ถวิล ฤกษ์หร่าย
ถวิล ฤกษ์หร่าย | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2482 อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา ไทยรักไทย |
คู่สมรส | อารีย์ ฤกษ์หร่าย |
ถวิล ฤกษ์หร่าย (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2482[1]) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร 5 สมัย
ประวัติ
[แก้]ถวิล ฤกษ์หร่าย เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนายชื้น และนางสำเภา ฤกษ์หร่าย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนครสวรรค์ และปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางอารีย์ มีบุตร 4 คน หนึ่งในนั้นคือนายปริญญา ฤกษ์หร่าย ส.ส.กำแพงเพชร[2]
งานการเมือง
[แก้]ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อมา พ.ศ. 2544 ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้ง ต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2549 จึงวางมือทางการเมือง และสนับสนุนให้บุตรชาย (นายปริญญา ฤกษ์หร่าย) ดำเนินงานทางการเมืองสืบแทน[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ถวิล ฤกษ์หร่าย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติย่อ นายถวิล ฤกษ์หร่าย (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (นายปริญญา ฤกษ์หร่าย)[ลิงก์เสีย]
- ↑ เจเนอเรชั่นใหม่คือผู้พลิกโฉม การเมืองไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายถวิล ฤกษ์หร่าย[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ประวัติผู้สมัคร ส.ส. (นายถวิล ฤกษ์หร่าย)[ลิงก์เสีย], กรมการปกครอง
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายถวิล ฤกษ์หร่าย), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองกำแพงเพชร
- นักการเมืองจากจังหวัดกำแพงเพชร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร
- พรรคสหประชาธิปไตย
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนครสวรรค์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.