ตูร์เดอฟร็องส์ 1903
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
เส้นทางวิ่งวนตามเข็มนาฬิกาในตูร์เดอฟร็องส์ 1903 โดยเริ่มที่ Montgeron และสุดที่ปารีส | ||||||||||
รายละเอียดการแข่งขัน | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วันที่ | 1–19 กรกฎาคม | |||||||||
จำนวนสเตจ | 6 | |||||||||
ระยะทาง | 2,428 km (1,509 mi) | |||||||||
เวลาที่ผู้ชนะเลิศทำได้ | 94h 33' 14" | |||||||||
ผลการแข่งขัน | ||||||||||
| ||||||||||
ตูร์เดอฟร็องส์ 1903 เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ครั้งแรก โดยได้รับการสนับสนุนจากหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ซึ่งเป็นชื่อเดิมของหนังสือพิมพ์รายวัน L'Équipe การแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-19 กรกฎาคม โดยแบ่งเป็น 6 สเตจ (stage) รวมระยะทางกว่า 2,428 km (1,509 mi) โดยผู้ชนะในรายการนี้ได้แก่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) [1]
การแข่งขันถูกจัดขึ้นมาเพื่อโปรโมตหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ภายหลังจากที่ยอดจำหน่ายเริ่มดิ่งลงจากการแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ Le Vélo ที่วางจำหน่ายมาอย่างยาวนาน เดิมการแข่งขันมีกำหนดจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน แต่ถูกเลื่อนออกไป 1 เดือน และเพิ่มเงินรางวัลมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีจำนวนผู้สมัครเข้าแข่งขันน้อยจนเป็นที่น่าผิดหวัง การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ในครั้งแรกจัดการแข่งขันบนถนน เมื่อเทียบกับการแข่งขันแกรนด์ทัวร์ (Grand Tours) การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์มีจำนวนสเตจ (stage) ที่น้อยกว่า แต่มีระยะทางไกลกว่าที่แข่งขันอยู่ในปัจจุบัน ผู้เข้าแข่งขันไม่จำเป็นต้องปั่นครบทั้ง 6 สเตจ (stage) แม้ว่าการเข้าแข่งขันครบทุกช่วงจะเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดอันดับผู้ชนะโดยพิจารณาจากผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดเส้นทางการแข่งขันที่เรียกว่า general classification.
โมรีซ กาแรง เป็นผู้ชนะในสเตจแรกตั้งแต่การแข่งขันรอบ pre-race favourite และยังคงเป็นผู้นำตลอดการแข่งขัน เขายังเป็นผู้ชนะในสองสเตจ (stage) สุดท้าย โดยมีเวลานำผู้เข้าแข่งขันทีทำเวลารองลงไปถึง 3 ชั่วโมง ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ทั้งระหว่างและภายหลังการแข่งขัน ซึ่งทำให้การแข่งขันดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จนต้องมีการจัดขึ้นอีกครั้งในปีถัดมา และยังส่งผลให้หนังสือพิมพ์เลอ เวโล (Le Vélo) ต้องปิดตัวลงในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
ที่มา
[แก้]ภายหลังจากเหตุการณ์เรื่องเดรฟุส (Dreyfus affair) จบลง หนังสือพิมพ์เลอ เวโล (Le Vélo) ได้ถูกแย่งพื้นที่โฆษณาไป และมีการจัดตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อว่า โลโต้เวโล (L'Auto-Vélo) ในปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่ง Henri Desgrange อดีตนักแข่งขันจักรยานรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) หนังสือพิมพ์ดังกล่าวได้ถูกกดดันให้เปลี่ยนชื่อเป็นโลโต้ (L'Auto) Desgrange ต้องการรักษาฐานลูกค้าซึ่งเป็นแฟนคลับของการแข่งขันจักรยาน ซึ่งมียอดซื้อสูงถึง 20,000 ฉบับ [2]
