ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิถงจื้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ถงจื้อ)
จักรพรรดิถงจื้อ
同治帝
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
ครองราชย์11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861 – 12 มกราคม ค.ศ. 1875
ก่อนหน้าจักรพรรดิเสียนเฟิง
ถัดไปจักรพรรดิกวังซฺวี่
อุปราช
พระราชสมภพ27 เมษายน ค.ศ. 1856(1856-04-27)
(咸豐六年 三月 二十三日)
พระที่นั่ง Chuxiu พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง
สวรรคต12 มกราคม ค.ศ. 1875(1875-01-12) (18 ปี)
(同治十三年 十二月 五日)
หอหย่างซิน พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง
ฝังพระศพสุสาน Hui สุสานหลวงตะวันออกแห่งราชวงศ์ชิง
พระมเหสีจักรพรรดินีเซี่ยวเจ๋ออี้ (สมรส 1872)
พระนามเต็ม
อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้ฉุน (愛新覺羅·載淳)
แมนจู: Dzai šun (ᡯᠠᡳ ᡧᡠᠨ)
รัชศก
ถงจื้อ (同治): 30 มกราคม ค.ศ. 1862 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1875)
แมนจู: Yooningga dasan (ᠶᠣᠣᠨᡳᠩᡤᠠ ᡩᠠᠰᠠᠨ)
มองโกล: Бүрэн засагч (ᠪᠦᠷᠢᠨ ᠵᠠᠰᠠᠭᠴᠢ)
พระสมัญญานาม
Jì tiān kāi yùn shòu zhōngjū zhèngbǎo dà dìng gōng shèng zhì chéng xiàoxìn mǐngōng kuān míng sù yì huángdì (繼天開運受中居正保大定功聖智誠孝信敏恭寬明肅毅皇帝)
แมนจู: Filingga hūwangdi (ᡶᡳᠯᡳᠩᡤᠠ
ᡥᡡᠸᠠᠩᡩᡳ
)
วัดประจำรัชกาล
มู่จง (穆宗)
แมนจู: Mudzung (ᠮᡠᡯ᠊ᡠ᠊ᠩ)
ราชวงศ์อ้ายซินเจว๋หลัว
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาจักรพรรดิเสียนเฟิง
พระราชมารดาซูสีไทเฮา

จักรพรรดิถงจื้อ (จีน: 同治帝; พินอิน: Tóngzhì; 27 เมษายน ค.ศ. 1856 – 12 มกราคม ค.ศ. 1875)[1] พงศาวดารไทยเรียก พระเจ้าถ้องตี้[2][3] ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 4 พรรษา ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์ได้เพียง 12 ปี พระองค์ก็จัดได้ว่าเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง แต่ก็ถูกซูสีไทเฮายึดอำนาจไว้ ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ เพราะพระนาง ซูสีไทเฮาเห็นว่า พระองค์นั้นไร้ซึ่งความสามารถ วัน ๆ ก็เอาแต่แอบหนีออกไปเที่ยวนอกวัง

พระราชประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้ฉุน เป็นราชโอรสองค์เดียวในจักรพรรดิเสียนเฟิงกับพระสนมเย่เฮ่อน่าหลาค.ศ. 1872 เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อมีพระชนมพรรษาได้สิบเจ็ดพรรษา พระพันปีหลวงทั้งสองพระองค์ต่างมีพระราชประสงค์จะให้ได้ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีที่ตนคัดสรรเอาไว้แล้วด้าน พระพันปีหลวงฉีอันนั้น ทรงหมายพระเนตรสตรีแมนจูผู้มากคุณสมบัตินางหนึ่งจากสกุล “อาลู่เท่อ” (พินอิน: Alute) ด้าน พระพันปีหลวงฉือสีนั้น มีพระราชดำริจะให้สมเด็จพระจักรพรรดิได้อภิเษกสมรสกับข้าหลวงในพระองค์นางหนึ่งจากสกุล “ฟูจา” (พินอิน: Fuja) สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อมีพระราชวินิจฉัยเลือกพระนางอาลู่เท่อเป็นพระอัครมเหสี โดยโปรดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมรสขึ้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1872 ส่วนสตรีที่พระพันปีหลวงฉือสีทรงเลือกสรรไว้นั้น โปรดรับเอาไว้เป็น พระชายา

โดยพระนาม "ถงจื้อ" (同治) มีความหมายว่า "สองพระนางฟังราชการ ขุนนางช่วยกันปกครอง" (อันหมายถึง พระพันปีหลวงฉืออันและพระพันปีหลวงฉือสีว่าราชการหลังม่าน โดยมีเหล่าขุนนางช่วยบริหารราชการ) อีกความเห็นหนึ่งเห็นว่า พระนามมาจากคำสอนของขงจื้อมีความหมายว่า"ระเบียบและมั่งคั่ง" ( วิธีปกครองมีหลายวิธี กล่าวถึงที่ทำให้ชาติรุ่งเรืองสรุปได้เป็น 2 คำ คือระเบียบและมั่งคั่ง ส่วนการปกครองที่นำชาติสู่ความย่อยยับ สรุปได้ 2 คำเช่นกันคือยุ่งเหยิงและโกลาหล )

สวรรคต

[แก้]

