ข้ามไปเนื้อหา

ถงจื้อ (ศัพท์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถงจื้อ
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษร'เจตจำนงเดียวกัน' หรือ 'จุดประสงค์เดียวกัน'

ถงจื้อ (จีน: 同志; พินอิน: tóngzhì; แปลตรงตัว: "เจตจำนงเดียวกัน" หรือ "จุดประสงค์เดียวกัน") เป็นศัพท์หนึ่งที่ใช้ในประเทศจีน มีความหมายหลากหลายในบริบทต่าง ๆ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 20

เริ่มแรกคำนี้ถูกนำมาใช้ในภาษาจีนพื้นถิ่น โดยซุน ยัตเซ็น เพื่อกล่าวถึงผู้ติดตามของเขา (ก๊กมินตั๋ง) ต่อมาหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน คำนี้ถูกใช้เพื่อหมายถึง "สหาย" ในความหมายของคอมมิวนิสต์ คำนี้ใช้เรียกเกือบทุกคนไม่ว่าจะเพศชายหรือหญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความหมายของคำนี้เลิกใช้กันทั่วไปแล้ว ยกเว้นในวาทกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และในหมู่คนรุ่นเก่า[1]

ส่วนในมาเก๊าและฮ่องกง คำนี้ส่วนใหญ่จะหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) แทนที่จะเป็นความหมายทางการเมืองแบบดั้งเดิม[2]

ทางการเมือง

[แก้]

คำนี้ยังคงใช้ในบริบทที่เป็นทางการระหว่างสถานะทางการเมืองทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน

ในพรรคคอมมิวนิสต์จีน การจัดประเภทบุคคลว่าเป็น "สหาย" มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ถูกประณามหรือลดตำแหน่ง เพราะมันบ่งชี้ว่าพรรคไม่ได้ปฏิเสธบุคคลนั้นโดยสิ้นเชิงว่าเป็นสมาชิกพรรค

ในไต้หวัน คำนี้ยังคงใช้อย่างเป็นทางการในทางการเมือง ตัวอย่างเช่น เซี่ย ฉางถิง กล่าวหลังจากแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนเมื่อ พ.ศ. 2551 ว่า "สหายหลายคนหวังว่าฉันจะอยู่ได้จนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม" (很多同志希望我能夠留到五月二十五日)[3]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออกคำสั่งขอความร่วมมือให้สมาชิกพรรคทั้ง 90 ล้านคนเรียกกันและกันว่า "สหาย"[4][5]

ทางทหาร

[แก้]

คำว่า 'สหาย' อยู่ในข้อบังคับของกองทัพจีนว่าเป็น 1 ใน 3 วิธีที่เหมาะสมสำหรับการกล่าวทักทายสมาชิกอีกคนหนึ่งในกองทัพอย่างเป็นทางการ ตัวอย่านเช่น "สหาย" บวกกับยศหรือตำแหน่ง เช่น "สหายพันเอก" หรือเรียกง่าย ๆ ว่า "สหาย" เมื่อขาดข้อมูลเกี่ยวกับยศของบุคคลนั้น[6]

ในมาเก๊าและฮ่องกง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chou Wah-shan, p. 2
  2. Leap, William (2013). Globalization and Gay Language. Malden, MA: Wiley-Blackwell. pp. 560–561. ISBN 978-1-4051-7581-4.
  3. 凝聚黨內團結 謝長廷:我決定留到五二五 เก็บถาวร 26 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "学习时报". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2016. สืบค้นเมื่อ 23 November 2016.
  5. "'Comrade' survives China rules blitz". BBC News. 19 November 2014.
  6. Blasco, Dennis J (2011). "The Four General Departments". The Chinese Army Today: Tradition and Transformation for the 21st Century (2nd ed.). Routledge. ISBN 978-0415783224. According to regulations, members of the PLA address each other: (1) by their duty position, or (2) by their position plus surname, or (3) by their position plus the title "comrade" (tongzhi). When the duty position of the other person is not known, one service member may address the other by military rank plus the word "comrade" or only as comrade.