เมื่อ Desgrange และลูกจ้างชื่อ Géo Lefèvre กลับมาจากการแข่งขันจักรยาน Marseille–Paris [3] Lefèvre ได้แนะนำให้จัดการแข่งขันรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคล้ายกับการแข่งขัน six-day races ที่โด่งดังและจัดการแข่งขันอยู่ [4] Desgrange จึงนำเสนอแนวคิดดังกล่าวให้แก่ Victor Goddet ผู้ดูแลด้านการเงิน ซึ่งตอบตกลงและการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ก็ถูกประกาศลงในหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) [5]
เดิมการแข่งขันกำหนดจัดขึ้นระยะเวลา 5 อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ไปจนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม โดยมีค่าสมัครเข้าแข่งขันจำนวน 20 ฟรังค์ (francs) ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันน้อยมาก โดยมีผู้สมัครเข้าแข่งขันเพียง 15 คน ทั้งที่เหลือเวลาอีกเพียง 1 อาทิตย์ก็จะเริ่มการแข่งขันแล้ว Desgrange จึงตัดสินใจเลื่อนกำหนดการแข่งขันออกไปเป็นวันที่ 1 ถึง 9 กรกฎาคม โดยเพิ่มเงินรางวัลให้สูงขึ้นถึง 20,000 ฟรังค์ และลดค่าสมัครเข้าแข่งขันให้เหลือเพียง 10 ฟรังค์ รวมทั้งยังการันตีว่า ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลารวมได้ดีที่สุด 50 รายแรกจะได้รับเงินอย่างน้อย 5 ฟรังค์ ต่อวัน [6] ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มีผู้สมัครเข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 79 คน และเข้าแข่งขันจริงจำนวน 60 คน [7]
Géo Lefévre ทำหน้าที่เป็นกรรมการจัดงาน ผู้ตัดสิน และ ผู้จับเวลา โดย Henri Desgrange เป็นกรรมการจัดงานทั่วไป (directeur-général) ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ติดตามการแข่งขันก็ตาม
กฎ และ เส้นทางการแข่งขัน
[แก้]การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) มีทั้งหมด 6 สเตจ (stage) หากเทียบกับสเตจของการแข่งขันสมัยใหม่ สเตจตูร์เดอฟร็องส์มีระยะทางที่ยาวมากกว่าปกติโดยมีระยะทางเฉลี่ยมากกว่า 400 km (250 mi) ในขณะที่ระยะทางเฉลี่ยของการแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีเพียง 171 km (106 mi) ผู้เข้าแข่งขันจะได้พัก 1-3 วัน ระหว่างการเดินทางข้ามแต่ละสเตจ และเส้นทางส่วนมากจะราบเรียบ โดยมีเพียงสเตจเดียวเท่านั้นที่มีภูเขารวมอยู่ด้วย การแข่งขันจะเป็นแบบรายบุคคล และชำระค่าสมัครเข้าแข่งขันจำนวน 10 ฟรังค์ (€87.50 at 2003 prices) สำหรับการแข่งขันประเภทจัดอันดับผู้ชนะโดยนับจากเวลารวมที่น้อยที่สุด (general classification) หรือ 5 ฟรังค์ สำหรับการแข่งขันในแต่ละสเตจ และเนื่องจากระยะทางที่ยาวของแต่ละสเตจ ทุกสเตจจะเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ก่อนฟ้าสางยกเว้นสเตจแรก และสำหรับสเตจสุดท้ายเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ 21:00 [8]
การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ครั้งแรกไม่มีการปั่นข้ามภูเขาแต่มีการปั่นผ่านช่องเทือกเขาเล็กน้อย ช่องเทือกเขาแรก คือ des Echarmeaux (712 m (2,336 ft)) ซึ่งอยู่ในช่วงต้นของสเตจที่เริ่มจากกรุงปรารีสไปเมืองลียง (Lyon) ในปัจจุบันคือถนนสายเก่าที่วิ่งจากเมืองโอเติง (Autun) ไปเมืองลียง นอกจากนี้ยังมีช่องเทือกเขา col de la République (1,161 m (3,809 ft)) ซึ่งอยู่ในสเตจที่เริ่มจากเมืองลียงไปเมืองมาร์แซย์ หรือในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ col du Grand Bois ซึ่งอยู่ติดชายแดนของเมืองแซ็งเตเตียน (St-Étienne)[9]
ในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) นักแข่งจักรยานอาชีพสามารถจ้างผู้นำหน้า (pacer) เพื่อให้นำทางระหว่างการแข่งขันได้ แต่ Desgrange ได้สั่งห้ามการกระทำดังกล่าว ซึ่งแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์แรกเริ่มคือ ต้องการให้ใช้ผู้นำหน้าเฉพาะสเตจสุดท้ายและระยะทางยาวที่สุด อย่างไรก็ตาม การจ้างผู้นำหน้าได้ถูกยกเลิกไปหลังการแข่งขันสเตจที่ 5 [5][10][11]
ตลอดเส้นทางการแข่งขันจะมีเจ้าหน้าที่ประจำจุดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้เข้าแข่งขันปั่นจักรยานในเส้นทางที่ถูกต้อง[5][6] ในสมัยนั้นเสื้อสีเหลือง (yellow jersey) ซึ่งมอบให้แก่ผู้ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดการแข่งขัน (general classification) ยังไม่ได้นำมาใช้ แต่จะได้รับสายรัดข้อมือสีเขียวแทน [5]
ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลาได้เร็วที่สุด 8 อันดับแรกของแต่ละสเตจได้รับรางวัลตั้งแต่ 50 ฟรังค์ ไปจนถึง 1,500 ฟรังค์ แตกต่างกันไปในแต่ละสเตจ และสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด 14 อันดับแรก ก็ได้รับรางวัลด้วยเช่นกัน คือ ผู้ชนะอันดับแรกได้รับ 3,000 ฟรังค์ และ ลำดับที่ 14 ได้รับ 25 ฟรังค์ [6] ผู้เข้าแข่งขันอีก 7 คนที่แข่งจนครบเวลาของประเภท general classification ได้รับรางวัลคนละ 95 ฟรังค์ (5 ฟรังค์ต่อวัน สำหรับการแข่งขันทั้งหมด 19 วัน) โดยมีข้อกำหนดว่า พวกเขาจะต้องไม่ได้รับเงินรางวัลเกิน 200 ฟรังค์ และมีความเร็วเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20 km/h (12 mph) ในสเตจอันใดอันหนึ่ง [6]
ผู้เข้าแข่งขัน
[แก้]การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ในสมัยนั้นแตกต่างกับการแข่งขันในปัจจุบัน คือ อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันซึ่งออกจากการแข่งขันกลางคันในแต่ละสเตจสามารถเริ่มการแข่งขันใหม่ได้อีกในสเตจถัดไป แต่เวลารวมที่เขาทำได้จะไม่นำมานับรวมสำหรับการคัดเลือกผู้ชนะประเภท general classification ซึ่งทำให้ Hippolyte Aucouturier ซึ่งออกจากการแข่งขันไปในสเตจแรกกลับมาเป็นผู้ชนะในสเตจที่ 2 และ 3 รวมถึง Charles Laeser ผู้ชนะของสเตจที่ 4 ก็แข่งขันในสเตจที่ 3 ไม่จบด้วยเช่นกัน [7]
ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 60 คน มีทั้งนักแข่งอาชีพ (professionals) และกึ่งอาชีพ (semi-professionals) ประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขันจากประเทศฝรั่งเศสจำนวน 49 คน เบลเยียม 4 คน สวิสเซอร์แลนด์ 4 คน เยอรมัน 2 คน และอิตาลี 1 คน โดยในจำนวนนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบธุรกิจผลิตจักรยานจำนวน 21 คน และที่เหลือ 39 คน เข้าแข่งขันด้วยตนเอง [6][7][12] ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 24 คน เข้าแข่งขันเฉพาะบางสเตจเท่านั้น โดยในการแข่งขันรายการนี้ มีนักปั่นจักรยานที่ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันถือโอกาสเข้าร่วมปั่นในบางสเตจด้วย นักปั่นรายหนึ่งเข้าร่วมทั้งในสเตจที่ 2 และ 4 และอีกสามรายเข้าร่วมในบางส่วนของสเตจที่ 2 นอกจากนี้ยังมีรายหนึ่งเข้าร่วมในสเตจที่ 3 อีก 15 รายเข้าร่วมในสเตจที่ 4 และอีก 4 รายเข้าร่วมในสเตจที่ 5 [7]
รายละเอียดการแข่งขัน
[แก้]ผู้ชนะในรอบ pre-race favourites ได้แก่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) และ Hippolyte Aucouturier[3] กาแรง ขึ้นนำในการแข่งขันตั้งแต่ออกจากจุดเริ่มต้นและเป็นผู้ชนะของสเตจแรกซึ่งมีระยะทาง 471 km (293 mi) จากกรุงปารีสถึงเมืองลียง การแข่งขันเริ่มขึ้นในเวลา 15:16 น. โดยผู้เข้าแแข่งปั่นด้วยความเร็ว 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้เข้าแข่งขันที่ล้มเลิกกลางคันรายแรกหยุดที่ระยะทางประมาณ 50 km (31 mi).[13] กาแรง และ Emile Pagie เป็นผู้นำในการแข่งขันโดยถึงจุด control point ที่เมืองเนอแวร์ (Nevers) เวลา 23:00 น. กาแรงคาดการณ์ว่า พวกเขาจะถึงเส้นชัยในเวลา 8:00 ของเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ช่วงกลางคืน คู่แข่งของกาแรง, Aucouturier, มีอาการตะคริวที่ท้องทำให้ไม่สามารถแข่งจนจบสเตจได้ [5][13] นอกจากนี้ การทำผิดกฎของการแข่งขันเป็นครั้งแรกก็เกิดขึ้นตั้งแต่สเตจแรก โดย Jean Fischer ได้ใช้รถยนต์สำหรับ pacer ซึ่งถือว่าผิดกฎ[5][13] Pagie ล้มลงแต่ก็ลุกกลับขึ้นมาได้อีก เขาและกาแรง รั้งตำแหน่งผู้นำในการแข่งขันตลอดคืนนั้น จนกระทั่งเวลา 9:00 น. ทั้งคู่จึงเข้าเส้นชัยที่เมืองลียง โดยกาแรงเข้าเส้นชัยก่อนหน้า Pagie เพียงแค่ 1 นาที [13]
ถึงแม้ว่า Aucouturier จะล้มเลิกการแข่งขันกลางคันในสเตจแรก และไม่ได้รับการพิจารณารางวัลประเภทผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดเส้นทางการแข่งขัน (general classification) แต่เขาก็แข่งขันในสเตจที่เหลือทั้งหมด โดยในสเตจที่สอง เขาเป็นผู้ชนะในประเภท sprint และในเสตจที่สาม นักปั่นหลายรายซึ่งแข่งขันในประเภท general classification เริ่มออกตัวจากจุดเริ่มต้นก่อนนักปั่นรายอื่น ๆ ล่วงหน้าถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งรวมไปถึง Aucouturier ด้วยเช่นกัน ในช่วงท้ายของเสตจที่สาม กลุ่มของผู้เข้าแข่งขัน 4 ราย ได้ฉีกหนีออกไปก่อนโดย Eugène Brange เป็นผู้ชนะประเภท sprint โดย Aucouturier เข้าเส้นชัยในเวลา 27 นาทีต่อมา ซึ่งหมายความว่า เขาใช้เวลาในการแข่งขันเร็วกว่า 33 นาที ดังนั้น เขาจึงได้รับตำแหน่งผู้ชนะของสเตจนี้ไปครอง [14] กาแรงยังคงเป็นผู้นำในการแข่งขัน เนื่องจาก