และต่อมาก็ประชวรพระโรคซิฟิลิส ซึ่งโบราณเรียก “โรคสำหรับบุรุษ” เกิดจากการสัมผัสหรือร่วมประเวณีกับผู้ป่วยโรคนี้ พระพันปีหลวงฉือสีจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้คณะแพทย์หลวงเข้าตรวจพระอาการ พบว่าสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรพระโรคซิฟิลิสจริงเมื่อทรงทราบแล้วพระพันปีหลวงฉือสีทรงเตือนให้คณะแพทย์เก็บงำความข้อนี้เอาไว้ เพราะเรื่องดังกล่าวย่อมเป็นความอื้อฉาวน่าอดสูขนานใหญ่ คณะแพทย์จึงจัดทำรายงานเท็จเกี่ยวกับพระอาการแทน โดยรายงานว่าสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรไข้ทรพิษ และถวายการรักษาตามพระอาการไข้ทรพิษ อันไข้ทรพิษนั้นมีลักษณะและอาการแต่ผิวเผินคล้ายคลึงกับโรคซิฟิลิส และชาวจีนยังนิยมว่าผู้ป่วยเป็นเป็นไข้ทรพิษถือว่ามีโชค อย่างไรก็ดี เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรนั้น พระพันปีหลวงฉือสีได้ทรงประกาศในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระจักรพรรดิว่า สมเด็จพระจักรพรรดิประชวรไข้ทรพิษ ถือเป็นมงคลแก่บ้านเมืองและในระหว่างการรักษาพระองค์นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระพันปีหลวงฉือสีและ พระพันปีหลวงฉีอันเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อน ซึ่งนับได้ว่าพระพันปีหลวงฉือสีกลับเข้าดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกครั้งโดยที่คณะแพทย์ถวายการรักษาพระอาการไข้ทรพิษเพื่อตบตาผู้คน แต่ความจริงแล้วทรงเป็นซิฟิลิส สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อจึงเสด็จสวรรคตในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1875

พระราชกรณียกิจ

[แก้]
พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อขณะทรงพระอักษร

ระหว่างที่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองใน ค.ศ. 1873— ค.ศ. 1875 ได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการปฏิสังขรณ์พระราชวังหยวนหมิงหยวน (จีน: 圆明园; พินอิน: Yuán Míng Yuán; “พระราชวิสุทธอุทยาน”; อังกฤษ: Tactfully Pure Garden) ที่ถูกกองผสมนานาชาติเผาทำลายไปในสงครามฝิ่น โดยทรงปรารภว่าเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นของขวัญแด่พระพันปีหลวงทั้งสองพระองค์ ทั้งนี้ พระราชวังหยวนหมิงหยวนตั้งอยู่ตอนเหนือของกรุงปักกิ่ง และได้รับการขนานนามจากนานาชาติว่าเป็น "ที่สุดแห่งสวน" ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า ความจริงแล้วสมเด็จพระจักรพรรดิมีพระราชประสงค์จะให้พระพันปีหลวงฉือสีเสด็จแปรพระราชฐานไปให้ไกลจากพระราชวังหลวง เพื่อที่จะได้ทรงบริหารพระราชภาระได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดคอยควบคุมอีกต่อไป และ ในระยะดังกล่าว พระคลังมหาสมบัติร่อยหรอลงไปจนเหลือเพียงน้อยนิดเนื่องเพราะใช้จ่ายไปการสงครามกับต่างชาติและการปราบปรามอั้งยี่ซ่องโจรภายใน สมเด็จพระจักรพรรดิจึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้คณะกรรมการบริหารพระคลังมหาสมบัติกระทำการใด ๆ ให้ได้มาสู่พระคลังซึ่งเงินและทรัพย์สิน กับทั้งรับสั่งให้พระบรมวงศ์ ข้าราชการชั้นสูง และผู้มีบรรดาศักดิ์ทั้งปวงช่วยกันบริจาคเงินและทรัพย์สินให้แก่พระคลัง ในการนี้ ยังได้ทรงติดตามและตรวจสอบผลการดังกล่าวด้วยพระองค์เองด้วย แต่ก็มีผู้ขอพระราชทานให้ทรงงดการปฏิสังขรณ์พระราชวังหยวนหมิงหยวนเสีย ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิไม่ทรงสบพระราชอารมณ์อย่างยิ่ง มีพระบรมราชโองการให้ปลดเจ้าชายกงซึ่งทรงร่วมเข้าพระนามด้วย ออกเสียจากฐานันดรศักดิ์ในพระราชวงศ์ กลายเป็นสามัญชน ไม่กี่วันถัดจากนั้นได้มีพระบรมราชโองการให้ปลด เจ้าชายเตวิน (จีน: 惇; พินอิน: Dūn) , เจ้าชายฉุน, เจ้าชายอี้จวน (พินอิน: Yizuan) , เจ้าชายอี้ฮุย (พินอิน: Yihui) , เจ้าชายชิง (พินอิน: Qing) ตลอดจนข้าราชการและรัฐบุรุษคนอื่น ๆ ที่เข้าชื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาดังกล่าว เช่น พลเอกเจิงกั๋วฝัน, หลี่หงจัง, เหวินเสียง (จีน: 文祥; พินอิน: Wén Xiáng) ฯลฯ ออกจากจากฐานันดรศักดิ์ในพระราชวงศ์ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่ทางราชการทั้งสิ้น พระองค์ทรง ถูกพระราชนนี บังคับพระราโชวาทแนะนำให้ทรงยกเลิกพระบรมราชโองการปลดพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเหล่านั้นเสีย เป็นเหตุให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเสียพระราชหฤทัยนักที่ไม่อาจทรงบริหารพระราชอำนาจได้อย่างเด็ดขาด และทรงระบายพระราชอารมณ์ด้วยการเสด็จประทับโรงหญิงนครโสเภณี

พระบรมวงศานุวงศ์

[แก้]

ราชตระกูล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Tongzhi | emperor of Qing dynasty | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-17.
  2. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 เรื่องพระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดิถงจื้อ ถัดไป
จักรพรรดิเสียนเฟิง
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2404 - 2416)
จักรพรรดิกวังซวี้