำรับยา

[แก้]

การบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 863 ของ Duan Chengshi นักธรรมชาติวิทยาในราชวงศ์ถัง ถั่งเช่าได้รับการระบุว่า "ทำให้ปอดและไตแข็งแรงขึ้น ห้ามเลือด และแก้เสมหะ"[29] อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณสารหนูในถั่งเช่าที่ได้จากธรรมชาติ มีปริมาณสูงกว่าค่ากำหนดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ในปี 2559 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของจีน ได้นำถั่งเช่าออกจากประเภทอาหารเพื่อสุขภาพ และได้ออกคำแนะนำในการบริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์ถั่งเช่า โดยระบุว่า "ในถั่งเช่าแห้งและแคปซูลผงถั่งเช่าบริสุทธิ์มีปริมาณสารหนู 4.4 - 9.9 มก./กก." และ "มีความเสี่ยงสูงในการบริโภค"[5][30] มีการบังคับใช้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและไม่อนุญาตให้ผลิตหรือขายโดยไม่ได้รับการอนุมัติ[31] ในการศึกษาบางฉบับแนะนำให้กินถั่งเช่าธรรมชาติไม่เกินวันละ 3-9 กรัม[5]

ในทางการแพทย์แผนจีน (TCM) เชื่อว่าถั่งเช่าช่วยบำรุงปอดและไต[32] การศึกษาในหนูทดลองพบว่าถั่งเช่ามีผลต่อการเพิ่มคอร์ติโคสเตอโรน (Corticosterone) (เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการควบคุมการใช้พลังงานและปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตและช่วยในเรื่องของระบบทางเดินหายใจ)[33][34] นอกจากนี้ในการศึกษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันยังเป็นไปได้ว่าถั่งเช่ามีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอก[35], ต้านการอักเสบ, สารต้านอนุมูลอิสระ[36], ลดน้ำตาลในเลือด[37], ต่อต้านการตายของเซลล์, การควบคุมและสร้างภูมิคุ้มกัน[38]

ข้อโต้แย้งในเรื่องของสรรพคุณทางยา

[แก้]

อย่างไรก็ตามยังปรากฏข้อโต้แย้งในเรื่องของสรรพคุณทางยาในการบรรเทาอาการหย่อนและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ และการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว[39] ซึ่งเชื่อว่าเป็นคุณสมบัติของคอร์ดีเซพินที่คล้ายกับอะดีโนซีน คือการช่วยขยายหลอดเลือดดำ และการเพิ่มความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน ตามลำดับ

ก่อนหน้าน้ำตาลแอลกอฮอล์ "แมนนิทอล" ในถั่งเช่าเคยถูกเรียกอย่างผิดพลาดในชื่อเฉพาะว่า กรดคอร์ดีเซพิก (cordycepic acid)[20] แม้ว่าแมนนิทอลมีผลในการบำบัดโรคซิสติกไฟโบรซิส (CF) ในผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป[40][41] แต่แมนนิทอลยังสามารถสังเคราะห์ได้จากสารชีวโมเลกุล[42] และสกัดได้จากธรรมชาติ[43] จากพืชอื่น ๆ เช่นปาล์มเลื้อย[44]

มีการศึกษาพบว่า การผลิตสารคอร์ดีเซพินของถั่งเช่าในธรรมชาติ อาจมีปริมาณที่ไม่แน่นอน[45][46] (ซึ่งต่างจากปริมาณการผลิตสารคอร์ดีเซพินที่พบจากถั่งเช่าสีทอง - Cordyceps militaris ที่เพาะเลี้ยง[45])

ในทางการค้า

[แก้]

ในตลาดกลางชิงไห่ โดยทั่วไปแบ่งระดับราคาถั่งเช่าออกเป็น 5 ระดับใหญ่ ๆ ตามน้ำหนักสีและขนาด ได้แก่ king of the king มีถั่งเช่า 900 ชิ้น (หรือน้อยกว่า) ต่อกก., king of cordyceps 1,000-1,400 ชิ้นต่อกก., ถั่งเช่าชั้นหนึ่ง 1,500-1,900 ชิ้นต่อกก., ถั่งเช่าชั้นสอง 2,000-2,400 ชิ้นต่อกก. และถั่งเช่าชั้นสาม มากกว่า 2500 ชิ้นต่อกก.