Pagie พลาดไปในสเตจที่สองจนทำให้ต้องออกจาการแข่งขัน[5] ในสเตจที่สี่ Aucouturier ยังคงเป็นผู้นำในการแข่งขันและดูเหมือนว่าน่าจะเป็นผู้ชนะติดต่อกันสามสเตจ แต่เนื่องจากเขาถูกจับได้ว่าใช้แรงต้านลมจากรถยนต์ช่วยเพิ่มความเร็วของจักรยานจึงถูกให้ออกจากการแข่งขัน[3] Charles Laeser ชาวสวิสเซอร์แลนด์ (ซึ่งยกเลิกการแข่งขันไปในสเตจที่สาม)[7] จึงคว้าชัยชนะไปครอง และเป็นผู้ชนะรายแรกที่ไม่ใช่พลเมืองของฝรั่งเศส ในสเตจที่สาม ผู้เข้าแข่งขันแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม และ Laeser อยู่ในกลุ่มที่สองเพราะว่าเขาไม่สามารถเข้าแข่งขันในประเภท general classification ได้ Laeser เข้าเส้นชัยเป็นลำดับที่เจ็ดโดยใช้เวลามากกว่านักแข่งหกรายแรกถึง 50 นาที แต่เนื่องจากเขาปั่นในระยะทางที่เร็วกว่าพวกนั้นถึง 4 นาที จึงทำให้เขาได้รับตำแหน่งผู้ชนะของสเตจที่สามไปครอง[15]
ในเวลานั้น กาแรงยังคงเป็นผู้นำของการแข่งขัน โดยมี Emile Georget ตามหลังอยู่ถึงสองชั่วโมง[16] ในสเตจที่ห้า ยางรถของ Georget แบนทั้งสองเส้น และเขายังผล็อยหลับไประหว่างที่หยุดพักข้างทาง จึงทำให้เขาไม่สามารถเอาชนะได้ [3] กาแรงจึงยังคงเป็นผู้นำในการแข่งขันต่อไปด้วยการคว้าชัยชนะในสเตจนี้ไปครอง โดยมีสามชั่วโมงนำหน้าคนอื่นอยู่นับจนถึงวันสุดท้ายของการแข่งขัน[17] กาแรงขอร้องให้นักปั่นคนอื่นในกลุ่มที่เป็นผู้นำการแข่งขันอยู่ปล่อยให้เขาเป็นผุ้ชนะในสเตจ แต่ Fernand Augereau ปฏิเสธคำร้องขอของเขา Garin then had Lucien Pothier throwing his bicycle at Augerau,[โปรดขยายความ] และต่อมา Augereau ก็พลาดล้มลง จึงทำให้เหลือแต่ กาแรง Pothier และ Pasquier ที่ยังคงแข่งขันต่อไป โดย Pothier ก็ไม่สามารถปั่นเข้าเส้นชัยได้ ในขณะที่กาแรงเป็นผู้ชนะในประเภท sprint ไปอย่างง่ายดาย [18] Augerau ได้รับเงินรางวัล 100 ฟรังค์ จาก Velo-Sport Nantes สำหรับผู้ที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดในกิโลเมตรสุดท้ายของสเตจใน Nantes velodrome [19] สเตจสุดท้ายเป็นสเตจที่มีระยะทางยาวที่สุดคือ 471 km (293 mi) จากเมือง, Nantes ไปยัง Velodrome ในกรุงปารีส โดยมีผู้เข้าชมการแข่งขันกว่า 20,000 คน ร่วมเป็นสักขีพยานชัยชนะในสเตจที่สามของกาแรง โดยทำเวลาไปได้ 2 ชั่วโมง 59 นาที 31 วินาที โดยเวลาดังกล่าวยังคงเป็นเวลาที่ดีที่สุดของการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ [5]
ผลการแข่งขัน
[แก้]ผลการแข่งขันในแต่ละสเตจ
[แก้]การแข่งขันในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันระหว่างการแข่งขันในสเตจทางเรียบและสเตจที่มีภูเขา ดังนั้น รูปภาพที่แสดงด้านล่างเป็นเพียงการแสดงให้เห็นว่า สเตจใดมีภูเขาอยู่ด้วย
สเตจ | วันที่ | เส้นทาง | ภูมิศาสตร์ | ระยะทาง | ผู้ชนะ | ผู้นำ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1 กรกฎาคม | Paris – Lyon | ทางเรียบ | 467 km (290 mi) | Maurice Garin (FRA) | Maurice Garin (FRA) |
2 | 5 กรกฎาคม | Lyon – Marseille | สเตจที่มีภูเขา | 374 km (232 mi) | Hippolyte Aucouturier (FRA) | Maurice Garin (FRA) |
