ตุ๊ดตู่
ตุ๊ดตู่ | |
---|---|
ที่สวนสัตว์พาต้า | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordate |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Sauria |
วงศ์: | Varanidae |
สกุล: | Varanus |
สกุลย่อย: | Empagusia |
สปีชีส์: | V. dumerilii |
ชื่อทวินาม | |
Varanus dumerilii (Schlegel, 1839) | |
ชนิดย่อย | |
| |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ตุ๊ดตู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus dumerilii) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ในวงศ์เดียวกัน เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอจะมีสีส้มหรือสีแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง เป็นสัตว์ที่มีความเชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่อาศัย เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม การวางไข่ วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203–230 วัน
ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย เป็นสัตว์ไม่มีพิษ โดยเต็มที่จะมีขนาด 50–125 เซนติเมตรเท่านั้น โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ อองเดรย์ มารี คอนสแตนต์ ดูเมรีล นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวฝรั่งเศส[2]
เป็นสัตว์ขี้อาย มักอาศัยอยู่ในโพรงไม้ จนมีเอ่ยถึงในบทสร้อยสุภาษิตว่า
ตุ๊ดเอ๋ยตุ๊ดตู่ ในเรี่ยวในรูช่างอยู่ได้...[3]
ในประเทศไทยจะพบตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีไปจนถึงคอคอดกระในภาคใต้ และพบไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย[1][4] อาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง[5]หรือป่าชายเลน[6] กินอาหารโดยเฉพาะ ปู เป็นพิเศษ[4][7] และก็สามารถกินสัตว์อย่างอื่น เช่น หอย, แมลง, ปลา, กบ และสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก[6] โดยรวมแล้วเป็นสัตว์ที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมากเมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน[8] โดยจำแนกออกเป็น 2 ชนิดย่อย[9] [10][11] (ดูในตาราง โดยนักวิทยาศาสตร์บางท่านจัดให้ชนิด V. d. heteropholis เป็นชื่อพ้องของ V. d. dumerilii[12]) สถานะทางกฎหมายในประเทศไทยเป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Reptile-database.reptarium.cz
- ↑ Beolens, B.; Watkins, M.; Grayson, M. (2011). The Eponym Dictionary of Reptiles. Baltimore: Johns Hopkins University Press. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. (Varanus dumerilii, p. 77).
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2541. 930 หน้า. หน้า 353. ISBN 974-8122-79-4
- ↑ 4.0 4.1 Cota, M.; Chan-ard, T.; Mekchai, S.; Laoteaw, S. (2008). Geographical Distribution, Instinctive Feeding Behavior and Report of Nocturnal Activity of Varanus dumerilii in Thailand. Biawak 2 (4): 152-158.
- ↑ Lauprasert, K., & K. Thirakupt. (2001). Species Diversity and Proposed Status of Monitor Lizards (Family Varanidae) in Southern Thailand. Natural History Journal of Chulalongkorn University 1 (1): 39-46.
- ↑ 6.0 6.1 "Lincoln Children's Zoo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-25. สืบค้นเมื่อ 2016-07-28.
- ↑ Krebs, U. (1979). "Der Dumeril-Waran (Varanus dumerilii), ein spezialisierter Krabbenfresser? ". Salamandra 15 (3): 146-157. (in German).
- ↑ "Monitor-lizards.net".
- ↑ Taxon profile
- ↑ "ITIS.gov".
- ↑ "Biolib.cz".
- ↑ Sprackland, R.G. (1993) The taxonomic status of the monitor lizard Varanus dumerilii heteropholis BOULENGER 1892 (Reptilia: Varanidae). Sarawak Museum Journal 44 (65): 113-121.
- ↑ "ตุ๊ดตู่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus dumerilii ที่วิกิสปีชีส์