การอนุรักษ์

[แก้]

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติระบุว่า "เสี่ยง" ในบัญชีแดงของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (VU - ชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกสูญพันธุ์) ปัจจัยหลักที่คุกคามการลดลงของประชากรคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและการขุดค้นมากเกินไป[47] ในปี 2542 ได้รับการระบุให้เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองระดับประเทศระดับสองโดยประเทศจีน[28]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Ophiocordyceps sinensis (Berk.) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora 2007". MycoBank. International Mycological Association. สืบค้นเมื่อ 2011-07-19.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-01-17. สืบค้นเมื่อ 2012-09-10.
  3. Halpern, Miller (2002). Medicinal Mushrooms. New York, New York: M. Evans and Company, Inc. pp. 64–65. ISBN 0-87131-981-0.
  4. National Cancer Institute (2011-02-02). "Definition of cordycepin". NCI Drug Dictionary. สืบค้นเมื่อ 21 December 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 Li, Yaolei; Liu, Yue; Han, Xiao; Jin, Hongyu; Ma, Shuangcheng (2019-12-06). "Arsenic Species in Cordyceps sinensis and Its Potential Health Risks". Frontiers in Pharmacology. 10: 1471. doi:10.3389/fphar.2019.01471. ISSN 1663-9812. PMC 6910106. PMID 31866869.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  6. 《总局关于停止冬虫夏草用于保健食品试点工作的通知 -食药监食监三〔2016〕21号》
  7. Zhong yao jian ding xue. Jiang, Dacheng., 姜大成. (Di 1 ban ed.). Beijing: Zhong guo nong ye da xue chu ban she. 2016. ISBN 978-7-5655-1163-9. OCLC 1052871752.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  8. Lei, Wei; Zhang, Guren; Peng, Qingyun; Liu, Xin (2015-07-30). "Development of Ophiocordyceps sinensis through Plant-Mediated Interkingdom Host Colonization". International Journal of Molecular Sciences (ภาษาอังกฤษ). 16 (8): 17482–17493. doi:10.3390/ijms160817482. ISSN 1422-0067. PMC 4581204. PMID 26263972.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  9. 【冬蟲夏草】基本介紹 เก็บถาวร 2020-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,百酒樓
  10. Shrestha B.; Weimin Z.; Yongjie Z.; Xingzhong L. (2010). "What is the Chinese caterpillar fungus Ophiocordyceps sinensis (Ophiocordycipitaceae)?". Mycology. 1 (4): 228–236. doi:10.1080/21501203.2010.536791.
  11. Sung G. H.; และคณะ (2007). "A multi-gene phylogeny of Clavicipitaceae (Ascomycota, Fungi): identification of localized incongruence using a combinational bootstrap approach". Molecular Phylogenetics and Evolution. 44 (3): 1204–1223. doi:10.1016/j.ympev.2007.03.011. PMID 17555990.
  12. Zhong yao xue zhuan ye zhi shi. China. Guo jia shi pin yao pin jian du guan li zong ju. Zhi ye yao shi zi ge ren zheng zhong xin,, 中国. 国家食品药品监督管理总局. 执业药师资格认证中心, (Di 7 ban ed.). Beijing. ISBN 978-7-5067-8129-9. OCLC 1028133004.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: others (ลิงก์)
  13. 国家食品药品监督管理总局执业药师资格认证中心组织编写 (2016.01). 中药学专业知识 1 2016. 北京:中国医药科技出版社. p. 383. ISBN 978-7-5067-8129-9. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  14. Sung G. H.; และคณะ (2007). "A multi-gene phylogeny of Clavicipitaceae (Ascomycota, Fungi): identification of localized incongruence using a combinational bootstrap approach". Molecular Phylogenetics and Evolution. 44 (3): 1204–1223. doi:10.1016/j.ympev.2007.03.011. PMID 17555990.
  15. Hsieh, C., et al., A Systematic Review of the Mysterious Caterpillar Fungus Ophiocordyceps sinensis in Dong-ChongXiaCao and Related Bioactive Ingredients. Vol. 3. 2013. 16-32.
  16. Yong, Ed (2018-10-22). "The World's Most Valuable Parasite Is in Trouble. And so are the livelihoods of the people who depend on it". The Atlantic.
  17. KAI SCHULTZ (2016-06-26). "Demand for 'Himalayan Viagra' Fungus Heats Up, Maybe Too Much". NYT. สืบค้นเมื่อ 27 June 2016.
