ถนนเลียบเนิน
ทางหลวงท้องถิ่น จบ.ถ 3-0002 | |
---|---|
ถนนเลียบเนิน | |
ถนนเลียบเนินช่วงหน้าโรงพยาบาลพระปกเกล้า | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 2.06 กิโลเมตร (1.28 ไมล์) |
ประวัติ | |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศเหนือ | แยกพระยาตรัง ใน อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี |
| |
ปลายทางทิศใต้ | ถ.ท่าแฉลบ แยกเจพี ใน อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
ถนนเลียบเนิน หรือ ทางหลวงท้องถิ่น จบ.ถ 3-0002[1] เป็นทางหลวงท้องถิ่นภายใต้ความดูแลของเทศบาลเมืองจันทบุรี เชื่อมระหว่างถนนรักศักดิ์ชมูล ถนนพระยาตรัง และถนนท่าหลวง มาเชื่อมต่อกับถนนท่าแฉลบ ซึ่งตลอดสายทางอยู่ในพื้นที่ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ประวัติ
[แก้]ถนนเลียบเนิน เป็นถนนภายในเทศบาลเมืองจันทบุรีที่มีมาตั้งแต่ช่วงยังเป็นสุขาภิบาลเมืองจันทบุรีก่อนการก่อตั้งเทศบาลเมื่อปี พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของเทศบาลเมืองจันทบุรี ดังที่เห็นปรากฏในแผนที่ประกอบในผังเมืองรวมตั้งแต่ในอดีต มีสถานที่ราชการสำคัญ ๆ ตั้งอยู่ตลอดแนวถนน เช่น จวนผู้ว่าราชการจังหวัด จวนสมุหเทศา ที่พักคลังมณฑล ที่พักอัยการจังหวัด เป็นต้น ส่วนอีกฝั่งเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ที่เรียกว่า ทุ่งนาเชย ประกอบไปด้วยท้องทุ่ง ลำราง และหนองน้ำ ตลอดตั้งแต่ต้นเส้นทางจนกระทั่งสิ้นสุดสายทาง[2]
สำหรับขอบเขตของถนนเลียบเนินเดิมนั้น เมื่อ พ.ศ. 2483 ปรากฏขอบเขตข้ามแยกพระยาตรังรวมไปจนถึงถนนรักศักดิ์ชมูลในปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นยังมีระยะทางที่สั้นและไม่มีการก่อสร้างไปบรรจบกับแนวถนนสุขุมวิท[3] จากนั้นในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการกำหนดหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน 316 ซึ่งมีขอบเขตรวมเข้ามาถึงแนวถนนเลียบเนินในปัจจุบันโดยปรากฏอยู่บนแผนที่แนบท้ายการเปลี่ยนแปลงแนวเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี[4] ก่อนจะมีการถ่ายโอนเส้นทางให้มาอยู่ในความดูแลของเทศบาลและนับขอบเขตสายทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 316 ใหม่ให้สิ้นสุดที่บริเวณแยกพระยาตรัง ตามประกาศของกรมทางหลวงใน พ.ศ. 2544 ให้จากเดิมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 316 มีชื่อทางหลวงว่า แยกทางหลวงหมายเลข 3 – จันทบุรี เปลี่ยนเป็น แยกทางหลวงหมายเลข 3 – ต่อทางของเทศบาลเมืองจันทบุรีควบคุม[5]
ชื่อถนนเลียบเนินนั้น สันนิษฐานว่ามาจากองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลูกฟูก หรือที่ราบลูกระนาด[6]ประกอบกับพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำจันทบุรี[7] ซึ่งแนวของถนนเลียบเนินตัดผ่านนั้นเป็นการตัดผ่านเป็นเส้นตรงเลียบขนานไปกับเนินเขาขนาดย่อมในฝั่งตะวันตกของถนน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการเป็นส่วนใหญ่[8] โดยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเนินนั้นปรากฏในประวัติการก่อตั้งโรงพยาบาลพระปกเกล้าที่มีการระบุว่าข้าหลวงประจำจังหวัดได้จัดหาพื้นที่บริเวณท้ายเนินปลัด (เนินป่าโรงไห หรือเนินเอฟเอ็มในปัจจุบัน) ริมถนนเลียบเนิน ตรงข้ามกับทุ่งนาเชยเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงพยาบาลเมื่อปี พ.ศ. 2480[9] ในรายงานประจำปีของเทศบาลเมืองจันทบุรี[8] รวมถึงชื่อชุมชนตามแนวถนนที่แยกจากถนนเลียบเนินไปทางตะวันตกที่ใช้ชื่อว่าเนินเป็นส่วนประกอบ คือชุมชนย่อยที่ 10 เนินเอฟเอ็ม[10] และชุมชนย่อยที่ 9 เนินเอสโซ่[11]
ปัจจุบันสภาพโดยรอบตลอดเส้นทางมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ตลอดสายทางอยู่เช่นเดิม เช่น ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ที่ว่าการอำเภอเมืองจันทบุรี สำนักงานเทศบาลเมืองจันทบุรี[12] ส่วนของพื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งนาเชยก็ได้ลดขนาดลงและกลายเป็นสวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทุ่งนาเชย) ที่มีทะเลสาบขนาดเล็กอยู่ภายใน[13]
รายละเอียดของเส้นทาง
[แก้]ถนนเลียบเนิน มีระยะทาง 2.06 กิโลเมตร เขตทางความกว้าง 20 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร[12] แบ่งเป็นพื้นผิวจราจร 16 เมตร ทางเท้าฝั่งละ 1.5 เมตร และเกาะกลางถนน 1 เมตร พิ้นผิวจราจรแบบแอสฟัลต์คอนกรีต[14] มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากแยกพระยาตรัง[15] ต่อเนื่องจากถนนรักศักดิ์ชมูล (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 316) ลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกเนินเอสโซ่[15] เชื่อมต่อถนนชวนะอุทิศและถนนกฤษดิ์เดช แยกที่ดิน[15] เชื่อมต่อถนนเทศบาลพัฒนาและถนนเทศบาล 3 สิ้นสุดบริเวณแยกเจพี[15] เชื่อมต่อถนนท่าแฉลบ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองจันทบุรี
ถนนเลียบเนิน เป็นถนนเส้นหลักอีกเส้นทางของเมืองจันทบุรี เนื่องจากเป็นถนนเส้นแรก ๆ ที่ถูกก่อสร้างขึ้นมาใช้งาน[2] ตลอดสองฝั่งของเส้นทางจึงประกอบไปด้วยสถานที่ราชการตลอดแนวเส้นทาง เช่น ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ที่ว่าการอำเภอเมืองจันทบุรี โรงพยาบาลพระปกเกล้า ไม่มีอาคารพาณิชย์หรือชุมชนอยู่บนแนวเส้นทาง แต่มีการกำหนดผังเมืองในบางช่วงให้มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยความหนาแน่นปานกลางและความหนาแน่นสูงได้[16]
รายชื่อทางแยก
[แก้]จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ถนนเลียบเนิน (รักศักดิ์ชมูล–ท่าแฉลบ) | |||||
จันทบุรี | 0+000 | แยกพระยาตรัง | เชื่อมต่อจาก: ถนนรักศักดิ์ชมูล | ||
ถนนท่าหลวง ไปริมน้ำจันทบุรี | ถนนพระยาตรัง ไปอำเภอท่าใหม่ | ||||
แยกเนินเอสโซ่ | ถนนสฤษดิ์เดช ไปสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี | ถนนชวนะอุทิศ ไปอำเภอท่าใหม่ | |||
แยกที่ดิน | ถนนเทศบาล 3 ไปตลาดน้ำพุ | ถนนเทศบาลพัฒนา ไปโรงฆ่าสัตว์เทศบาลเมืองจันทบุรี | |||
2+060 | แยกเจพี | ถนนท่าแฉลบ ไปตลาดน้ำพุ | ถนนท่าแฉลบ ไปบ้านท่าแฉลบ | ||
ตรงไป: ซอยท่าแฉลบ 9 | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
สถานที่สำคัญ
[แก้]สถานที่ราชการ
[แก้]- ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
- จวนผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
- สำนักงานเหล่ากาชาดจันทบุรี
- ที่ว่าการอำเภอเมืองจันทบุรี
- สำนักงานเทศบาลเมืองจันทบุรี
- สำนักงานที่ดินจังหวัดจันทบุรี
- โรงพยาบาลพระปกเกล้า
- วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจันทบุรี
- สถานีอุตุนิยมวิทยาจันทบุรี
- สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดจันทบุรี
- คุ้มอัยการจันทบุรี
สวนสาธารณะและนันทนาการ
[แก้]- สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทุ่งนาเชย)
- สนามกีฬาจังหวัดจันทบุรี
ขนส่งมวลชน
[แก้]- สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี เทศบาลเมืองจันทบุรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://lmp.drr.go.th/lmp/waydata/way_view.html?cid=6778[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช 2478. เล่ม 52 หน้า 1641, 10 ธันวาคม 2478. หน้า 1641-1644
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหาร แห่งหองพันทหารม้าที่ ๔ ในท้องที่อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๓. เล่ม ๕๗ ก. ๑๓ ส.ค. ๒๔๘๓. หน้า ๒๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. ๒๕๒๗. เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๐ ก. ๖ ก.ย. ๒๕๒๗. หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงพิเศษ ทางหลวงสัมปทาน และทางหลวงแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๗ พ.ศ. ๒๕๔๔. เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง. ๕ พ.ย. ๒๕๔๔. หน้า ๑
- ↑ "::สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี::". 164.115.23.146.
- ↑ "ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด จังหวัดจันทบุรี (จ.จันทบุรี)". www.chanthaburi.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-14. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.
- ↑ 8.0 8.1 "แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561 - 2565) เทศบาลเมืองจันทบุรี" (PDF). chanmunic.go.th. p. 2.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี / สถาบันที่ให้การสนับสนุน". www.rama7.chula.ac.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ทำความสะอาดปรับปรุงพัฒนาสิ่งแวดล้อม และดำเนินมาตรการยับยั้งโควิด - 19 ณ ชุมชนย่อยที่ 10 เนินเอฟเอ็ม - เทศบาลเมืองจันทบุรี". chanmunic.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคม นำถุงยังชีพ มอบแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 7 ชุด ณ ชุมชนที่ 9 (เนินเอสโซ่) - เทศบาลเมืองจันทบุรี". chanmunic.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 12.0 12.1 ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ฉบับที่ 108 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518. ฉบับพิเศษ เล่มที่ 108, ตอนที่ 232, 27 ธันวาคม 2534, หน้า 1-9
- ↑ "ฝนตกแต่ปลาตาย! คนจันท์ปวดใจ แห่ช่วยย้ายออกจากทะเลสาบทุ่งนาเชย". www.thairath.co.th. 2016-05-23.
- ↑ "ระบบลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่น". กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 "ไฟแดงเมืองจันท์มีกี่จุด - เทศบาลเมืองจันทบุรี". เทศบาลเมืองจันทบุรี. 2022-03-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองจันทบุรี พ.ศ. ๒๕๔๕. เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๖ ก. ๑๒ ก.พ. ๒๕๔๕. หน้า ๙