ต้นไม้กินคน
ต้นไม้กินคน มีความหมายถึงพืชกินสัตว์ซึ่งมีขนาดใหญ่จนสามารถกินมนุษย์หรือสัตว์ขนาดใหญ่อื่นๆได้ ในปัจจุบันยังไม่พบพืชลักษณะนี้อยู่จริง แต่ก็มีบันทึกที่ไม่สามารถยืนยันได้ที่ระบุถึงอยู่พืชเหล่านี้อยู่[1] ในปัจจุบัน พืชกินสัตว์ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดก็คือ Nepenthes rajah ซึ่งสามารถจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กกินได้[2]
ต้นไม้แห่งมาดากัสการ์
[แก้]เรื่องของต้นไม้กินคนที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายนั้นมีที่มาจากเรื่ิองที่แต่งให้หนังสือพิมพ์ นิวยอร์คเวิลด์ ของ เอ็ดมัน สเปนเซอร์ ในบทความมีจดหมายที่ตีพิมพ์ จากผู้ซึ่งอ้างตัวว่าเป็นนักสำรวจชาวเยอรมัน ชื่อ คาร์ล ลิช "Karl Liche" (หรือ Carl Liche ) ได้รายงานการพบเห็นการบูชายันต์ของชนเผ่า Mkodo แห่งมาดากัสการ์โดยบังเอิญ และเหตุการณ์นี้ได้ถูกหนังสือพิมพ์ต่างๆ หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น รวมถึงหนังสือพิมพ์เซาท์ออสเตรเลียรีจิสเตอร์ ฉบับวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ซึ่งทำให้เรื่องราวนี้ได้แพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง
"The slender delicate palpi, with the fury of starved serpents, quivered a moment over her head, then as if instinct with demoniac intelligence fastened upon her in sudden coils round and round her neck and arms; then while her awful screams and yet more awful laughter rose wildly to be instantly strangled down again into a gurgling moan, the tendrils one after another, like great green serpents, with brutal energy and infernal rapidity, rose, retracted themselves, and wrapped her about in fold after fold, ever tightening with cruel swiftness and savage tenacity of anacondas fastening upon their prey."[3]
เรื่องราวของต้นไม้กินคนแห่งมาดากัสการ์นี้ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งในพ.ศ. 2467 โดยอดีตผู้ว่าการรัฐมิชิแกน Chase Osborn ได้ประพันธ์หนังสือเรื่อง Madagascar, Land of the Man-eating Tree.[4] ซึ่งอ้างถึงเรื่องของ Liche และระบุว่าชนพื้นเมืองและมิชชันนารีล้วนรู้จักต้นไม้ชนิดนี้
ในหนังสือ Salamanders and other Wonders,[5] พ.ศ. 2498 นักประพันธ์วิทยาศาสตร์ Willy Ley ได้ระบุว่าทั้งเผ่า Mkodo และต้นไม้กินคนนี้ไม่มีอยู่จริง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Shuker, Karl (2003). The Beasts That Hide From Man. Paraview. ISBN 1-931044-64-3.
- ↑ Phillipps, A. 1988. A Second Record of Rats as Prey in Nepenthes rajah. Carnivorous Plant Newsletter 17 (2) : 55.
- ↑ Tyson, Peter. "A Forest Full of Frights, part 2". The Wilds of Madagascar. Nova Online.
- ↑ Osborn, Chase Salmon (1925). Madagascar, Land of the Man-eating Tree.
- ↑ Ley, Willy (1955). Salamanders and other Wonders. Viking Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Michell, John and Rickard, Bob (2000). The Rough Guide to Unexplained Phenomena. Rough Guides. ISBN 1-85828-589-5.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)