  18. 18.0 18.1 Wang, Xiao-Liang; Yao, Yi-Jian (2011-09-08). "Host insect species of Ophiocordyceps sinensis: a review". ZooKeys. 127: 43–59. doi:10.3897/zookeys.127.802. ISSN 1313-2970. PMC 3175130. PMID 21998547.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Hui-Chen Lo, Chienyan Hsieh, Fang-Yi Lin, and Tai-Hao Hsu. A Systematic Review of the Mysterious Caterpillar Fungus Ophiocordyceps sinensis in Dong-ChongXiaCao (冬蟲夏草 Dōng Chóng Xià Cǎo) and Related Bioactive Ingredients. J Tradit Complement Med. 2013 Jan-Mar; 3(1): 16–32.
  20. 20.0 20.1 20.2 Hu, Hankun; Xiao, Ling; Zheng, Baogen; Wei, Xin; Ellis, Alexis; Liu, Yi-Ming (2015-10). "Identification of chemical markers in Cordyceps sinensis by HPLC-MS/MS". Analytical and Bioanalytical Chemistry (ภาษาอังกฤษ). 407 (26): 8059–8066. doi:10.1007/s00216-015-8978-6. ISSN 1618-2642. PMC 4596796. PMID 26302964. (หัวข้อ "Detection of bioactive ingredients in C. sinensis") สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564.
  21. Mohammad Soltani, Roslinda Abd Malek, Nagib A. Elmarzugi, Mohamad Fawzi Mahomoodally, Davin Uy, Ong Mei Leng, Hesham A. El-Enshasy. (2018) Cordycepin: A Biotherapeutic Molecule from Medicinal Mushroom. In: Singh B., Lallawmsanga, Passari A. (eds) Biology of Macrofungi. Fungal Biology. Springer, Cham. doi: 10.1007/978-3-030-02622-6_16
  22. Liu, Yi; Wang, Jihui; Wang, Wei; Zhang, Hanyue; Zhang, Xuelan; Han, Chunchao (2015). "The Chemical Constituents and Pharmacological Actions of Cordyceps sinensis". Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine (ภาษาอังกฤษ). 2015: 1–12. doi:10.1155/2015/575063. ISSN 1741-427X. PMC 4415478. PMID 25960753.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  23. Siev, M.; Weinberg, R. & Penman, S. (1969). "The selective interruption of nucleolar RNA synthesis in HeLa cells by cordycepin". J. Cell Biol. 41 (2): 510–520. doi:10.1083/jcb.41.2.510. PMC 2107749. PMID 5783871.
  24. Kondrashov A, Meijer HA, Barthet-Barateig A, Parker HN, Khurshid A, Tessier S, และคณะ (2012). "Inhibition of polyadenylation reduces inflammatory gene induction". RNA. 18 (12): 2236–50. doi:10.1261/rna.032391.112. PMC 3504674. PMID 23118416.
  25. Pubchem (National Library of Medicine). Mannitol. National Center for Biotechnology Information (NCBI), สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564.
  26. SpectraBase. Mannitol. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564.
  27. CHEBI:16899 - D-mannitol. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564.
  28. 28.0 28.1 Zhong yao jian ding xue. Jiang, Dacheng., 姜大成. (Di 1 ban ed.). Beijing: Zhong guo nong ye da xue chu ban she. 2016. ISBN 978-7-5655-1163-9. OCLC 1052871752.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  29. 陈若芸主编 (2016.03). 中国食用药用真菌化学. 上海:上海科学技术文献出版社. pp. 89–90. ISBN 978-7-5439-6915-5. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  30. chinanews. "食药监总局:长期食用冬虫夏草存在较高风险-中新网". 中新网. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-12. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  31. 信息中心. "总局关于停止冬虫夏草用于保健食品试点工作的通知食药监食监三〔2016〕21号". 青海省食品药品监督管理局. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-06. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  32. Wu YL. (1757) (Reproduced in 1958) Renewed Materia Medica. Science, Technology and Health Press, Shanghai, 377 pp. (ภาษาจีน)
  33. Wang, Seu-Mei; Lee, Li-Jen; Lin, Wan-Wan; Chang, Chun-Min (1998). "Effects of a water-soluble extract of Cordyceps sinensis on steroidogenesis and capsular morphology of lipid droplets in cultured rat adrenocortical cells". Journal of Cellular Biochemistry (ภาษาอังกฤษ). 69 (4): 483–489. doi:10.1002/(SICI)1097-4644(19980615)69:43.0.CO;2-J. ISSN 1097-4644.
