ข้ามไปเนื้อหา

ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงชนบท พท.5050
ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว14.130 กิโลเมตร (8.780 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2547–ปัจจุบัน
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง
ภาพเส้นทางในช่วงที่ 2 เป็นทางยกระดับระยะทาง 5.450 กิโลเมตร เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทยแทนที่สะพานติณสูลานนท์

ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นเส้นทางในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท โดยใช้ชื่อรหัสสายทาง พท.3037 เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นสายทางที่สร้างตามแนวระหว่างทะเลน้อยกับทะเลหลวงของทะเลสาบสงขลา ซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างถนนลูกรังกันมาก่อน แต่มีปัญหาถนนพังชำรุดง่ายและเมื่อถึงฤดูน้ำหลากก็ยังเป็นแนวขวางทางระบายน้ำระหว่างทะเลน้อยกับทะเลหลวง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ดำเนินการก่อสร้างสายทางตามโครงการภายใต้แผนบูรณาการงบประมาณพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยให้กรมทางหลวงชนบทเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างถนนดังกล่าวเฉพาะส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 จำนวน 50 ล้านบาท และใช้งบประมาณจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2549 ในการดำเนินก่อสร้างต่อไปอีก 549 ล้านบาท โดยเส้นทางในช่วงที่ 2 เป็นทางยกระดับระยะทาง 5.450 กิโลเมตร

เดิมถนนสายนี้ชื่อ “ถนนสายบ้านไสกลิ้ง – บ้านหัวป่า ภายหลังเปิดการใช้งานสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดพัทลุง ได้ขอความเห็นจากทุกภาคส่วนให้ร่วมเสนอชื่อถนนสายดังกล่าว เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเป็นชื่อที่ไดรับการยอมรับในการเรียกใช้ ซึ่งผลการรับฟังเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นร่วมกันให้ตั้งชื่อถนนใหม่จากเดิม “ถนนสายบ้านไสกลิ้ง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง – บ้านหัวป่า อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา” เปลี่ยนเป็น “ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” เพื่อให้เหมาะสมกับปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ลักษณะเส้นทาง

[แก้]
  • ช่วงที่ 1 ถนนลาดยาง Asphaltic Concrete จากบ้านไสกลิ้ง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 5+900 ระยะทาง 5.900 กิโลเมตร มีสะพานข้ามคลองยวน ความยาว 140 เมตร (กม.ที่ 3+055 - กม.ที่ 3+195)
  • ช่วงที่ 2 ทางยกระดับผ่านป่าพรุ และทางน้ำหลาก กม.ที่ 5+900 ถึง กม.ที่ 11+350 ระยะทาง 5.450 กิโลเมตร
  • ช่วงที่ 3 ถนนลาดยาง Asphaltic Concrete จาก กม.ที่ 11+350 จนถึงบ้านหัวป่า อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา กม.ที่ 17+547 ระยะทาง 6.197 กิโลเมตร มีสะพานข้ามคลองกก ความยาว 80 เมตร (กม.ที่ 14+050 ถึง กม.ที่ 14+130)

รายละเอียดของสัญญา

[แก้]
  • ผู้ว่าจ้าง : สำนักก่อสร้างทาง กรมทางหลวงชนบท
  • ผู้ออกแบบ : บริษัท พอล คอนซัลแตนส์ จำกัด และ บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด
  • ผู้ควบคุมงาน : บริษัท วิชชากร จำกัด (สัญญาจ้างที่ปรึกษาเลขที่ 196/2547 ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547)
  • ผู้รับจ้างก่อสร้าง : บริษัท เอ . เอส . แอสโชซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด (สัญญาจ้างก่อสร้างเลขที่ 188/2547 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2547)
  • มูลค่าการก่อสร้าง : 549,000,000.00 บาท (โดยเป็นงบประมาณปี 2547 จำนวน 140 ล้านบาท งบประมาณปี 2548 จำนวน 137.50 ล้านบาท และงบประมาณปี 2549 จำนวน 271.50 ล้านบาท)
  • ระยะเวลาการดำเนินการก่อสร้าง : 720 วัน
  • วันเริ่มสัญญา : 6 กันยายน พ.ศ. 2547
  • วันสิ้นสุดสัญญา : 26 สิงหาคม พ.ศ. 2549

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]