3 | 8 กรกฎาคม | Marseille – Toulouse | ทางเรียบ | 423 km (263 mi) | Hippolyte Aucouturier (FRA) | Maurice Garin (FRA) |
4 | 12 กรกฎาคม | Toulouse – Bordeaux | ทางเรียบ | 268 km (167 mi) | Charles Laeser (SUI) | Maurice Garin (FRA) |
5 | 13 กรกฎาคม | Bordeaux – Nantes | ทางเรียบ | 425 km (264 mi) | Maurice Garin (FRA) | Maurice Garin (FRA) |
6 | 18 กรกฎาคม | Nantes – Paris | ทางเรียบ | 471 km (293 mi) | Maurice Garin (FRA) | Maurice Garin (FRA) |
ผลการแข่งขันประเภท General Classification
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 21 คน เข้าร่วมแข่งขันจนครบทั้งหมด 6 สเตจ โดยเวลาในแต่ละสเตจของนักปั่นจักรยานเหล่านี้ได้นำไปนับรวมสำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด (general classification) โดยผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
ลำดับ | รายชื่อ | ผู้สนับสนุน[20] | เวลา |
---|---|---|---|
1 | Maurice Garin (FRA) | La Française | 94h 33' 14' |
2 | Lucien Pothier (FRA) | La Française | +2h 59' 21" |
3 | Fernand Augereau (FRA) | La Française | +4h 29' 24″ |
4 | Rodolfo Muller[21] (ITA) | La Française | +4h 39' 30″ |
5 | Jean Fischer (FRA) | La Française | +4h 58' 44″ |
6 | Marcel Kerff (BEL) | — | +5h 52' 24″ |
7 | Julien Lootens (BEL) | Brennabor | +8h 31' 08″ |
8 | Georges Pasquier (FRA) | La Française | +10h 24' 04″ |
9 | François Beaugendre (FRA) | — | +10h 52' 14″ |
10 | Aloïs Catteau (BEL) | La Française | +12h 44' 57″ |
หลังการแข่งขัน
[แก้]ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญอันเป็นผลมาจากการจัดแข่งขันนี้ ภายหลังจบการแข่งขัน หนังสือฉบับพิเศษที่จัดพิมพ์จำนวนจำกัดได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้น 130,000 ฉบับ [22] และยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ปกติได้พุ่งสูงขึ้นจากเดิม 25,000 ฉบับ เป็น 65,000 ฉบับ [2] ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของยอดขายนี้ทำให้การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์กจัดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) นักปั่นจักรยานได้กลายมาเป็นวีรบุรุษของชาติ ในขณะที่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปี พ.ศ. 2447 อีกครั้งกลับไม่สามารถรักษาตำแหน่งแชมป์เอาไว้ได้เนื่องจากเขาถูกตัดสิทธิ์จึงทำให้ขาดคุณสมบัติ โมรีซ กาแรง ได้ใช้เงินรางวัลที่เขาได้รับจากชัยชนะในปี พ.ศ. 2446 รวมทั้งหมด 6,075 ฟรังค์ (francs) [7] (เทียบเท่ามูลค่าประมาณ แม่แบบ:$40,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา และ 23,000 ปอนด์ ในปี 2549 [5]) ซื้อสถานีบริการน้ำมันและใช้ชีวิตที่เหลือของเขาอยู่ที่นั่นจนสิ้นอายุขัย [5]
หมายเหตุ และ อ้างอิง
[แก้]- ↑ Augendre, Jacques (2009). "Guide Historique, Part 6" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Amaury Sport Organisation. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2009.