  34. Leu, Sew-Fen; Chien, Chi-Hsien; Tseng, Chi-Yu; Kuo, Yu-Ming; Huang, Bu-Miin (2005). "The in Vivo Effect of Cordyceps sinensis Mycelium on Plasma Corticosterone Level in Male Mouse". Biological & Pharmaceutical Bulletin (ภาษาอังกฤษ). 28 (9): 1722–1725. doi:10.1248/bpb.28.1722. ISSN 0918-6158.
  35. Yalin, Wu; Ishurd, Omar; Cuirong, Sun; Yuanjiang, Pan (2005-04). "Structure Analysis and Antitumor Activity of (1→3)-β- D -Glucans (Cordyglucans) from the Mycelia of Cordyceps sinensis". Planta Medica (ภาษาเยอรมัน). 71 (4): 381–384. doi:10.1055/s-2005-864111. ISSN 0032-0943. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-29. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  36. Dong, C.-H.; Yao, Y.-J. (2008-05). "In vitro evaluation of antioxidant activities of aqueous extracts from natural and cultured mycelia of Cordyceps sinensis". LWT - Food Science and Technology (ภาษาอังกฤษ). 41 (4): 669–677. doi:10.1016/j.lwt.2007.05.002. PMC 7126362. PMID 32287390. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  37. Zhang, Guoqing; Huang, Yuedong; Bian, Yong; Wong, Jack H.; Ng, T. B.; Wang, Hexiang (2006-10). "Hypoglycemic activity of the fungi Cordyceps militaris, Cordyceps sinensis, Tricholoma mongolicum, and Omphalia lapidescens in streptozotocin-induced diabetic rats". Applied Microbiology and Biotechnology (ภาษาอังกฤษ). 72 (6): 1152–1156. doi:10.1007/s00253-006-0411-9. ISSN 0175-7598. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. Wu, Yalin; Sun, Hongxiang; Qin, Feng; Pan, Yuanjiang; Sun, Cuirong (2006-08). "Effect of various extracts and a polysaccharide from the edible mycelia ofCordyceps sinensis on cellular and humoral immune response against ovalbumin in mice". Phytotherapy Research (ภาษาอังกฤษ). 20 (8): 646–652. doi:10.1002/ptr.1921. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  39. National Cancer Institute (2011-02-02). "Definition of cordycepin". NCI Drug Dictionary. สืบค้นเมื่อ 21 December 2015.
  40. "Osmitrol- mannitol injection, solution". DailyMed. 15 November 2018. Retrieved 28 October 2020.
  41. "Bronchitol EPAR". European Medicines Agency (EMA). Retrieved 28 October 2020. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
  42. Song, Seung Hoon; Vieille, Claire (2009-08). "Recent advances in the biological production of mannitol". Applied Microbiology and Biotechnology (ภาษาอังกฤษ). 84 (1): 55–62. doi:10.1007/s00253-009-2086-5. ISSN 0175-7598. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  43. Lawson P (2007). Mannitol. Blackwell Publishing Ltd. pp. 219–225.
  44. Wagner, H.; Flachsbarth, H.; Vogel, G. (1981-03). "Über ein neues antiphlogistisches Wirkprinzip aus Sabal serrulata II". Planta Medica (ภาษาอังกฤษ). 41 (03): 252–258. doi:10.1055/s-2007-971711. ISSN 0032-0943. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-02. สืบค้นเมื่อ 2022-03-29. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  45. 45.0 45.1 Xia et al., 2017. Fungal Cordycepin Biosynthesis Is Coupled with the Production of the Safeguard Molecule Pentostatin. Cell Chemical Biology 24, 1479–1489 December 21, 2017 ª 2017 Elsevier Ltd.http://dx.doi.org/10.1016/j.chembiol.2017.09.001
  46. Wellham, Peter A. D.; Kim, Dong-Hyun; Brock, Matthias; de Moor, Cornelia H. (2019-07). "Coupled biosynthesis of cordycepin and pentostatin in Cordyceps militaris: implications for fungal biology and medicinal natural products". Annals of Translational Medicine. 7 (S3): S85–S85. doi:10.21037/atm.2019.04.25. PMC 6685895. PMID 31576294. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  47. Li, Yi; Tang, Zhiyao; Yan, Yujing; Wang, Ke; Cai, Lei; He, Jinsheng; Gu, Song; Yao, Yijian (2020-01-20). "Incorporating species distribution model into the red list assessment and conservation of macrofungi: A case study with Ophiocordyceps sinensis". Biodiversity Science. 28 (1): 99. doi:10.17520/biods.2019158.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]