- ↑ 2.0 2.1 James, Tom (4 เมษายน 2001). "The Origins of the Tour de France". VeloArchive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "1903: Maurice Garin wint eerste Tour" (ภาษาดัตช์). 19 มีนาคม 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
- ↑ Noakes, T. D. (2006). "The limits of endurance exercise". Basic Research in Cardiology. 101: 408–417. doi:10.1007/s00395-006-0607-2. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 McGann, Bill; McGann, Carol (2006). The Story of the Tour de France. Dog Ear Publishing. pp. 4–10. ISBN 1-59858-180-5. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2009.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Réglement du Tour de France 1903". L'Auto (ภาษาฝรั่งเศส). Memoire du Cyclisme. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 "1er Tour de France 1903" (ภาษาฝรั่งเศส). Memoire du cyclisme. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
- ↑ Augendre, Jacques (2009). "Guide Historique, Part 2" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Amaury Sport Organisation. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2010.
- ↑ Woodland, Les (2003). The Yellow Jersey Companion to the Tour de France. Yellow Jersey Press. p. 264. ISBN 0-224-06318-9.
- ↑ Augendre, Jacques (1996). Le Tour de France: Panorama d'un siècle (ภาษาฝรั่งเศส). Société du Tour de France. p. 9.
- ↑ "Le Tour de France - Un incident Garin-Augereau". Le Populaire (ภาษาฝรั่งเศส). Archives municipales de Nantes. 17 กรกฎาคม 1903. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
- ↑ Torgler, Benno (2007). ""La Grande Boucle": Determinants of Success at the Tour de France". Journal of Sports Economics. 8 (3): 317–331. doi:10.1177/1527002506287657. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 "1ère étappe - Paris-Lyon - 467 kilomètres" (ภาษาฝรั่งเศส). Memoire du Cyclisme. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
- ↑ "Etape 3: Marseille–Toulouse" (ภาษาฝรั่งเศส). La Grande Boucle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010.
- ↑ "Etape 4: Toulouse–Bordeaux" (ภาษาฝรั่งเศส). La Grande Boucle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010.
- ↑ "1er Tour de France 1903 - 4ème étappe" (ภาษาฝรั่งเศส). Memoire du Cyclisme. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
- ↑ "1903 - 1st Tour de France". Amaury Sport Organisation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
- ↑ "Etape 5: Bordeaux–Nantes" (ภาษาฝรั่งเศส). La Grande Boucle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010.
- ↑ "Le Tour de France - 5ème étape Bordeaux-Nantes (394 kil.)". Le Populaire (ภาษาฝรั่งเศส). Archives municipales de Nantes. 15 กรกฎาคม 1903. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
- ↑ "Cycling archives". สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
- ↑ Rodolfo Muller profile at Cycling Archives
- ↑ James, Tom (14 สิงหาคม 2003). "Victory for the Little Chimney Sweep". VeloArchive. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2010.
บรรณานุกรม
[แก้]- Facchinetti, Paolo (2003). Tour de France 1903: la nascita della Grande Boucle (ภาษาอิตาลี). Ediciclo Editore. ISBN 88-85318-88-6. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2009.